จากงานวิจัยซึ่งเผยแพร่ในวารสารเนเจอร์ ระบุว่าคณะนักวิทยาศาสตร์ของจีนและสหรัฐอเมริกา พบชนิดของแบคทีเรียในลำไส้มนุษย์ที่สามารถย่อยสลายนิโคตินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นสารอันตรายในยาสูบที่ก่อให้เกิดอาการเสพติดและความเสี่ยงต่อสุขภาพ อาทิ โรคไขมันพอกตับ
คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง มหาวิทยาลัยเจ้อเจียง มหาวิทยาลัยฟู่ตั้น โรงพยาบาลในเครือแห่งแรกของมหาวิทยาลัยการแพทย์เวินโจว และสถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐฯ พบแบคทีรอยด์ส ไซลานิโซลเวนส์ (Bacteroides xylanisolvens) ซึ่งเป็นกลุ่มแบคทีเรียในลำไส้ สามารถย่อยสลายนิโคตินที่สะสมในลำไส้ของผู้สูบบุหรี่ได้ จากการทดลองในหนูที่ได้รับนิโคติน
เนื้อหาที่น่าสนใจ :
นักจิตวิทยาเผยวิธีดูแลจิตใจครอบครัวเหยื่อกราดยิง วอนหยุดแชร์ภาพรุนแรง
สำรวจ 8 งานศิลป์ชั้นครูในไอคอนสยาม เชิดชูศิลปะไทยสู่อาร์ตสเปซระดับโลก
งานวิจัยระบุว่านิโคตินทำปฏิกิริยากับโมเลกุลลำไส้ที่เรียกว่าเอเอ็มพีเคแอลฟา (AMPKα) ซึ่งโมเลกุลเหล่านี้มีส่วนทำให้เกิดโรคไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ (NAFLD)
การค้นพบครั้งนี้ชี้ให้เห็นถึงแนวทางเป็นไปได้ในการลดการลุกลามของโรคดังกล่าวซึ่งเกิดจากการสูบยาสูบ ด้วยการใช้แบคทีเรียที่อยู่ตามธรรมชาติในลำไส้ของมนุษย์ และถูกนำไปใช้อย่างปลอดภัยในการผลิตอาหาร