svasdssvasds

เคสเด็กเชื่อมจิต ควรเป็นหน้าที่ใคร? ดูแล

เคสเด็กเชื่อมจิต ควรเป็นหน้าที่ใคร? ดูแล

เป็นปัญหาที่ถูกถกเถียงกันในสังคม ของเคสเด็กเชื่อมจิต หลังมีข่าว หลายเสียงอยากให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เข้าไปดูแลในเรื่องนี้แต่ที่จริงแล้วหน้าที่ของสํานักพุทธ มีขอบเขตแค่ไหน และหน่วยงานที่ต้องเป็นหัวเรือใหญ่เข้าไปดูแลเคสนี้คือใครลองมาดูหน้าที่กัน

เรียกได้ว่าเป็นข่าวที่สังคมไทยจับตามองมาข้ามปีเกี่ยวกับ "อาจารย์น้องไนซ์" ด.ช.วัย 8 ขวบ ผู้ที่อ้างตนเป็นร่างอวตารองค์เพชรภัทรนาคานาคราช มีความสามารถในการ "เชื่อมจิต" และ "หยั่งรู้" เรื่องราวต่างๆ ทั้งอดีตและอนาคตจนทำให้มีกลุ่มผู้ศรัทธา ซื้อคอร์ส ในการเข้าพบหรือเชื่อมจิตกับน้องไนซ์ และร่วมฟังถ่ายทอดคำสอนตามสถานที่ต่างๆ เป็นจำนวนมาก 

ถึงแม้ว่าจะมีผู้ศรัทธาในตัว “อาจารย์น้องไนซ์” แต่ก็มีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่เห็นต่าง จึงเกิดการแบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือ กลุ่มสนับสนุน และกลุ่มที่คัดค้าน 

หลังมีการเรียกร้องให้ตรวจสอบ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติและกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ลงพื้นที่บ้านพักของครอบครัว แต่ก็ยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน ประกอบกับที่ผ่านๆมา ประชาชนมีการเรียกร้องให้ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติจัดการกับเคสนี้อย่างจริงจัง แต่ที่จริงแล้วนั้นขอบเขตหน้าที่ของสำนักพุทธมีแค่ไหนและหน่วยงานไหนที่ควรเข้ามาดูแลเรื่องนี้อย่างจริงจัง

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

เป็นส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีเป็นหน่วยงานที่ไม่สังกัดกระทรวง ทบวงใด มีภารกิจเกี่ยวกับการดำเนินงานสนองงานคณะสงฆ์และรัฐโดยการทำนุบำรุง ส่งเสริมกิจการพระพุทธศาสนา ให้การอุปถัมภ์ คุ้มครองและส่งเสริมพัฒนางานพระพุทธศาสนา ดูแล รักษา จัดการศาสนาสมบัติ พัฒนาพุทธมณฑลให้เป็นศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนา รวมทั้งให้การสนับสนุนส่งเสริม พัฒนาบุคลากรทางศาสนา

นอกจากนั้น สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ยังมีบทบาทในการติดตามและตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีที่มีข่าวฉาวสร้างความเสื่อมเสียทางพระพุทธศาสนา ทั้งทางวิทยุ โทรทัศน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางโซเชียลมีเดีย รวมทั้งทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขาธิการของมหาเถรสมาคม

หน้าที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ  

  1. ดําเนินการตามกฎหมายว่าด้วยคณะสงฆ์ และกฎหมายว่าด้วยการกําหนดวิทยฐานะ ผู้สําเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา รวมทั้งกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
  2. รับสนองงาน ประสานงาน และถวายการสนับสนุนกิจการและการบริหารการปกครองคณะสงฆ์
  3. เสนอแนวทางการกําหนดนโยบายและมาตรการในการคุ้มครองพระพุทธศาสนา
  4. ส่งเสริม ดูแล รักษา และทํานุบํารุงศาสนสถานและศาสนวัตถุทางพระพุทธศาสนา
  5. ดูแล รักษา และจัดการวัดร้างและศาสนสมบัติกลาง
  6. พัฒนาพุทธมณฑลให้เป็นศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนา
  7. ทํานุบํารุงพุทธศาสนศึกษาเพื่อพัฒนาความรู้คู่คุณธรรม
  8. สนับสนุนและส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งการเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลก
  9. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกําหนดให้เป็นอํานาจหน้าที่ของสํานักงานหรือตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

 

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 

เป็นหน่วยงานราชการส่วนกลางประเภทกระทรวงของไทย ทำหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคม การสร้างความเป็นธรรมและความเสมอภาคในสังคม การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพและความมั่นคงในชีวิต สถาบันครอบครัวและชุมชน

หน้าที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

  1. จัดทำนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในระดับจังหวัดรวมทั้งรายงานสถานการณ์ทางสังคมและเสนอแนะแนวทางแก้ไข
  2. ประสานและจัดทำแผนงานโครงการและกิจการด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในระดับจังหวัดให้เป็นไปตามนโยบายของกระทรวง
  3. ส่งเสริมและประสานการดำเนินงาน การจัดกิจกรรมต่างๆตามภารกิจและเป้าหมายของหน่วยงานในกระทรวง
  4. ส่งเสริมสนับสนุนและประสานการดำเนินงานกับองค์กรเครือข่ายในจังหวัด ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
  5. ส่งเสริมและประสานงานการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคมรวมทั้งการส่งต่อให้หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่มีอำนาจหน้าที่ในการจัดสวัสดิการสังคมตามกฎหมาย
  6. กำกับดูแลหน่วยงานในสังกัดกระทรวงให้ดำเนินการตามกฎหมายนโยบายของกระทรวงและติดตามและประเมินผล แผนการปฏิบัติราชการของกระทรวงในความรับผิดชอบของส่วนราชการและหน่วยงานสังกัดกระทรวงในระดับจังหวัด
  7. เป็นศูนย์ข้อมูลด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในระดับจังหวัด
  8. เผยแพร่ประชาสัมพันธ์และรณรงค์ให้มีการดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รวมทั้งความก้าวหน้าทางวิชาการและผลการปฏิบัติงานของกระทรวง
  9. รับเรื่องราวร้องทุกข์และแก้ไขปัญหาสังคมในระดับจังหวัด 
  10. กรมกิจการเด็กและเยาวชน คุ้มครองและพิทักษ์สิทธิเด็กและเยาวชน
  11. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมายโดยที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด เป็นกลไกระดับภูมิภาคที่สำคัญของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ที่จะสามารถปฏิบัติภารกิจด้านการพัฒนาสังคมเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของมนุษย์ให้เข้าถึงและครอบคลุมประชาชนทุกพื้นที่ทั่วประเทศดังนั้นกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จึงเห็นความจำเป็นที่จะมีการปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติหน้าที่

ของสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติและพัฒนางานของสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดให้สอดคล้องกับบทบาทหน้าที่การปฏิบัติงานตามภารกิจใหม่ทั้งนี้เพื่อให้สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดปฏิบัติหน้าที่บรรลุผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพมุ่งสู่วิสัยทัศน์ของกระทรวงที่จะเป็นองค์การและกลไกระดับชาติที่เอื้ออำนวยและประสาน เชื่อมโยงกับภาคีทุกภาคส่วนเพื่อให้ประชาชนมีความมั่นคงในการดำรงชีวิตมีบริการสวัสดิการและการคุ้มครอง อย่างทั่วถึงเป็นธรรมและเสมอภาคสามารถช่วยเหลือและพัฒนาตนเองครอบครัวและชุมชนเป็นสังคมสันติสุขน่าอยู่และยั่งยืนต่อไป

ข้อมูลจาก : กระทรวงพม. , สำนักพุทธ , Wikipedia

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related