จากกรณีที่ผู้โดยสารรายหนึ่งของเจจูแอร์ได้พิมพ์ข้อความสุดท้ายบอกทางบ้านว่า “มีนกบินเข้าเครื่อง“ นำไปสู่การตั้งข้อสังเกตว่านกเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เครื่องบินมีปัญหา
SPRiNG ได้สืบค้นข้อมูลจากรายงาน Wildlife Strike Analyses ขององค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) พบว่าตั้งแต่ปี 2016 - 2021 ตลอดระยะเวลาดังกล่าว มีรายงานการชนระหว่างสัตว์ป่ากับเครื่องบินมากถึง 273,343 ครั้งทั่วโลก
ข้อมูลจาก ICAO ชี้ว่า นกที่ชนเข้ากับเครื่องบินบ่อยที่สุด ได้แก่
1. เหยี่ยว, อินทรี และอีแร้ง: 28%
2. นกเกาะ เช่น กา, นกกระจอก, นกโรบิน: 27%
3. นกชายฝั่ง เช่น นกนางนวล: 18%
4. นกพิราบและนกป่า: 8%
5. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น ค้างคาว, กระต่าย: 5%
6. นกกระสาและฟลามิงโก: 3%
7. นกเค้าแมวและนกฮูก: 3%
8. นกนางแอ่น: 2%
9. เป็ด ห่าน และหงส์: 2%
10. นกกระทุง นกกาน้ำ และนกบูบี้: 2%
ชิ้นส่วนของเครื่องบินที่ถูกชนได้รับความเสียหายบ่อยที่สุด ดังนี้
1. เครื่องยนต์: พบการชน 17% เสียหาย 34%
2. กระจกหน้า: พบการชน 14% และเสียหาย 6%
3. ลำตัวเครื่องบิน: พบการชน 12% และเสียหาย 5%
4. อุปกรณ์ลงจอด: พบการชน 7% และเสียหาย 5%
5. ปีก: พบการชน 14% เสียหาย 18%
6. เรโดมหรือโครงหุ้มเรดาร์: พบการชน 14% และเสียหาย 11%
7. ส่วนหน้าของเครื่องบิน: พบการชน 10% และเสียหาย 4%
8. อื่นๆ เช่น ไฟ, หาง, ใบพัด: พบการชน 12% เสียหาย 7%
สำหรับช่วงระยะของการบินที่เกิดเหตุชน ดังนี้
1. ช่วงเทคออฟหรือบินขึ้น: 24%
2. ระยะเข้าใกล้เพื่อลงจอด: 23%
3. ช่วงแลนด์ดิ้งหรือการลงจอด: 23%
4. ช่วงระหว่างการบิน: 5%
6. ช่วงจอดนิ่งบนพื้นดิน: 21%
7. ช่วงวิ่งบนพื้น: 1%
8. ไม่ทราบช่วงเวลา (Unknown): 3%
เนื้อหา: SPRiNG
ภาพประกอบ: สุรัสวดี มณีวงษ์