เพจดังชี้ แนวคิดที่ว่า “30 บาทรักษาทุกโรค ทำให้คนไทยไม่ดูแลสุขภาพ” นั้น เป็นมายาคติ ไม่ใช่ข้อเท็จจริง พร้อมยกผลวิจัยขึ้นมายืนยัน
กลายเป็นประเด็นที่ถูกหยิบยกกันมาถกกันอีกครั้ง นั่นก็คือ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือ 30 บาทรักษาทุกโรค ส่งผลให้คนไม่ใส่ใจดูแลสุขภาพหรือไม่ โดยได้มีการอ้างถึงแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ที่เรียกว่า Moral Hazard ซึ่งหมายถึงภาวการณ์ที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกิดแรงจูงใจในการสร้างภาวะเสี่ยงภัยให้กับตนเองเพิ่มขึ้น เพราะรับรู้ว่า ตนไม่ต้องแบกรับต้นทุนทั้งหมดที่เกิดจากภาวะเสี่ยงภัยนั้น ซึ่งในกรณี 30 บาทรักษาโรค ก็ประมาณว่า เมื่อค่ารักษาพยาบาลฟรี หรือเกือบฟรี คนก็ไม่แรงจูงใจในการดูแลรักษาสุขภาพ ส่งผลให้มีต้องเข้ารับการรักษาบ่อยขึ้น มีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น ส่งผลกระทบกับระบบสาธารณสุข
ล่าสุดเพจ Drama-addict ก็ได้นำเรื่องมามาอธิบาย พร้อมผลการวิจัยที่ยืนยันว่า 30 บาทรักษาทุกโรค ไม่ได้ทำให้คนละเลยการดูแลสุขภาพ ดังต่อไปนี้
ข่าวหรือบทความที่น่าสนใจ
หมอริท ฝากไปถึง โตโน่ ภาคิน พี่ได้บริจาคพันล้าน หมอ-พยาบาลเหนื่อยเท่าเดิม
จริงหรือ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ทำให้คนมีรายได้น้อย ไม่ดูแลสุขภาพ ?
“ประโยค 30 บาทรักษาทุกโรค ทำให้คนไทยไม่สนใจดูแลสุขภาพตัวเอง" เป็นวาทะกรรมที่มีมานานสิบกว่าปี น่าจะเกือบยี่สิบปี ซึ่งเป็นความเชื่อของคนจำนวนหนึ่ง รวมถึงบุคลากรการแพทย์ด้วย ที่เชื่อว่า การมีระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งช่วยรักษาคนไทยโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย หรือค่าใช้จ่ายถูกมาก จะทำให้คนไทยคิดว่า โอ๊ย รักษามันฟรี มันถูก แบบนี้ชั้นไม่ต้องดูแลสุขภาพ ไม่ต้องออกกำลังกาย ไม่ต้องเลิกเหล้าเลิกบุหรี่ก็ได้ ป่วยขึ้นมาก็รักษาฟรีๆนี่นา (จริงดิ)
“แนวคิดแบบนั้นในทางสาธารณสุข เราเรียกว่า Moral Hazard ซึ่งเป็นแนวคิดในทางเศรษฐศาสตร์ ว่าคนที่ได้รับประกันสุขภาพ อาจละเลยการดูแลสุขภาพของตน เพราะมีคนจ่ายค่ารักษาแทนให้ (คือรัฐเป็นผู้จ่ายในกรณีสามสิบบาท)
“แต่เวลาพูดถึงประเด็นพวกนี้ เราจะไม่พูดแค่ "ความเชื่อ" แต่ต้องมีการวิจัยศึกษาว่ามันจริงหรือไม่ ซึ่งปรากฏว่า มีคนศึกษาวิจัยประเด็นนี้ในบ้านเราเรียบร้อย ผลปรากฏว่า การมี 30 บาทรักษาทุกโรค ไม่ทำให้เกิด moral hazard นั่นคือ เมื่อเทียบสถิติ พบว่า หลังมีระบบ 30 บาท หรือประกันสุขภาพถ้วนหน้า คนไทยก็ไม่ได้ดื่มเหล้าหรือสูบบุหรี่เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด
“และตัวเลขของเคสที่เกิดผลข้างเคียงหรือเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับการกินเหล้าสูบบุหรี่ เทียบกัน ก่อนและหลังมี 30 บาท ก็ไม่ได้แตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญแต่ประการใด
“และงานวิจัยบางตัวก็ระบุว่า การมีสามสิบบาทรักษาทุกโรค ทำให้คนไทยเข้าถึงหมอได้ง่ายขึ้น กลับทำให้คนไข้ได้รับข้อมูล และคำเตือนเรื่องการกินเหล้าสูบบุหรี่มากขึ้น ก็จะส่งผลต่อการช่วยให้เลิกเหล้าเลิกบุหรี่ได้มากขึ้น
“เอาจริงๆ ถ้าเคยไปใช้บริการโรงพยาบาลรัฐ ด้วยสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า จะรู้ว่าเหนื่อยนะครับ การมานั่งรอแลป นั่งรอหมอเรียก นั่งรอคิวกันแต่เช้า เหนื่อยมาก ไม่น่าจะมีใครอยากมาหาหมอบ่อยๆเ พราะเห็นว่าเป็นของฟรีหรอกครับ เพราะนอกจากจะเสียเวลา เหนื่อย แล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายแฝง พวกค่าเดินทางด้วย ยิ่งถ้าต่างจังหวัดนี่ยิ่งหนัก คนไข้บางคน ขาย follow up เพราะไม่มีเงินเดินทางมาหาหมอ ไม่มีรถประจำทางผ่านบ้าน จะมาทีต้องเหมารถมาที ลำบากมาก
“แต่ส่วนตัว ขอเพิ่มเติมประเด็นว่า เคยเจอ moral hazard จากคนไข้ในลักษณะ อ้าว คนไข้มาโรงพยาบาล รักษาโรคเรื้อรังเบาหวานความดัน ไหนๆ ก็มาแล้ว ขอยาแถมไปหน่อย เอาไปตุนไว้ ยาแก้ปวด ยาแก้ไอ ยาธาตุน้ำแดง ฯลฯ พอไม่จ่ายให้ก็บ่น เคสแบบนี้มีบ้าง แต่ไม่เยอะมาก ก็เอาเป็นว่า ฝากคนไข้ว่าเราจ่ายยาตามจำเป็นนะครับ อันไหนยังไม่จำเป็นนี่อย่าขอหมอเลย ไปซื้อเองละกัน
แต่ฝั่งบุคลากรการแพทย์ก็ต้องทำลายมายาคติเรื่อง "30บาทรักษาทุกโรค ทำให้คนไทยไม่สนใจดูแลสุขภาพตัวเอง" ด้วย ว่าไปตามข้อเท็จจริงครับ
ที่มา FB : Drama-addict