svasdssvasds

ส่องการเกณฑ์ทหารในอาเซียน ยังทำกันอยู่หรือไม่?

ส่องการเกณฑ์ทหารในอาเซียน ยังทำกันอยู่หรือไม่?

เพื่อนบ้านอาเซียน เขาเกณฑ์ทหารกันอย่างไร และมีประเทศไหนบ้างที่ยกเลิกเกณฑ์ทหารไปแล้ว ส่วนของไทยยังมีอยู่เพราะอะไร?

SHORT CUT

 

เพื่อนบ้านอาเซียน เขาเกณฑ์ทหารกันอย่างไร และมีประเทศไหนบ้างที่ยกเลิกเกณฑ์ทหารไปแล้ว ส่วนของไทยยังมีอยู่เพราะอะไร?

ในอดีต การเกณฑ์ทหาร ถือเป็นเรื่องปกติมาก เนื่องจากเกิดสงครามปกป้องและแย่งชิงดินแดนกันหลายครั้ง แต่ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ก็ทำให้หลายประเทศยกเลิกการเกณฑ์ทหารไปเพราะไม่จำเป็น ทว่าก็ยังเหลืออีกหลายประเทศที่ยังคงไว้ซึ่งกฎหมายนี้อยู่ โดยบ้างก็อ้างว่าเพื่อส่งเสริมระเบียบวินัย หรือไม่ก็เตรียมความพร้อมไว้ยามฉุกเฉิน

เมื่อมองดูย่านอาเซียน จะพบว่ามีหลายประเทศที่ยังมีการเกณฑ์ทหารอยู่ ขณะเดียวกันอีกหลายประเทศก็ยกเลิกไปแล้ว ซึ่งเหตุผลที่จะมีการเกณฑ์ทหารหรือไม่นั้น มักขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างภายในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ความมั่งคง รวมถึงเรื่องของงบประมาณ

ส่องการเกณฑ์ทหารในอาเซียน ยังทำกันอยู่หรือไม่?

“สิงคโปร์” จุดยุทธศาสตร์สำคัญของเอเชีย

สิงค์โปรตั้งอยู่ในพื้นที่เศรษฐ์กิจที่มีความสำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่กลับเป็นประเทศขนาดเล็กที่มีประชากรน้อย ดังนั้นแค่ทหารประจำการจึงไม่เพียงพอ จึงมีการเกณฑ์กำลังพลเข้ามาทดแทน

นั่นจึงทำให้ สิงค์โปรมีกฎระเบียบการเกณฑ์ทหารที่เข้มงวดที่สุดแห่งหนึ่งบนโลก และมีคนที่ได้รับการยกเว้นน้อยมาก ชายหนุ่มทุกคนจะต้องขึ้นทะเบียนเตรียมรับราชการทหารตั้งแต่อายุ 16 ปี แต่ส่วนใหญ่จะเข้ารับการฝึกจริงๆ ในช่วงอายุ 18- 20 ปี โดยมีระยะเวลาประจำการ 2 ปี

อย่างไรก็ตาม กองทัพสิงคโปร์มีขนาดเล็ก แต่มุ่งเน้นใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยป้องกันประเทศ

“เมียนมา” ประเทศอยู่ในความขัดแย้ง

เดิมเมียนมาไม่มีการเกณฑ์ทหาร แต่ใช้ระบบสมัครใจ ทว่าเมื่อความขัดแย้งกับกลุ่มชาติดูจะควบคุมไม่ได้ เมียนมาจึงเริ่มกันมาเกณฑ์ทหารอย่างจริงจัง เพื่อปกป้องและรักษาความมั่นคงของชาติ โดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 10 ก.พ. 67 ที่ผ่านมานี้

ซึ่งผู้ที่เข้าเข้าเกณฑ์ คือ พลเมืองชายอายุ 18–35 ปี และพลเมืองหญิงอายุ 18–27 ปี ซึ่งต้องเข้ามาเป็นทหารประจำการเบื้องต้น 2 ปี แต่รัฐบาลสามารถขยายเป็น 5 ปีได้ หากสถานการณ์ในประเทศยังไม่สงบ นั่นจึงทำให้ระบบเกณฑ์ทหารของเมียนมาในเวลานี้ ถูกมองว่ามีความโปร่งใสน้อยที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

“เวียดนาม” เพื่อให้มีความพร้อมรบ และบรรเทาสาธารณภัย

เวียดนามเคยผ่านความขัดแย้งทางทหารมาก่อน จึงจำเป็นต้องรักษากฎหมายสำหรับการเกณฑ์ทหารเอาไว้ ซึ่งผู้ชายทุกคนที่มีอายุ 18 ถึง 25 ปี จะต้องเข้าประจำการในกองทัพประชาชนเวียดนามเป็นเวลา 18 ถึง 24 เดือน

อย่างไรก็ตาม ระเบียบเกณฑ์ทหาร ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ และไม่ได้เข้มงวดมากนัก ในช่วงเวลาสงบ จะเน้นไปที่การสมัครใจแทน ซึ่งจุดประสงค์ของการเพิ่มกำลังพลคือ ฝึกความพร้อม และ บรรเทาสาธารณภัยที่เกิดขึ้นทั่วไป

สปป.ลาว รักษาความปลอดภัยตามชายแดน

ในอดีตลาวต้องเผชิญกับกลุ่มก่อความไม่สงบมากมาย จึงต้องมีการเกณฑ์เป็นทหารจำนวนมาก แต่หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลาย กองทัพลาวก็ไม่มีงบช่วยเหลือจากต่างประเทศ จึงต้องปรับลดกองทัพลง จนทุกวันนี้มีทหารเกณฑ์แค่ไม่กี่หมื่นคน

โดยชายอายุ 18 ปี จะต้องเข้ารับการเกณฑ์ทหาร และประจำการประมาณ 18 เดือน เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ แต่ก็ไม่ได้เข้มงวดมาก ขึ้นอยู่กับสถานการณ์

กัมพูชา เสริมสร้างกองทัพ

ประเด็นการเกณฑ์ทหารของกัมพูชา เป็นที่ถกเถียงกันถึงความจำเป็นมานาน ในอดีตรัฐบาลกัมพูชาเคยอ้างว่า เพราะทหารประจำการมีแต่คนเฒ่าคนแก่ จึงจำเป็นต้องดึงคนหนุ่มมาเสริมสร้างกองทัพให้มีประสิทธิภาพ แต่ฝ่ายที่เห็นต่างกลับมองว่า นี่เป็นเพียงการควบคุมความประพฤติของคนรุ่นใหม่ของรัฐบาลเท่านั้น

สำหรับอายุ เกณฑ์ทหารของกัมพูชา อยู่ที่ 18-30 ปี และต้องประจำการ 18 เดือน อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติทุกวันนี้ไม่ได้เข้มงวดอะไร เพราะรัฐบาลไม่มีงบจะมาดูแลทหารเกณฑ์จำนวนมาก

ส่องการเกณฑ์ทหารในอาเซียน ยังทำกันอยู่หรือไม่?

ไทย คนสมัครทหารไม่พอ?

การเกณฑ์ทหารในไทย เป็นกฎหมายตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 กำหนดหน้าที่นี้ให้เฉพาะชายที่มีสัญชาติเป็นไทยตามกฎหมายมีหน้าที่ต้องเข้ารับราชการทหารด้วยตนเองทุกคน โดยเมื่อถึงอายุ 18 ต้องไปขึ้นบัญชีทหารกองเกินใน ภูมิลำเนา และเมื่ออายุ 20 จะต้องเข้ารับการเกณฑ์ทหารต่อไป ซึ่งมีระยะเวลาประจำการ 2 ปี

ทั้งนี้ สามารถได้รับการยกเว้นได้ก็ต่อเมื่อ เรียแม้นหลักสูตรรักษาดินแดน (ร.ด.) หรือป่วยเป็นโรคร้ายแรง

ส่วนเหตุผลที่ไทยต้องมีการเกณฑ์ทหารนั้น มีหลายเหตุผล ซึ่งหนึ่งในนั้น คือการที่กระทรวงกลาโหม ต้องการชายไทยไปเป็นทหารประมาณ 1 แสนคนทุกปี เพื่อให้ทุกเหล่าทัพมีกำลังคนเพียงพอต่อการใช้งาน และถึงแม้ในปี 2567 รัฐบาลผสมชุดใหม่ จะลดจำนวนทหารเกณฑ์ลงไปเหลือ 85,000 คน แต่การสมัครใจเป็นทหารของชายไทยในแต่ละปีมีเพียงปีละประมาณ 2-3 หมื่นคนเท่านั้น จึงต้องมีการเกณฑ์ทหารอยู่

ประเทศในอาเซียน ที่ไม่มีเกณฑ์ทหาร

อินโดนีเซีย - เพราะประชากรเยอะติดอันดับโลกอยู่แล้ว จึงทำให้มียอดผู้สมัครเพียงพอ

ฟิลิปปินส์ – ใช้การรับสมัคร แต่สามารถเกณฑ์กำลังพลได้หากจำเป็น

บรูไน – ใช้การรับสมัคร เป็นกองกำลังขนาดเล็กที่เน้นเทคโนโลยีทันสมัย

มาเลเซีย – เคยมีกลักสูตรให้เยาสชนฝึกการเป็นทหาร เรียกว่า National Service Training Programme แต่ยกเลิกไป เพราะขาดงบประมาณ ปัจจุบันใช้การรับสมัครเท่านั้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related