SHORT CUT
10 ปี คสช. มรดกที่ไม่เคยจางหายไปผ่านการเปิด 10 มรดก คสช. ตอกย้ำความล้าหลังการเมืองไทย ที่เป็นบาดแผลที่จารึกไว้ตลอดกาล
และแล้วก็มาถึงวันครบรอบการรัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ได้สร้างบาดแผลประชาธิปไตยในสังคมไทยมาอย่างยาวนาน กลายเป็นรอยฝังลึกที่ประวัติศาสตร์การเมืองไทยไม่อาจลืมเลือน
SPRiNG พาไปชวนดูมรดก คสช. ที่คนไทยควรตั้งคำถามว่า ควรไปต่อหรือพอแค่นี้ เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นและหมดไป แต่ทิ้งร่องรอยไว้การเมืองไทยจนมาถึงปัจจุบัน
รัฐธรรมนูญฉบับนี้ถูกจัดทำขึ้นโดย คสช. และมีผลบังคับใช้หลังการรัฐประหาร 2557 รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีเนื้อหาหลายประการที่จำกัดเสรีภาพประชาชน เพิ่มอำนาจให้กับทหาร และเป็นการสืบทอดอำนาจของ คสช. เห็นได้จากการออกกฎหมายที่เนื้อหาส่วนใหญ่เพิ่มอำนาจให้กับรัฐปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นของประชาชน
และเป็นรัฐธรรมนูญที่เนื่องจากต้องใช้เสียงจาก 2 สภาคือสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา ปลดล็อกกฎหมาย ม.272 ถึงจะแก้ได้ แต่กระนั้นก็โดนศาลรัฐธรรมนูญตีความให้ทำประชามติอยู่ดี และในส่วนของการทำประชามติ มีความซับซ้อนคือ ต้องให้คนมาใช้สิทธิรวมถึงลงประชามติที่ต้องมีจำนวนครึ่งนึงอีก และให้อำนาจศาลและองค์กรอิสระ เช่น เรื่องอำนาจขององค์กรอิสระในการถอดถอนนักการเมือง เพราะเรื่องมาตรฐานจริยธรรม เป็นกฎหมายที่ตีความได้กว้าง มีโทษหนักกว่าศาลอาญาและศาลฎีกานั่นเอง
แผนพัฒนาประเทศระยะยาว 20 ปีที่จัดทำขึ้นโดย คสช. มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคง ยุทธศาสตร์ชาติฉบับนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน
โดยเน้นพัฒนาเศรษฐกิจแบบทุนนิยม และละเลยประเด็นสิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชน โดย มุ่งเน้นการกระจุกตัวของประชากรในเขตเมือง ส่งผลให้เกิดการขยายตัวของเมืองกินพื้นที่ป่าไม้และพื้นที่เกษตรกรรม ซึ่งมีผลต่อปัญหามลพิษทางอากาศ น้ำ และเสียงในเขตเมืองจะรุนแรงขึ้น
และอันที่จริงแล้วนั้น ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีเป็นแผนระยะยาวเกินไปซึ่งอาจไม่สอดคล้องกับบริบทสังคมที่เปลี่ยนแผลงตลอดเวลา ซึ่งหลายๆ ประเทศไม่ทำกัน เช่น จีนประเทศซึ่งใหญ่กว่าประเทศไทยแต่มีการทำแผนพัฒนาชาติเพียง 5 ปี เพื่อให้เปลี่ยนแปลงอย่างทันท่วงทีสอดรับกับสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว
คสช. ได้วางกลไกเรื่องอำนาจ สว.ให้มีอำนาจมาก ทั้งเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
โดยรัฐธรรมนูญ ปี 2560 กำหนดให้ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่จะผ่านความเห็นชอบในวาระแรกได้ ต้องได้รับเสียงเห็นชอบจากรัฐสภามากกว่ากึ่งหนึ่ง หรือประมาณ 364 คน และต้องได้รับเสียงเห็นชอบจาก ส.ว. จำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสาม หรือ 84 คนขึ้นไป
ใช้ในการบริหารประเทศ มาตรา 44 นี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ขาดความโปร่งใส และถูกใช้เพื่อสืบทอดอำนาจของ คสช. ซึ่งยังเป็นมรดกที่ตกค้างอยู่ในเรื่องการบังคับใช้กฎหมายที่ยังไม่ถูกสะสาง เช่น การตั้งโรงงานขยะไฟฟ้าใกล้ชุมชน หรือการปิดเหมืองทองอัครา
คสช. ได้ออกคำสั่งและประกาศหลายฉบับเพื่อควบคุมสื่อ ส่งผลให้เสรีภาพในการแสดงออกและเสรีภาพในการรับรู้ข่าวสารของประชาชนถูกลิดรอน เช่น พ.ร.บ.ควบคุมสื่อ ที่มีนิยามกว้างเกินไปในมาตราที่ 5 ของ พ.ร.บ.ดังกล่าว ระบุไว้ว่า ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนย่อมมีเสรีภาพในการเสนอข่าวสารหรือการแสดงความคิดเห็นตามจริยธรรมสื่อมวลชน “แต่การใช้เสรีภาพนั้นต้องไม่ขัดต่อหน้าที่ของปวงชนชาวไทยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน โดยต้องเคารพและไม่ปิดกั้นความเห็นต่าง” คำว่า “หน้าที่ของปวงชนชาวไทย” และ “ศีลธรรมอันดีงาม” ถูกสื่อที่คัดค้านตั้งคำถามว่า เป็นนิยามที่กว้างขวางเกินไป
คสช. ได้ออกคำสั่งห้ามชุมนุมที่มีผู้เข้าร่วมมากกว่า 5 คน ส่งผลให้ประชาชนไม่สามารถรวมตัวกันเพื่อแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรี โดยเฉพาะการบังคับใช้กฎหมาย ม.112 มากขึ้นการการชุมนุมที่มีผู้โดนคดีจนถึงปัจจุบันไม่น้อยกว่า 264 คดีและคดีส่วนใหญ่เป็นคดีที่มุ่งเน้นโจมตีผู้ที่เห็นต่างทางการเมือง
คดีเหล่านี้ยังไม่มีบทสรุป และสร้างความกังวลว่าจะส่งผลต่อความยุติธรรมและการปรองดองในสังคม ทำให้เกิดผู้ลี้ภัยที่เห็นต่างทางการเมืองอยู่ในต่างประเทศมากมาย ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการอย่าง ศาสตราจารย์ ดร.ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์
โดยกำหนดให้ NGO ต้องจดแจ้งการเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหารายได้ฯ กับกรมการปกครอง ไม่เช่นนั้นจะมีความผิดอาญา กำหนดให้การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กำหนดให้ต้องเปิดเผยแหล่งที่มาและจำนวนของเงินหรือทรัพย์สินที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรมในแต่ละปี และต้องยื่นแบบรายการภาษีเงินได้ทุกปี ต้องเสนอรายงานการสอบบัญชี โดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาตต่อผู้รับจดแจ้งภายใน 60 วันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี และเผยแพร่ต่อสาธารณะ
รวมถึงกำหนดให้การรับเงินหรือทรัพย์สินจากบุคคลธรรมดา นิติบุคคล หรือคณะบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทย หรือไม่ได้จดทะเบียนจัดตั้งในไทยมาใช้ในการดำเนินกิจกรรมในไทยได้เฉพาะกิจกรรมที่กฎหมายกำหนด
นั่นเท่ากับว่าองค์กรที่ไม่แสวงหากำไรอาจถูกเจ้าหน้าที่รัฐเข้ามาควบคุมการดำเนินกิจกรรมได้ และกลุ่มใดก็ตามที่รับทุนจากต่างประเทศ เจ้าหน้าที่รัฐมีอำนาจเต็มที่ที่จะพิจารณาว่ากิจกรรมใดบ้างที่จะสามารถกระทำโดยใช้เงินทุนนั้น และมีบทบัญญัติให้อำนาจแก่ทางการไทยในการตรวจสอบองค์กรต่างๆ อย่างใกล้ชิด
และเจ้าหน้าที่ไทยสามารถเข้าไปในสำนักงานขององค์กรภาคประชาสังคม ทำสำเนาข้อมูลจราจรทางอิเล็กทรอนิกส์โดยไม่ต้องแจ้งล่วงหน้าและไม่ต้องมีหมายศาล ซึ่งเป็นการคุกคามสิทธิและความเป็นส่วนตัว
รวมถึงอาจเกิดการลงโทษที่รุนแรง หากไม่จดทะเบียนอาจต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถือเป็นการลงโทษทางอาญาที่รุนแรงเกินความจำเป็นต่อประชาชน
ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นล่าสุดสดๆ ร้อนๆ ทางการเมืองไทยกลายเป็นมรดก คสช. ก่อนทิ้งทวนที่ให้อำนาจ สว. โค้งสุดท้ายโหวตนายกรัฐมนตรี มีอำนาจต่อรองจัดตั้งรัฐบาล จนในที่สุดได้รัฐบาลเศรษฐาออกมาโดยร่วมมือกับพรรคที่เคยเป็นฝ่ายตรงข้ามกัน เช่นพรรครวมไทยสร้างชาติ พรรคพลังประชารัฐ พรรคภูมิใจไทย
นอกจากนี้ผู้ที่ร่วมชุมนุม กปปส. ขับไล่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อย่าง นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค อดีต กปปส. กลับกลายมาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานร่วมรัฐบาลกับพรรคเพื่อไทย
คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดให้ ขอให้หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดแก่เจ้าพนักงาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ สมาชิกสภาจังหวัดหรือสมาชิกสภาเทศบาล เพื่อจูงใจให้กระทำการ ไม่กระทำการ หรือประวิงการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เป็นการควบคุมนักการเมืองไม่ให้เข้ามายุ่งกับงบประมาณทางอ้อมนั่นเอง
ซึ่งเรื่องดังกล่าวอ้างเรื่องการเป็นรัฐธรรมนูญปราบโกง และมีข้อกฎหมายที่ทำให้คณะรัฐมนตรีรวมถึงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ดึงงบหรือแปรญัตติไปใช้ในการพัฒนาพื้นที่ได้ยากด้วย
ขณะเดียวกันในยุค คสช. ที่ว่าปราบโกงนั้น ในทางกลับกันปรากฏนักการเมืองในพรรคร่วมรัฐบาลกลับโดนคดีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องทุจริตสะเอง
เช่น นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ถือหุ้นบริษัทบุกรุกป่าเขากระโดง หรือ นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ณ ขณะนั้น โดนคดี ครั้งเป็นอดีตนายก อบจ.สงขลา ละเว้นไม่จ่ายเงินค่ารถซ่อมบำรุงทางให้แก่บริษัท พลวิศว์ เทคพลัส จำกัด
ยังไม่รวมอีกหลายคดีที่จบไปแบบงงๆ สร้างความเคลือบแคลงใจในสังคม เช่น คดีนาฬิกาหรู เป็นต้น
แต่สร้างขั้วการเมืองเก่า-ใหม่แทน: ความขัดแย้งที่เคยมีมาแต่ครั้งอดีตระหว่าง เหลืองและแดง มลายหายไป กลายเป็นความขัดแย้งระหว่างการเมืองเก่ากับการเมืองใหม่
ทั้งนี้ มรดกของ คสช. ยังมีอีกหลายประการ ขึ้นอยู่กับมุมมองและการตีความของแต่ละบุคคล สิ่งสำคัญคือต้องมีการวิเคราะห์และถกเถียงประเด็นเหล่านี้ต่อไป ว่าแต่ลุงตู่หายไปนะ
อ้างอิง
ilaw / ilaw / BBC / ประชาไท / Amnesty/
ข่าวที่เกี่ยวข้อง