svasdssvasds

ป่วยซึมเศร้า เพราะเห็นความรุนแรงในที่สาธารณะ เรื่องจริงที่ใครๆ ก็เป็น

ป่วยซึมเศร้า เพราะเห็นความรุนแรงในที่สาธารณะ เรื่องจริงที่ใครๆ ก็เป็น

การเห็นคนคิดสั้นในที่สาธารณะ ที่ไม่ว่าจะเป็นคนรู้จัก หรือคนแปลกหน้า สามารถสร้างบาดแผลทางจิตใจที่ไม่มีวันลืมเลือนได้ และอาจป่วยเป็นซึมเศร้าได้

เมื่อไม่นานมานี้ สังคมออนไลน์ของไทย ได้มีการพูดถึงคนที่ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงในที่สาธารณะโดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งมีที่มาจากเหตุการณ์วันที่ 24 ม.ค. 67 โดยมีชายคนหนึ่งกระโดดลงบ่อน้ำดับในห้างสรรพสินค้าชื่อดังย่านบางแค ซึ่งผู้อยู่ในเหตุการณ์เผยว่า ตอนที่ได้ยินเสียงน้ำดังขึ้น เห็นว่าชายดังกล่าวยังมีชีวิตอยู่ จึงพากันเข้าไปช่วยเหลือ โดยการอุ้มตัวออกมาจากน้ำ แต่ก็ไม่สามารถช่วยชีวิตชายคนดังกล่าวได้

เหตุการณ์นี้ ทำให้โลกออนไลน์วิพากษ์วิจารณ์กันไปต่างๆ นานา โดยส่วนหนึ่งก็แสดงความสงสารต่อผู้เสียชีวิต แต่ก็มีอีกมากที่แสดงความไม่พอใจ เพราะห้างเพิ่งจะรีโนเวทได้ไม่นาน แต่เมื่อเกิดเหตุสลด อาจทำให้ให้ไม่มีใครอยากมาใช้บริการห้างแห่งนั้น ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อผู้ประกอบการ และร้านค้าน้อยใหญ่ต่างๆ

นอกจากกระทบเรื่องธุรกิจแล้ว โลกออนไลน์ยังมีความเป็นห่วงคนที่อยู่ในเหตุการณ์ ซึ่งกลายเป็นพยานในเหตุการณ์ความรุนแรงโดยไม่เต็มใจ เนื่องจากบางคนพาลูก พาพ่อแม่ที่สูงอายุมาเที่ยวห้างขณะเกิดเหตุด้วย และภาพในที่เกิดเหตุอาจส่งผลต่อสภาพจิตใจของพวกเขาโดยตรงได้ คนในโลกออนไลน์บางส่วนจึงสนับสนุนให้ญาติของผู้ที่ก่อเหตุ ออกมารับผิดชอบเรื่องค่าเสียหายด้วย

@homunculus_123

เมื่อต้องเป็นเหยื่อความรุนแรง ควรทำอย่างไร

มีคำกล่าวว่า ผู้บังเอิญพบเห็นความรุนแรง ย่อมตกเป็น “เหยื่อความรุนแรง” ซึ่งในต่างประเทศ มีคำภาษาอังกฤษที่ใช้เรียกคนที่เห็นคนอื่นคิดสั้นโดยบังเอิญว่า “Witness Survivor” หรือ “Suicide witness” ซึ่งการพบเห็นใครสักคนพยายามจบชีวิตตัวเองในที่สาธารณะ สามารถสร้างบาดแผลทางจิตใจได้

เมื่อเวลาผ่านไป เหยื่อที่เห็นเหตุการณ์อาจมีความรู้สึก หรือบุคลิกภาพเปลี่ยนไป ซึ่งเป็นเรื่องปกติเมื่อเราพบเจอเหตุการณ์ที่ไม่ปกติ โดยเฉพาะหากได้เห็นคนที่รักเลือกจบชีวิตลงต่อหน้าต่อตา อาจมีอาการดังต่อไปนี้

  • รู้สึกวิตกกังวลและตื่นตระหนกเมื่อต้องเข้าใกล้สถานที่เกิดเหตุ
  • ไม่เฉียดไปใกล้สถานที่เกิดเหตุอีกเลย
  • นอนไม่หลับ หรือฝันร้ายบ่อยๆ
  • รู้สึกวิตกกังวลมากกว่าเดิม
  • หลีกเลี่ยงการพูดคุยกับคนอื่น
  • กินอาหารได้น้อยลง
  • อยากอยู่คนเดียว เก็บตัวมากขึ้น
  • หมดความสนุกในสิ่งที่เคยทำ
  • สับสน หงุดหงิด รู้สึกผิด

พบเห็นเหตุรุนแรงในที่สาธารณะโดยบังเอิญ อาจป่วยโรคซึมเศร้าได้!

ทั้งนี้ แต่ละคนอาจมีระดับความรุนแรงของอาการแตกต่างกันไป ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพจิตใจแต่ละคน โดยวิธีเบื้องต้นที่จะหลุดพ้นจากความเจ็บปวด ของการเป็น “เหยื่อของความรุนแรง” คือ ให้เวลาตัวเองได้พักผ่อนและฟื้นตัว ซึ่งจำเป็นต้องใช้เวลาระยะหนึ่งถึงจะควบคุมตัวเองได้ และสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้หายเร็วขึ้นคือหลีกการใช้แอลกอฮอล์ หรือสารเสพติดต่างๆ เพราะของพวกนี้ไม่สามารถแก้ปัญหาระยะยาวได้

นอกจากนี้ พยายามรักษากิจวัตรประจำวันให้เหมือนเดิม เช่น ออกไปทำงาน สังสรรค์กับเพื่อนฝูง หรือพาสุนัขออกไปเดินเล่น ก็ช่วยให้หลุดพ้นจากอาการซึมเศร้าได้เช่นกัน

แต่ถ้าใช้วิธีเบื้องต้นแล้วยังไม่หาย และอาการลุกลามถึงระดับภาวะซึมเศร้า วิตกกังวลอย่างรุนแรง หรือเห็นภาพเหตุการณ์นั้นฉายวนในหัวซ้ำ ๆ จนเริ่มอยากจบชีวิตตัวเองตามไปด้วย นั่นอาจหมายถึงเรากำลัง ประสบกับอาการ PTSD จากเหตุการณ์ดังกล่าวอยู่ ซึ่งมีความจำเป็นต้องรักษากับแพทย์เฉพาะทางโดยด่วน

ที่สำคัญที่สุดต้องจำไว้ว่า เราไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว และทุกอย่างมีทางออกเสมอ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

5 ความรุนแรง ที่ ผู้ป่วยจิตเวชเร่ร่อน ต้องเจอ จากกรณี ป้าบัวผัน 

รู้เท่าทันภาวะซึมเศร้าซ่อนเร้น เช็กง่ายๆ ด้วยตัวเอง 8 วิธีรับมือ 

หมิว สิริลภัส สส. ก้าวไกล ร้องไห้กลางสภา ถกงบฯ แก้สุขภาพจิต-โรคซึมเศร้า

 

related