SHORT CUT
การแกล้งป่วยไม่ใช้แค่พฤติกรรมตลกๆ ที่เอาไว้แกล้งกันเท่านั้น เพราะในวงการแพทย์ การแกล้งป่วยถือเป็นโรคอย่างหนึ่ง โดยคำภาษาอังกฤษเรียกว่า “Malingering” ที่หมายถึง การที่คนคนหนึ่งพูดหรือแสดงออกเกินจริงของอาการที่เป็นอยู่
“โรคแกล้งป่วย (Malingering)” ถูกใช้ครั้งแรกในปี 1900 เพื่อใช้เรียกคนที่แกล้งป่วยเพื่อหวังไม่ต้องเข้ารับราชการทหาร แต่ภาพหลังความหมายได้ขยายไปถึงผู้ที่แสร้งทำเป็นเจ็บป่วยด้วยเหตุผลอื่น ๆ
สิ่งสำคัญคือต้องแยกแยะความแตกต่างระหว่างการ “แกล้งป่วย (Malingering)” กับโรค “อยากป่วย (Factitious Disorder)” ซึ่งเป็นพฤติกรรมแสร้งทำอีกประเภทหนึ่ง โดยผู้ที่เป็นโรคอยากป่วยมักทำไปเพื่อหนีมานอนโรงพยาบาลโดยเฉพาะ ซึ่งมีทั้งแบบเสแสร้ง และทำร้ายร่างกายตัวเองเพื่อให้ป่วยจริงๆ โดยพวกเขาจะรู้สึกดีเมื่อได้นอนโรงพยาบาล และมีคนมาดูแล ซึ่งถือเป็นอาการทางจิตชนิดหนึ่งที่ต้องรับการรักษา
แต่ผู้ที่เป็น โรคแกล้งป่วยนั้นต่างออกไป เนื่องจากพวกเขาไม่ได้มีอาการทางจิตเหมือนประเภทข้างต้น แต่พวกเขาต้องการ ผลประโยชน์จากการแกล้งทำนั้น ซึ่งมีสาเหตุมาจากความต้องการหลักๆ ดังนี้
เป็นการยากที่จะบอกได้ว่าอาการป่วยของคนคนนั้นเกิดขึ้นจริงหรือเป็นเพียงเรื่องแต่งขึ้น แต่สามารถสังเกตได้เบื้องต้นดังนี้
อย่างไรก็ตาม เกณฑ์เหล่านี้มีข้อบกพร่องและใช้วัดผลไม่ได้ 100 % เพราะผู้ป่วยจริงๆ อาจมีการตกใจจนพูดเกินจริงไปอยู่บ้าง หรือมีความกลัวจนไม่กล้าไปหาหมอ และการที่คนส่วนใหญ่ในสังคมชอบตัดสินคนอื่นด้วยอคติอยู่แล้ว ก็ทำให้ในหลายกรณีผู้ที่ป่วยจริงๆ ก็ถูกมองว่าเสแสร้งได้เช่นกัน
แต่การแกล้งป่วย เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการเรียกร้องความสนใจ โดยเฉพาะความสงสาร และคนที่ใช้วิธีนี้ มีตั้งแต่เด็กที่ไม่อยากไปโรงเรียน ผู้ใหญ่ที่ไม่อยากไปทำงาน ไปจนถึงนักการเมืองที่อยากหลีกหนีโทษจากการทุจริต แต่ที่น่ากังวลคือการเสแสร้งแกล้งป่วยในเรือนจำ เนื่องจากการวิจัยในต่างประเทศเปิดเผยว่า ผู้ต้องขังในเรือนจำมัก ใช้การแกล้งป่วยเพื่อให้ถูกย้ายไปพักที่อื่น รวมถึงเหตุผลอื่นๆ อย่างการได้ลดโทษ พักโทษ ปล่อยตัวก่อนกำหนด ไปจนถึงเป็นข้ออ้างให้ไม่ต้องเข้าคุกแม้แต่วันเดียวได้เช่นกัน
ผู้ที่แกล้งป่วยคือภาระของสังคม เพราะพวกเขาพรากเงินทุนในการรักษาพยาบาล และทรัพยากรอันมีค่าไปจากผู้ที่ต้องการมันจริงๆ แย่ไปกว่านั้นยังเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ที่กระทำความผิดหนีรอดจากกฎหมายไปได้อีกด้วย
ขณะเดียวกัน ก็อาจเกิดจากการกล่าวหาว่าคนที่ป่วยจริงว่าแกล้งป่วยได้ และพวกเขาอาจถูกปฏิเสธการรักษาที่พวกเขาต้องการ และอาจถูกตราหน้าว่าเป็นผู้ร้ายไปตลอดชีวิต
ส่วนจิตแพทย์และคนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยอาการแกล้งป่วยนั้น ก็ทำให้ตัวเองตกอยู่ในความเสี่ยงเช่นกัน เพราะพวกเขาอาจถูกฟ้องในข้อหาใส่ร้ายหรือทุจริตต่อหน้าที่ได้ แม้ว่าการวินิจฉัยจะกระทำโดยสุจริตก็ตาม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง