svasdssvasds

ย้อนรอยความขัดแย้งใน “เมียนมา” หลังรัฐประหารโดย “มิน อ่อง ลาย”

ย้อนรอยความขัดแย้งใน “เมียนมา” หลังรัฐประหารโดย “มิน อ่อง ลาย”

เมียนมากำลังอยู่ในภาวะผันผวนหลังจากมีการรัฐประหารที่นำไปสู่การต่อต้านของประชาชนรวมถึงชนกลุ่มน้อยที่พร้อมจับอาวุธขึ้นสู้กับรัฐบาลทหารเมียนมา ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มรัฐบาลสามัคคีแห่งชาติหรือกลุ่ม KNU ที่ล่าสุดสามารถบุกยึดเมียวดีซึ่งเป็นเมืองสำคัญของเมียนมาได้

SHORT CUT

  • การรัฐประหารโดยกองทัพเมียนมายึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือน ควบคุมตัวนางอองซาน ซูจี และแกนนำพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) มีการอ้างเหตุผลว่ามีการทุจริตการเลือกตั้งปี 2563 แต่ไม่มีหลักฐานสนับสนุนประชาชนออกมาประท้วงต่อต้านรัฐประหารอย่างกว้างขวาง
  • กองทัพใช้ความรุนแรงปราบปรามผู้ประท้วง มีผู้เสียชีวิตกว่า 2,000 คน มีการจับกุมผู้เห็นต่าง กักขังโดยพลการ ทรมาน และฆาตกรรม เกิดวิกฤตผู้ลี้ภัย หลายแสนคนหนีข้ามชายแดนไปยังประเทศเพื่อนบ้านอย่างประเทศไทย โดยที่ยังไม่มีวี่แววว่าจะคืนประชาธิปไตย ทำให้เศรษฐกิจตกต่ำ ประชาชนเผชิญปัญหาความยากลำบาก เกิดความขัดแย้งรุนแรงในหลายพื้นที่เกิดจากกองกำลังติดอาวุธและกลุ่มคนที่รักประชาธิปไตยลุกขึ้นต่อสู้กับรัฐบาลทหารเมียมา
  • อนาคตของเมียนมา ยังมีความไม่แน่นอนสูงขึ้นอยู่กับว่ากองทัพจะยอมคืนประชาธิปไตยหรือไม่ประชาชนยังคงต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยที่ต้องแลกมาด้วยเลือดเนื้อและชีวิต

เมียนมากำลังอยู่ในภาวะผันผวนหลังจากมีการรัฐประหารที่นำไปสู่การต่อต้านของประชาชนรวมถึงชนกลุ่มน้อยที่พร้อมจับอาวุธขึ้นสู้กับรัฐบาลทหารเมียนมา ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มรัฐบาลสามัคคีแห่งชาติหรือกลุ่ม KNU ที่ล่าสุดสามารถบุกยึดเมียวดีซึ่งเป็นเมืองสำคัญของเมียนมาได้

รัฐบาลทหารเมียนมา ที่รัฐประหารเมื่อ 3 ปีก่อน กำลังประสบกับความพ่ายแพ้ครั้งใหญ่ทางชายแดนด้านตะวันออกที่ติดกับประเทศไทย

มีรายงานว่ากองทัพเมียนมา (ทัดมะดอ) ถูกกองกำลังต่อต้านชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ที่เป็นพันธมิตรกับกองกำลังต่อต้านรัฐประหารอื่นๆ โจมตีเป็นเวลาหลายสัปดาห์และกองกำลังทหารหลายร้อยนายที่ดูแลพื้นที่ชายแดนสำคัญอย่างเมียวดียอมแพ้แล้ว ส่งผลกระทบต่อเส้นทางเมียวดีที่เป็นเส้นทางการค้าทางบกของเมียนมาที่เชื่อมต่อกับไทย

โดยกองกำลังสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง หรือ กลุ่ม KNU (Karen National Union) ประกาศเมื่อวันศุกร์ (5 เม.ย.) ว่าได้ยอมรับการจำนนของกองพันที่ประจำการในเมืองติงกะหยิงหย่อง (Thingannyinaung) ที่ห่างจากเมืองเมียวดีไปทางตะวันตก 10 กิโลเมตร และได้โพสต์วิดีโอนักรบเผยให้เห็นอาวุธยุทโธปกรณ์มากมายที่ยึดมาได้

ย้อนรอยความขัดแย้งใน “เมียนมา” หลังรัฐประหารโดย “มิน อ่อง ลาย”

เหตุการณ์ครั้งนี้ถือเป็นความพ่ายแพ้ครั้งยิ่งใหญ่ของรัฐบาลทหารเมียนมา ที่เพิ่งเสียพื้นที่ให้กับกลุ่ม Brotherhood Alliance หรือกลุ่ม ‘กลุ่มพันธมิตรภราดรภาพ’ ที่มีชายแดนขนาดใหญ่ที่ติดกับจีนอย่างรัฐฉาน และรัฐยะไข่ใกล้ชายแดนบังกลาเทศเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา และการต่อสู้ระหว่างกลุ่มต่อต้านรัฐบาลทหารและกองทัพเมียนมา ทำให้ทหารเมียนมาหลายพันคนเสียชีวิต หรือยอมจำนน ถึงขั้นแปรพักตร์ไปอยู่ฝ่ายต่อต้าน ส่งผลให้กองทัพต้องเกณฑ์ทหารเพื่อชดเชยจำนวนทหารที่สูญเสียไป

เป็นที่แน่ชัดแล้วว่าความขัดแย้งครั้งนี้ที่มีจุดเริ่มต้นมากจากรัฐประหารของกองทัพเมียนมา (ทัดมะดอ) ที่นำโดย พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง ลาย อยู่ในสภาวะกำลังพ่ายแพ้ อาจพูดได้ว่าการก่อการรัฐประหารในครั้งนั้นที่ทำการยึดอำนาจ ในตอนเช้าในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 จับกุมตัว นางอองซานซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐ, และยึดอำนาจประธานาธิบดี วี่น-มหยิ่น อาจเป็นการคิดผิด

ย้อนรอยความขัดแย้งใน “เมียนมา” หลังรัฐประหารโดย “มิน อ่อง ลาย”

 

ผศ.ดร.ลลิตา บอกกับบีบีซีไทยว่า ทั้งเหตุการณ์โดรนโจมตีกรุงเนปิดอว์และการเสียเมืองเมียวดีกำลังบั่นทอนเสถียรภาพของรัฐบาลทหารเมียนมาอย่างหนัก

“กองทัพไม่ได้สูญเสียเมียวดีเพียงพื้นที่เดียว ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันมาก ๆ ก็เสียเมืองบูติดอง ทางภาคเหนือของรัฐยะไข่เช่นกัน ขณะที่ทางกลุ่มชินและคะฉิ่นก็ร่วมกันโจมตีกองทัพพม่าอย่างหนัก ส่วนตัวจึงมองว่ากลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ เขามีการพูดคุยกันว่าเลือกเข้าตีวันไหนหรือช่วงไหน ทำให้กองทัพพม่ารับมือยากขึ้นหรือแทบเป็นไปไม่ได้” ผศ.ดร.ลลิตา กล่าว

ย้อนรอยความขัดแย้งใน “เมียนมา” หลังรัฐประหารโดย “มิน อ่อง ลาย”

อ.ลลิตาวิเคราะห์ต่อว่าช่วง 2-3 เดือนก่อนเข้าหน้าฝนคือโอกาสการรบที่ดีที่สุดของกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์ ดังนั้น ยุทธศาสตร์การรบจำเป็นต้องช่วงชิงจังหวะนี้เพื่อสร้างความได้เปรียบและเผด็จศึกกองทัพเมียนมาให้ได้

“ทาง NUG ยืนยันมาตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมาว่า ปี 2024 จะเป็นวาระสุดท้ายของรัฐบาลทหาร มิน อ่อง ลาย และเป็นจุดสิ้นสุดของการปฏิวัติฤดูใบไม้ผลิ (Spring Revolution)” ซึ่งเป็นความพยายามขัดขืนการยึดอำนาจของคณะรัฐประหารโดยประชาชนชาวเมียนมา

อ.ลลิตา กล่าวต่อว่า ในวันเดียวกันกับที่กองทัพเมียนมาเสียเมืองเมียวดี ก็พบว่าพลเอกอาวุโสมิน อ่อง หล่าย เดินสายทำบุญที่วัดนากะ นะเกาง์ เจาง์ในเมืองท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน ซึ่งมีพระเกจิชื่อดังจำวัดอยู่และเป็นที่รู้กันว่าพระรูปนี้คือหมอดูประจำตัวของผู้นำรัฐบาลทหารเมียนมา

ย้อนรอยความขัดแย้งใน “เมียนมา” หลังรัฐประหารโดย “มิน อ่อง ลาย”

“เราจะเห็นว่ามิน อ่อง ลาย ไปพบพระเพื่อปรึกษาหมอดู มันเป็นสัญญาณที่ทำให้เราเห็นว่าเขามีความรู้สึกไม่มั่นคงปลอดภัยอีกต่อไป ถึงแม้หน้าตาจะยิ้มแย้มแจ่มใสก็ตาม แต่เขากำลังต้องการสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจ”

SPRiNG พาไปย้อนชมที่มาของเหตุการณ์หลังรัฐประหาร กลุ่มต่อต้านที่โดดเด่น รวมถึงประชาชนที่ต่อต้าน และมองถึงอนาคตว่าเมียนมาจะเป็นอย่างไรต่อไป

เหตุการณ์หลังรัฐประหาร

หลังจากกองทัพพม่าทำการยึดอำนาจได้เกิดความไม่พอใจมากมาย ที่ผ่านมาบรรดานักรบกลุ่มต่อต้านใช้วิธีโจมตีใส่ค่ายทหาร สถานีตำรวจ และสำนักงานของรัฐบาลส่วนท้องถิ่น รวมทั้งการซุ่มโจมตีแบบกองโจรตามเขตเมืองใหญ่ต่าง ๆ เพื่อตัดกำลังกองทัพเมียนมาอย่างต่อเนื่อง

ทางด้านหน่วยงานความมั่นคงพม่าเองไม่ว่าจะเป็นทหารตำรวจก็ได้ทำการปราบปรามผู้ชุมนุมอย่างต่อเนื่องทั้งบนท้องถนน และเข้าไปบุกค้นบ้านของประชาชน ทหารกลุ่มหนึ่ง บางนายมีอายุเพียง 17 ปี เข้าปิดล้อมจับชาวบ้าน ก่อนที่จะแยกพวกเขาออกจากกันแล้วสังหาร คลิปวิดีโอที่ถ่ายไว้ขณะเกิดเหตุเผยให้เห็นว่าผู้ที่ถูกสังหารส่วนใหญ่ถูกทรมานก่อน แล้วค่อยถูกนำไปฝังในหลุมเหตุดังกล่าวเกิดขึ้น 4 ครั้ง ที่เมืองกะนิ ซึ่งเป็นที่มั่นของฝ่ายต่อต้านรัฐบาลทหารในเขตสะกาย ทางภาคกลางของเมียนมา

ย้อนรอยความขัดแย้งใน “เมียนมา” หลังรัฐประหารโดย “มิน อ่อง ลาย”

เชื่อกันว่า การสังหารโหดเหล่านี้เป็นการลงโทษหมู่ เพื่อตอบโต้การโจมตีของ "กองกำลังพิทักษ์ประชาชน" (People's Defense Force หรือ PDF) ซึ่งเป็นกองกำลังประชาชนที่เรียกร้องให้เมียนมากลับคืนสู่ประชาธิปไตย หลังจากกองทัพก่อรัฐประหาร

ด้านพลเรือนที่มีชื่อเสียงบางกลุ่มที่ต่อต้านรัฐบาลทหารของพม่าก็ได้รับผลกระทบไปด้วย ไม่ว่าจะเป็น

ฮาน เลย์ มิสแกรนด์เมียนมา 2020 วัย 23 ปี ที่เริ่มชีวิตใหม่ในแคนาดากับครอบครัวผู้อพยพเชื้อสายเมียนมา หลังมาลี้ภัยชั่วคราวในไทย จนถูกตำรวจไทยคุมตัวไว้ชั่วคราวที่สนามบินสุวรรณภูมิ เมื่อ 21 กันยายน 2022 โดยเธอได้รับแจ้งว่าอยู่ในรายชื่อบุคคลที่ต้องการตัวของตำรวจสากล หรืออินเตอร์โพล

รอยเตอร์รายงานขณะนั้นว่าเธอถูกห้ามเข้าไทยเมื่อ 21 กันยายน หลังกลับจากเวียดนาม โดยอ้างว่าเธอใช้หนังสือเดินทางไม่ถูกต้อง ส่วนตัวเธอบอกกับบีบีซีแผนกภาษาพม่าว่าทางการเมียนมาแจ้งต่อทางการเวียดนามว่าหนังสือเดินทางของเธอสูญหาย และเมื่อเธอมาถึงไทย เธอก็ถูกห้ามเข้าประเทศ ในเวลาต่อมา

ย้อนรอยความขัดแย้งใน “เมียนมา” หลังรัฐประหารโดย “มิน อ่อง ลาย”

ไม่กี่วันต่อมา เธอได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลแคนาดาให้ลี้ภัยทางการเมือง

จอ ซา มิน เอกอัครราชทูตเมียนมาประจำสหราชอาณาจักร ถูกปลดจากตำแหน่งเมื่อ 7 เมษายน 2021 หลังผู้ช่วยทูตทหารได้เข้ายึดสถานทูตเมียนมาในกรุงลอนดอน และห้ามไม่ให้เขาเข้าไปในสถานทูต ซึ่งเป็นเหตุการณ์เผชิญหน้าทางการทูตในรอบหนึ่งเดือนหลังจากนายจ่อ ซา มิน แสดงท่าทีเห็นต่างจากรัฐบาลทหารด้วยการออกมาเรียกร้องให้ปล่อยตัวนางออง ซาน ซู จี ผู้นำรัฐบาลพลเรือนที่ถูกกองทัพยึดอำนาจและจับกุมตัวไปผ่านไปเกือบ 2 ปี เขายังพำนักอยู่ในทำเนียบทูตในกรุงลอนดอน

ทั้งหมดคือเหตุการณ์คร่าวๆ ที่เกิดขึ้นภายหลังมีการรัฐประหารและผู้ที่ต่อต้านรัฐประหารต้องถูกจับกุม กวาดล้าง ลี้ภัยทางการเมือง ตลอดจนถูกสังหารเสียชีวิต

กลุ่มต่อต้านที่โดดเด่น

เมื่อรัฐบาลกลางไร้เสถียรภาพ การรัฐประหารนำไปสู่ความแตกแยก สันติภาพจึงมลายลง กลุ่มต่างๆ เริ่มเล็งเห็นแล้วว่ากองทัพเมียนมาตั้งใจยึดอำนาจ และต้องการรวมศูนย์อำนาจเข้ากองทัพพม่าที่มีแนวคิดชาตินิยม ซึ่งขัดต่อหลักการกระจายอำนาจให้สิทธิปกครองตนเองต่อชนกลุ่มต่างๆ ที่อาศัยอยู่ร่วมกันในผืนแผ่นดินเมียมา จึงนำไปสู่การแตกแยกและเกิดกลุ่มต่างๆ กลับมาจับอาวุธหรือเริ่มจับอาวุธสู้รับกับรัฐบาลทหารพม่าอีกครั้ง

ย้อนรอยความขัดแย้งใน “เมียนมา” หลังรัฐประหารโดย “มิน อ่อง ลาย”

SPRiNG พาไปรู้จักว่ามีกลุ่มอะไรที่โดดเด่นบ้างในการต่อต้านรัฐบาลทหารพม่า

1.รัฐบาลเงาของเมียนมา หรือรัฐบาลสามัคคีแห่งชาติ (The National Unity Governmemt — NUG)

ก่อตั้งโดยนักการเมืองฝ่ายประชาธิปไตยบุคคลที่สนับสนุนประชาธิปไตย ผู้แทนกลุ่มชาติพันธุ์ติดอาวุธ และสมาชิกของพรรคเอ็นแอลดีของเมียนมาซึ่งเล่นบทรัฐบาลคู่ขนานมาตั้งแต่เกิดการรัฐประหารในกุมภาพันธ์ ได้ประกาศตั้งรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ (National Unity Government: NUG) ขึ้นประกอบด้วยบุคลากร 26 คน มีประธานาธิบดี ที่ปรึกษาแห่งรัฐ รองประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีและรองรัฐมนตรี 11 กระทรวง อีก 22 คน

ย้อนรอยความขัดแย้งใน “เมียนมา” หลังรัฐประหารโดย “มิน อ่อง ลาย”

โดยมีการตั้งกองกำลังของตนเองขึ้นมา คือ The People’ s Defense Froce (PDF) โดยมีการประกาศจัดตั้งเมื่อต้นเดือนพฤษภาคม 2564 ก่อนจะประกาศตัวอย่างเป็นทางการด้วยการเผยแพร่ภาพการสวนสนามของกลุ่มคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ที่เข้ารับการฝึกทหารเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2564

กำลังพลเหล่านี้ส่วนใหญ่คือคนหนุ่มสาว ที่ออกมาเคลื่อนไหวแบบสงบ สันติ ตามแนวอารยขัดขืน หรือ CDM ในห้วงแรกๆ หลังการรัฐประหารใหม่ๆ จากการสั่งให้ใช้กำลังเข้าปราบปรามอย่างเด็ดขาดรุนแรงจนผู้ประท้วงบาดเจ็บล้มตายไปเป็นจำนวนมาก ทำให้คนหนุ่มสาวเหล่านี้ต้องเปลี่ยนความคิด เพราะสันติอหิงสาอย่างเดียวคงไม่สามารถเอาชนะระเบิดและกระสุนปืนของฝ่ายทหารได้ จึงเกิดขบวนการใต้ดินชักชวนกันเข้าไปฝึกเป็นทหารกับกองกำลังชนกลุ่มน้อยต่างๆ ตั้งแต่กองทัพเอกราชคะฉิ่น และกองทัพสหภาพกะเหรี่ยง รวมทั้งเข้าฝึกกับชนกลุ่มน้อยกลุ่มอื่นๆ ที่ยังไม่อยากแสดงตัวเพราะไม่อยากเสียบทบาททางการเมือง

ย้อนรอยความขัดแย้งใน “เมียนมา” หลังรัฐประหารโดย “มิน อ่อง ลาย”

พวกเขาทยอยหลบหนีการจับกุมของเจ้าหน้าที่รัฐ ผ่านการจัดตั้งและประสานงานของเครือข่ายใต้ดินที่ตั้งขึ้นใหม่เพื่อนำพาเขาสู่สนามฝึกในพื้นที่ป่าเขา เขตอิทธิพลของกองกำลังชนกลุ่มน้อย โดยมีเป้าหมายเดียวคือ การต่อสู้เพื่อประชาชนและโค่นล้มเผด็จการทหาร

2.สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU)

กะเหรี่ยง KNU ซึ่งขณะนี้นำโดย Saw Mutu Say Poe คือกลุ่มติดอาวุธกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงในเมียนมาที่ทำการสู้รบกับรัฐบาลตามแนวชายแดนในบริเวณที่เรียกว่า "กอซูแล" ร่วมกับกองกำลังย่อยที่มีชื่อว่า "กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยง KNLA" มานานนับศตวรรษแล้ว

มีฐานที่ตั้ง : รัฐกะเหรี่ยง ,รัฐมอญ,เขตตะนาวศรี

ตั้งแต่ปี 2491 หลังจากที่เมียนมาได้รับเอกราชก็เกิดความตึงเครียดระหว่างรัฐบาลเมียนมาและกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงส่วนหนึ่งที่ต้องการเอกราชและสิทธิในการปกครองตนเอง จึงจัดตั้งกองกำลังในพื้นที่ต่อสู้กับรัฐบาลและกองทัพเมียนมาเพื่อป้องกันเขตของตน

ย้อนรอยความขัดแย้งใน “เมียนมา” หลังรัฐประหารโดย “มิน อ่อง ลาย”

คาดว่ามีกองกำลังในสังกัดประมาณ 5,000 คน กะเหรี่ยง KNU ยังคงต่อสู้กับรัฐบาลเมียนมาเรื่อยมาโดยมีการตั้งกองกำลังทหารตามแนวชายแดนไทย และหลายครั้งที่ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงและรัฐบาลเมียนมาเข้ามาเกี่ยวข้องกับประเทศไทยเรื่อยมา

ต่อมาปี 2561 การสู้รบระหว่างกองกำลังกะเหรี่ยง KNU สู้รบกับกองกำลังทหารของรัฐบาลเมียนมาเกิดขึ้นบริเวณรอยต่อระหว่าง ต.แม่สามแลบ อ.สบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน และ ต.ท่าสองยาง อ.ท่าสองยาง จ.ตาก

ย้อนรอยความขัดแย้งใน “เมียนมา” หลังรัฐประหารโดย “มิน อ่อง ลาย”

เหตุการณ์รัฐประหารในเมียนมาที่กำลังทวีความรุนแรงทั่วประเทศโดยกองกำลังทหารเมียนมาปราบปรามกลุ่มผู้ต่อต้านอย่างรุนแรงซึ่งรวมถึงการทิ้งระเบิดถล่มฐานที่มั่นของกะเหรี่ยง KNU ส่งผลให้ชาวกะเหรี่ยงนับหมื่นชีวิตต้องอพยพลี้ภัยไปยังประเทศข้างเคียงอย่างอินเดียและไทย และในวันที่ 7 เมษายน ที่ผ่านมา กองกำลัง KNU ก็สามารถยึดเมียวดีซึ่งเป็นเมืองสำคัญของเมียนมาได้สำเร็จ

และยังมีกลุ่มสำคัญอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น

องค์กรปลดปล่อยแห่งชาติปะโอ (PNLA) ฐานที่ตั้ง : ตอนใต้ของรัฐฉาน

กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติตะอั้ง (TNLA) ฐานที่ตั้ง : ทางเหนือของรัฐฉาน

กองทัพพันธมิตรเพื่อประชาธิปไตยแห่งชาติพม่า (MNDAA) ฐานที่ตั้ง : เขตโกกั้ง และ รัฐฉาน

แนวร่วมแห่งชาติชิน (CNF) ฐานที่ตั้ง : รัฐชินทางตะวันตกเฉียงเหนือ

สภาฟื้นฟูรัฐฉาน (RCSS) ฐานที่ตั้ง : ตอนใต้ของรัฐฉาน

แนวร่วมประชาธิปไตยนักศึกษาพม่า (ABSDF) ฐานที่ตั้ง : ใกล้ชายแดนไทยแถบจังหวัดแม่ฮ่องสอน

กองทัพอาระกัน (AA) ฐานที่ตั้ง : รัฐคะฉิ่น ,รัฐชิน ,รัฐยะไข่

พรรคปลดปล่อยอาระกัน (ALA) ฐานที่ตั้ง : รัฐยะไข่ตอนเหนือ

สหภาพประชาธิปไตยลาหู่ (LDU) ฐานที่ตั้ง : ใกล้ชายแดนไทยและจีน

พรรคมอญใหม่ (NMSP) ฐานที่ตั้ง : รัฐมอญ ,รัฐกะเหรี่ยง ,เขตตะนาวศรี

สภาสันติภาพกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNLA) ฐานที่ตั้ง :ตอนกลางรัฐกะเหรี่ยง

พรรคก้าวหน้าแห่งชาติคะยา (KNPP) ฐานที่ตั้ง : รัฐคะยา

กองทัพกะเหรี่ยงเพื่อประชาธิปไตย (DKBA) ฐานที่ตั้ง : ตะวันออกของรัฐกะเหรี่ยง

ย้อนรอยความขัดแย้งใน “เมียนมา” หลังรัฐประหารโดย “มิน อ่อง ลาย”

ทั้งหมดคือกลุ่มกองกำลังชนกลุ่มน้อยติดอาวุธที่คอยต่อต้านรัฐบาลทหารเมียนมา ถึงแม้พวกเขาจะเคยสู้รบและขัดแย้งกันบ้าง แต่เมื่อรัฐบาลทหารเมียนมาต้องการรวมศูนย์อำนาจพรากประชาธิปไตยหรือความต้องการปกครองตนเองไปจากพวกเขา ทำให้พวกเขาจับมือกันต่อสู้กับรัฐบาลทหารเมียนมาดังเช่นเหตุการณ์ ปฏิบัติการ 1027 Brotherhood Alliance หรือกลุ่ม ‘กลุ่มพันธมิตรภราดรภาพ’ โจมตีพื้นที่ทางความมั่นคงของกองทัพเมียนมา รวมถึงพื้นที่ทางด้านทรัพยากรเศราฐกิจ ที่มีข่าวส่งผลกระทบต่อพื้นที่เมืองเล้าไก่ และเคลื่อนไหวตีชิงพื้นที่ต่างๆ มากมาย ย่อมเป็นสิ่งที่สะท้อนว่ากองกำลังติดอาวุธสามารถรวมกลุ่มกันได้และกำลังทยอยปิดล้อมกองทัพรัฐบาลทหารเมียนมาในที่สุด

มองอนาคตเมียนมาในวันที่ไร้ความสงบ

ถ้าหากสถานการณ์สู้รบระหว่างรัฐบาลทหารเมียนมากับกองกำลังต่อต้านรัฐประหารดำเนินต่อไปย่อมส่งผลกระทบต่อประชาชนอย่างแน่นอนประเทศไทยควรตั้งคำถามถึงหลักการสิทธิมนุษยชน เปิดพื้นที่รองรับและดูแลผู้อพยพขนานใหญ่อย่ามัวแต่รีรอ

ย้อนรอยความขัดแย้งใน “เมียนมา” หลังรัฐประหารโดย “มิน อ่อง ลาย”

เพราะความไม่สงบในเมียนมายังไม่จบถึงแม้ว่ากลุ่มต่อต้านรัฐประหารเมียนมาจะชนะสงครามบุกทะลวงถึงเนปิดอร์ได้ ก็ยังไม่สามารถการันตีว่าประเทศเมียนมายังสงบ เพราะในที่สุดแล้วกองกำลังติดอาวุธในเมียนมาซึ่งยังมีหลากฝักหลายฝ่าย ยังคงต้องเจรจากันอีกครั้งเพื่อสร้างสันติภาพหาทางออกในการอยู่ร่วมกันในดินแดนลุ่มแม่น้ำอิรวดีต่อไป

แต่ประชาชนที่อพยพรอไม่ได้ พวกเขาต้องการอาหารที่อยู่อาศัยและยา หากมีการดำเนินการที่ช้าต่อไปเราเองจะเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่ได้แต่มองคนข้างบนตีกันจนพังทลาย โดยที่เราไม่ได้ทำอะไรเลย

คุณทำใจจะดูได้หรือไม่ นั่นคือคำตอบที่ควรตั้งคำถามและพูดถึงกัน

อ้างอิง

Theguardian / APNews / Aljazeera / UN.ORG / NyTimes / BBC1 / BBC2 / BBC3 / BBC4 / VOA / PostToday / กรุงเทพธุรกิจ /

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related