svasdssvasds

คะแนนเท่าต้องจับสลาก ประชาธิปไตยแบบไทยที่ไม่มีในสากล

คะแนนเท่าต้องจับสลาก ประชาธิปไตยแบบไทยที่ไม่มีในสากล

คะแนนเท่าต้องจับสลาก ประชาธิปไตยแบบไทยที่ไม่มีในสากล มันคือประชาธิปไตยแบบใด นี่คือการตั้งคำถามที่สังคมไทยควรหาคำตอบและหาทางออกไปพร้อมๆ กัน

SHORT CUT

  • การจับสลากเป็นระบบเลือกตั้งแบบโบราณที่ง่ายที่สุดและปัจจุบันตามหลักสากลไม่ใช้กันแล้ว
  • การจับสลาก มักจะอ้างว่าเความเสมอภาคไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบ แต่ก็ต้องเถียงกันว่าเสมอภาคยังไง เสมอภาคแค่ไหน
  • ในระดับสากลให้ดูการเลือกนายกรัฐมนตรีเป็นตัวอย่าง ถ้าเลือกรอบแรกไม่ได้ ก็ไปโหวตเลือกกันครั้งที่ 2 ถ้าเลือกกันภายในรัฐสภา

คะแนนเท่าต้องจับสลาก ประชาธิปไตยแบบไทยที่ไม่มีในสากล มันคือประชาธิปไตยแบบใด นี่คือการตั้งคำถามที่สังคมไทยควรหาคำตอบและหาทางออกไปพร้อมๆ กัน

การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ระดับอำเภอที่ผ่านมานั้น เราได้เห็นความสับสนวุ่นวายต่างๆ ออกมามากมายไม่ว่าจะเป็นการสับสนเรื่องการนับคะแนน ตลอดจนการลงคะแนนที่เกิดขึ้น

และเรื่องที่สำคัญที่สุดคือเรื่องการที่ผู้สมัคร สว. มีคะแนนเท่ากันนำไปสู่การจับฉลากที่หลายคนมองว่าวิธีการนี้เป็นวิธีการที่ไม่เป็นธรรม

สว. ไทย

คำถามที่ตามมาว่าวิธีการนี้มีมานานหรือยัง เป็นวิธีการที่ถูกต้องและเป็นธรรมหรือเปล่าเราจะไปหาคำตอบจากนักวิชาการ ตลอดจนคนที่จับตาการเลือกตั้ง สว. ครั้งนี้ตลอดอย่าง iLaw ว่า สว. ครั้งนี้หน้าตาจะเป็นอย่างไร

การจับสลากเลือกตั้งมีมานานแล้วหรือยัง ?

เรื่องการจับสลากนั้น ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ประจำภาควิชากฎหมายมหาชนและผู้อำนวยการศูนย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ อ.ดร.ปุรวิชญ์ วัฒนสุข อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มองตรงกันว่าเป็นระบบเลือกตั้งแบบโบราณที่ง่ายที่สุดและปัจจุบันตามหลักสากลไม่ใช้กันแล้ว เพราะเป็นการเลือกตั้งในยุคกรีกโบราณที่มีประชากรน้อยและเป็นเรื่องในระดับนครรัฐ เพราะถือว่าทุกคนเป็น Senator ทำให้สามารถจับสลากได้ง่าย

ประชาธิปไตยในรัฐกรีกโบราณ

แต่ในเเรื่องที่ประเทศไทยเคยเกิดขึ้นไหมในมุมของ ผศ.ดร.ปริญญา คิดว่าไม่เคยเกิดขึ้นมีเพียงเขียนกฎหมายไว้อุดช่องโหว่ไว้เพราะการเลือกตั้งในระดับใหญ่หรือระดับประเทศใหม่ไม่สามารถเลือกใหม่ได้ง่ายๆ เพราะปิดหีบไปแล้ว

ดร.สติธร ธนานิธิโชติ ผู้อำนวยการสำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย

ส่วนประเทศไทยนั้น อ.ดร.ปุรวิชญ์ กล่าวว่า ในการเลือกตั้งครั้งแรกของประเทศไทยในปี พ.ศ.2476 มีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎร ที่คล้ายๆ กับการเลือกตั้ง สว. ครั้งนี้คือเลือกทางอ้อมตั้งแต่ผู้แทนตำบล อำเภอ ไปสู่ระดับจังหวัด แต่การจับสลากไม่ยืนยันว่ามี

สมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวว่าการเขียนเรื่องการจับสลากเลือกตั้งหากผู้สมัครมีคะแนนเท่ากันมีในกฎหมายประเทศไทยตลอดมา โดยในระบบเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สส. จะยึดหลักการนี้ไว้เพราะในระดับการเลือกตั้ง สส. คะแนนเป็นหลักหมื่นโอกาสที่คะแนนจะเท่ากันนั้นยังไม่มี แต่ในระบบการเลือก สว. ครั้งนี้ไม่ใช่

ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ประจำภาควิชากฎหมายมหาชนและผู้อำนวยการศูนย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ด้านยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้อำนวยการโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ ไอลอว์ (iLaw) ให้ความเห็นว่ามีแต่ระบบเลือกตั้ง สส. เขียนไว้ว่าถ้าคะแนนเท่ากันต้องมีการจับสลากเพราะยากที่จะมีคะแนนเสียงเท่ากัน แต่ไม่ทราบชัดว่าเขียนตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับแรกเลยหรือไม่ แต่ที่ทราบชัดคือการจับสลากออกโดยกฎหมายปี พ.ศ.2561

แต่ในความเห็นของ ดร.สติธร ธนานิธิโชติ ผู้อำนวยการสำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย ชี้ว่าการจับสลากเมื่อคะแนนผู้สมัครมีคะแนนเท่ากันเป็นวิธีการที่มีมานานแล้วในสังคมไทยตั้งแต่ประเทศไทยมีการเลือกตั้งโดยประชาชนมีส่วนร่วม เป็นวิธีการหาทางออกที่ผูกกับความเชื่อเรื่องโชคชะตาที่คนไทยยอมรับได้เป็นเรื่องวัฒนธรรมของสังคมที่ทำให้กติกาไม่ถูกโต้แย้งมากนัก

ใช้ในการเลือกตั้งแบบไหนบ้าง ?

ยิ่งชีพ มองว่า มีการใช้ตั้งแต่ระดับประเทศตั้งแต่การเลือกตั้ง สส.-สว. จนถึงการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ที่แน่ชัดมีมาตั้งแต่ยุคคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ขึ้นมามีอำนาจ แต่ก่อนหน้านั้นตนไม่ทราบ

ส่วนในเลือกตั้งระดับท้องถิ่นทั้งผู้ใหญ่บ้านกำนัน สมชัย คิดว่ามี

เหตุผลคืออะไร ?

อ.ดร.ปุรวิชญ์ มองว่าเหตุผลของการจับสลาก มักจะอ้างว่าเความเสมอภาคไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบ แต่ก็ต้องเถียงกันว่าเสมอภาคยังไง เสมอภาคแค่ไหน

อ.ดร.ปุรวิชญ์ วัฒนสุข อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

แต่เมื่อมองว่าทำไมเลือกตั้ง สว. ครั้งนี้จึงมาจับสลาก ต้องบอกว่าเป็นกติกาที่บิดเบี้ยวตั้งแต่รับธรรมนูญ 2560 แล้วจึงต้องหาวิธีแก้ไขเป็นเรื่องๆ ไป

สภาพการณ์ที่เป็นอยู่คือการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้ารายวัน ทุกวันนี้ กกต. ก็เซฟตัวเองไม่ทำอะไรที่จะสุ่มเสี่ยงหรือผิดกฎหมาย ถ้ามีปัญหาแนวทางคือนำเรื่องไปสู่ศาล เห็นได้จากเรื่องระเบียบการแนะนำตัวของผู้สมัคร สว. แล้วสภาพการณ์จะเป็นแบบนี้จนจบกระบวนการ

ยิ่งชีพ มองว่าในการเลือกตั้งระดับใหญ่เป็นการหาทางออกให้ไม่เกิดการยุ่งยาก แต่ในส่วนของการเลือกตั้ง สว. อาจจะมีวิธีอื่นมากกว่าการจับสลาก

ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้อำนวยการโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ ไอลอว์ (iLaw)

สมชัย มองว่าเหตุผลเรื่องการจับสลักเป็นวิธีคิดของคนเขียนกฎหมาย กรณีซึ่งเท่ากันนั้นมีวิธีอื่นที่ทำได้เช่นลงคะแนนรอบ 2 ที่สามารถตกลงกันได้ ตัวอย่างเช่นการเลือกองค์กรอิสระ เขาก็เลือกกันจนกว่าจะได้คนที่มีคะแนนสูงสุดในหลายๆ รอบ

สมชัยมองว่าครั้งนี้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กำหนดวิธีการที่หละหลวมมาก เช่นไปเจอใบสมัครของกลุ่มประชาสังคม เมื่อตั้งคำถามว่ามีความเป็นคนกลุ่มนี้อย่างไร คำตอบคือเป็นคนที่มีจิตอาสาแค่นี้ถือว่าเป็นประชาสังคมแล้ว นี่คือปัญหาที่เกิดขึ้น เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญต้องการ สว. ที่มีความหลากหลายแต่การเลือกตั้งที่ปรากฏกลับไม่ใช่เช่นนั้น

ในระดับสากลมีวิธีการแก้ไขอย่างไร ?

ผศ.ปริญญา ชี้ให้เห็นว่าในระดับสากลให้ดูการเลือกนายกรัฐมนตรีเป็นตัวอย่าง ถ้าเลือกรอบแรกไม่ได้ ก็ไปโหวตเลือกกันครั้งที่ 2 ถ้าเลือกกันภายในรัฐสภาจะมีลักษณะแบบนี้ หรือหากมีคะแนนเท่ากันประธานรัฐสภาก็จะเป็นอีก 1 เสียที่จะโหวตเพิ่ม นี่คือหลักสากลที่ควรจะเป็น

สมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)

เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ชัดว่าในระดับสากลมักหาทางออกด้วยระบอบประชาธิปไตย มากกว่าจะสุ่มด้วยการใช้ดวง เพราะการกระทำดังกล่าวเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม

ทั้งนี้คือความคิดเห็นของคนหลายกลุ่มมองเรื่องเลือกตั้ง สว. ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในสภาวะจับสลาก ที่มองไปข้างหน้าล้วนแต่บิดเบี้ยว และอาจกลายเป็น สว. กล่องสุ่มก็เป็นได้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related