svasdssvasds

รัฐประหารเมียนมา ส่งผลกระทบหนักต่อสถานการณ์โควิด19 ในประเทศ

รัฐประหารเมียนมา ส่งผลกระทบหนักต่อสถานการณ์โควิด19 ในประเทศ

จากการเกิดรัฐประหารในเมียนมา ส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด19 ในประเทศ จากการที่แพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์นับร้อยถูกจับ และตั้งข้อหายุยงปลุกปั่น

สถานการณ์โควิด19 ในเมียนมา ใกล้ถึงจุดส่มสลาย ตั้งแต่รัฐประหารเมื่อเดือนกุมภาพันธุ์ ผู้ป่วยในโรงพยาบาลที่ใกล้กับชายแดนอินเดีย ไร้เครื่องช่วยหายใจที่จะยื้อชีวิตผู้ป่วย

ลู ซาเอน หัวหน้าพยาบาลของโรงพยาบาลซิก้า ในวัย 45 ปี เผยว่า มีผู้ป่วยโควิด19 จำนวน 7 ชีวิตที่เธอต้องดูแล ทั้งกลางวันและกลางคืน โดยมีช่างเทคนิคในห้องแล็บและผู้ช่วยเภสัชกรเข้ามาช่วยดูแล ซึ่งก็แค่แจกจ่ายยาพาราเซตามอลเพียงเท่านั้น

หัวหน้าพยาบาล กล่าวว่า "เราไม่มีออกซิเจนเพียงพอ ไม่มีอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เพียงพอ ไม่มีรถพยาบาลเพียงพอ ไม่มีแม้แต่หมอที่เพียงพอ หรือแม้กระทั่งไฟฟ้าเพียงพอ เรามีแค่ 3 คนแทนที่จะเป็น 11 คน ในการช่วยดูแลผู้ป่วยโควิด"

โครงการควบคุมโควิด19 ของเมียนมา เริ่มขึ้นพร้อมๆ กับระบบสุขภาพอื่นๆ หลังจากที่ทหารเข้ายึดอำนาจเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ และโค่นล้มอองซาน ซูจี ผู้นำที่มาจากการเลือกตั้ง

บริการในโรงพยาบาลของรัฐพังทลายลงอย่างรวดเร็ว หลังจากแพทย์และพยาบาลจำนวนมากเข้าร่วมการชุมนุมประท้วงในขบวนการอารยะขัดขืน ซึ่งเป็นแนวหน้าของการต่อต้านรูปแบบการปกครองทหาร และบางก็เป็นแนวหน้าที่ถูกปราบอย่างนองเลือด

นพ.สเตฟาน พอลจอสต์ ตัวแทนขององค์การอนามัยโลกในเมียนมา ระบุว่า มีแพทย์ที่เสียชีวิตไปในการชุมนุมกว่า 13 ราย จากการปราบปราบ 179 ครั้ง บุคคลกรทางการแพทย์ถูกจับกุมกว่า 150 คน หมอและพยาบาลกว่าอีกเป็นร้อยคนถูกตั้งข้อหายุยงปลุกปั่น

แม้ทางรัฐบาลทหารและกระทรวงสาธารณสุข เร่งให้บุคคลากรทางการแพทย์เข้าช่วยเหลือควบคุมสถานการณ์โควิด19 ในประเทศ โดยให้เป็นมาตรการแห่งชาติ ทว่าผลกลับไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง

รัฐประหารเมียนมา ส่งผลกระทบหนักต่อสถานการณ์โควิด19 ในประเทศ

การตรวจหดหาย
เจ้าหน้าที่ในศูนย์ตรวจและกักกันโควิด19 แห่งหนึ่งในกรุงย่างกุ้ง เมืองหลวง กล่าวว่า เจ้าหน้าที่สาธารณสุขผู้เชี่ยวชาญทั้งหมดที่นั่นได้เข้าร่วมขบวนการอารยะขัดขืน

"เราปฏิเสธที่จะรับผู้ป่วยรายใหม่ เนื่องจากเราศูนย์ตรวจโควิด ที่ไม่มีเจ้าหน้าที่ในการตรวจ" เจ้าหน้าที่ กล่าว

ในสัปดาห์ก่อนการรัฐประหารเกิดขึ้น เมียนมาเคยมีการตรวจหาโควิดทั่วประเทศโดยเฉลี่ยแล้วมากกว่า 17,000 ครั้งต่อวัน ซึ่งปัจจุบันลดลงอย่างมาก ไม่ถึงวันละ 1,200 ครั้งเสียด้วยซ้ำ

ปัจจุบันเมียนมาร์ รายงานพบผู้ป่วยโควิด19 มากกว่า 140,000 ราย อยู่อันดับที่ 84 ของโลก (ไทยอยู่อันดับที่ 83 ด้วยยอดติดเชื้อมากกว่า 150,000) และเสียชีวิตจกว่า 3,200 ราย จากการตรวจหาเชื้อที่ลดลงทำให้เกิดคำถามข้นมากมาย โดยเฉพาะระบบสาธารณสุขของประเทศ ที่ชี้ให้เห็นว่ายอดติดเชื้อรายวันเพิ่มสูงขึ้นมาโดยตลอดตั้งแต่การรัฐประหาร

โรงพยาบาลซิก้าเริ่มรับผู้ป่วยโควิด19 มาตั้งแต่ช่วงกลางเดือนพฤษภาคม และกังวลว่าจะเป็นสายพันธุ์ที่น่าเป็นห่วงอย่างสายพันธุ์ B.1.617.2 ที่พบครั้งแรกในอินเดีย เนื่องจากโรงพยาบาลตั้งอยู่ห่างจากอินเดียเพียง 6 กม. เพียงเท่านั้น

หลุยส์ เฟียร์ ยูนิส ผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการโควิด19 ของสหพันธ์สภากาชาดสากล กล่าวว่า "เป็นเรื่องน่ากังวลอย่างยิ่งที่การตรวจ การรักษา และการฉีดวัคซีนในเมียนมามีอย่างจำกัด นี่จะทำให้ประชาชนตกอยู่ในความเสี่ยงที่มากขึ้น และอาจทำให้เกิดการกลายพันธุ์ที่เป็นอันตรายมากยิ่งขึ้นก็เป็นได้"

รัฐประหารเมียนมา ส่งผลกระทบหนักต่อสถานการณ์โควิด19 ในประเทศ

จำนวนผู้ป่วยที่ถาโถม
ลู ซาเอน กล่าวว่ามีผู้ป่วย 24 รายในโรงพยาบาลซิก้า โดยมี 7 รายอยู่ในขั้นวิกฤติ และนี่เป็นเพียงผลในการตรวจค้นหาผู้ป่วยโควิด19 ที่น้อยนิด

องค์การอนามัยโลก กล่าวว่า ได้พยายามติดต่อเจ้าหน้าที่และกลุ่มอื่นๆ ในพื้นที่ที่สามารถให้ความช่วยเหลือได้ในขณะเดียวกันก็ตระหนักถึงความยากลำบากในระบบสุขภาพที่ย้อนกลับไปในช่วงหลายปีที่ผ่านมาของผลกำไรที่น่าประทับใจ

หัวหน้าพยาบาล  กล่าวว่า ทางโรงพยาบาลได้จัดการช่วยเหลืออย่างกำลังเท่าที่ทำได้  "รัฐบาลไม่ได้ดูแลคนไข้ของเรา"

แม้แพทย์บางคนได้จัดตั้งคลินิกใต้ดินเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วย เช่น อาสาสมัครสภากาชาดเมียนมาได้จัดตั้งคลินิก 3 แห่งในกรุงย่างกุ้ง ก็มีคนไข้หลายสิบมารักษาในเวลาอันสั้น

มารยัน เบซูเจน หัวหน้ากลุ่มภารกิจของกลุ่มช่วยเหลือ (MSF) กล่าว "โรงพยาบาลกว่า 80% เป็นโรงพยาบาลรัฐ" 

แม้ว่าโรงพยาบาลทหารจะเปิดให้บริการแก่ประชาชน แต่หลายคนก็กลัวพวกเขาหรือปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามมาตรการรวมถึงการฉีดวัคซีนโควิด19 ตามแผนการเดิมที่รัฐบาลเก่าดำเนินการไว้

"ฉันกังวลมากว่าผู้ติดเชื้อรายใหม่เหล่านี้จะแพร่กระจายไปทั่วประเทศ หากการติดเชื้อแพร่กระจายไปยังเมืองที่แออัดก็ไม่อาจควบคุมได้อีก" ลู ซาเอน หัวหน้าพยาบาลของโรงพยาบาลซิก้า กล่าว

related