svasdssvasds

รู้จัก 7 ฮอร์โมนความรัก หลั่งเมื่อใด...มีความสุขเมื่อนั้น !!!

รู้จัก 7 ฮอร์โมนความรัก หลั่งเมื่อใด...มีความสุขเมื่อนั้น !!!

ไม่ว่าเราจะอินกับวันวาเลนไทน์หรือไม่ แต่สมองของเราก็จะสั่งให้เราตามหาใครสักคนมาอยู่ข้างกาย เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ด้วยเสมอ เนื่องจากเป็นสัญชาตญาณของมนุษย์ที่จะออกตามหาบางสิ่งบางอย่างที่ขาดหายไป

เวลาเราตกหลุมรักใครสักคน หรืออยู่ใกล้ๆ คนที่ชอบ ร่างกายจะมีการหลั่งฮอร์โมนความรักหลายต่อหลายตัวออกมาในแต่ระดับของความรัก เพื่อกระตุ้นให้เราเกิดความตื่นเต้น ปรารถนา ไปจนถึงหมกมุ่นจนกู่ไม่กลับยามมีความรัก และยังช่วยให้เราจดจำโมเมนต์หวานๆ ที่มีร่วมกับอีกฝ่ายได้ แม้เวลาจะผ่านไปนานแค่ไหนก็ตามได้อีกด้วย

รู้จัก 7 ฮอร์โมนความรัก หลังเมื่อใด...มีความสุขเมื่อนั้น !!!

7 ฮอร์โมนความรัก ทำหน้าที่อะไรบ้าง ?

นี่คือ 7 ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับความรักของมนุษย์ ยามใดที่หลั่งออกมาก็มีความรักเมื่อนั้น

“ออกซิโตซิน (Oxytocin)” หรือที่รู้จักกันในชื่อ "ฮอร์โมนความรัก" เพราะจะจะหลั่งออกมายามที่เราได้สนทนา สัมผัส หรือทำกิจกรรมกับคนที่ประทับใจ ซึ่งรวมถึงการมีเพศสัมพันธ์กับคู่รักด้วย โดยสารตัวนี้จะทำหน้าที่ สร้างความสัมพันธ์ทางสังคม เพิ่มความไว้วางใจ และความรู้สึกน่าดึงดูดใจที่ลึกซึ้งได้ แต่ในทางกลับกันก็ทำให้เรานึกถึงความทรงจำที่เจ็บปวดได้เช่นกัน

“วาโซเพรสซิน (Vasopressin)” ทำหน้าที่กระตุ้นความตื่นที่เกี่ยวข้องกับการรักผู้อื่น ซึ่งมักถูกกระตุ้นโดยวิธีเดียวกับที่ปล่อยออกซิโตซิน แต่จากการศึกษาพบว่าฮอร์โมนตัวนี้หลั่งได้เช่นกันเมื่อเกิดภัยคุกคาม และทำให้เราอยากปกป้องคนที่ห่วงใยมากขึ้น แต่ก็เป็นดาบสองคมได้เช่นเดียวกัน เพราะอาจทำให้เกิดความรู้สึกครอบครองหรืออิจฉาริษยาได้

“โดปามีน (Dopamine)” สารแห่งความสุขที่จะหลั่งออกมาเหมือนเป็นรางวัลให้ เช่นรู้สึกดีเมื่อทำอะไรสักอย่าง เช่น กินของอร่อย ออกกำลัง ไปจนถึงการจูบและมีเพศสัมพันธ์กับคู่รัก นอกจากนี้ ยังช่วย เพิ่มความปรารถนาพร้อมกับแรงจูงใจที่จะอยู่กับคนรักของเรา ซึ่งรุนแรงพอๆ กับการใช้ยาเสพติดอย่างโคเคน

“เทสโทสเตอโรน (Testosterone)” และ “เอสโตรเจน (Estrogen)” หรือที่รู้จักในชื่อ "ฮอร์โมนเพศ" ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการทำให้คู่รักต้องการสืบพันธุ์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับความหลงใหลหรือราคะด้วย โดยฮอร์โมนทั้ง 2 ตัวนี้จะกระตุ้นให้อยากมีเพศสัมพันธ์ ส่วนโดปามีนจะทำให้เหมือนได้รับรางวัลจากการกระทำนั้น

“นอร์อะดรีนาลีน (Noradrenaline)” หรือ “นอร์เอพิเนฟริน” สร้างการตอบสนองทางสรีรวิทยาเมื่อพบคนใหม่หรือตกหลุมรักใหม่ๆ ซึ่งจะทำให้หัวใจที่เต้นแรงมีพลังงานที่เพิ่มขึ้น หรือมีเหงื่อออกที่ฝ่ามือ ซึ่งฮอร์โมนนี้ยังเกี่ยวข้องกับการเก็บความทรงจำด้วย จึงเป็นสาเหตุเหตุว่าทำไมคู่รักส่วนใหญ่ถึงสามารถจำความรู้สึกวันแรกของการออกเดตได้

“เซโรโทนิน (Serotonin)” เป็นหนึ่งในสารเคมีเพียงไม่กี่ชนิดที่แสดงให้เห็นว่ามีปริมาณลดลงในช่วงการดึงดูดความสนใจ ซึ่งระดับที่ต่ำลงคล้ายกับระดับของบุคคลที่เป็นโรค “ย้ำคิดย้ำทำ (OCD)” ซึ่งจากการศึกษาพบว่าคนที่มีความรัก กับผู้ป่วยโรค OCD มีความคล้ายกันตรงที่หมกมุ่นเหมือนกัน ซึ่งในกรณีของความรัก จะทำให้อารมณ์และการแสดงออกของเราผิดไปจากเดิม

จะเกิดอะไรขึ้นเมื่ออกหัก ?

จะเกิดอะไรขึ้นเมื่ออกหัก ?

แม้ว่าฮอร์โมนเหล่านั้นจะสร้างประโยชน์ให้กับสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเราได้ แต่เราก็สามารถสูญเสียฮอร์โมนเหล่านั้นได้เช่นกัน หากมีการเลิกรากับคนรักเกิดขึ้น และในทางกลับกันฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับความเครียดจะเพิ่มขึ้น เช่น “คอร์ติซอล (Cortisol)” และ “นอร์เอพิเนฟริน (Norepinephrine)”

แย่ไปกว่านั้น การเลิกรายังทำให้เราขาดฮอร์โมนที่คุ้นเคยอย่างกะทันหัน ซึ่งก่อให้เกิดความทรมานเหมือนกับผู้ที่พยายามเลิกยาเสพติดใหม่ๆ และอาการนั้นอาจลามไปถึงความรู้สึกไม่สบายทางร่างกายด้วย ซึ่งมักเรียกว่า การอกหักหรือความรักที่ไม่สมหวัง”

โดยการอกหัก อาจทำให้ความอยากอาหารลดลง น้ำหนักเปลี่ยนแปลง นอนไม่หลับ วิตกกังวล และซึมเศร้าได้ ซึ่งความรู้เหล่านั้นจะรุนแรงขึ้นไปอีก หากคู่ของตัวเองจากไปด้วยการเสียชีวิต

จะทำอย่างไรเมื่อต้องการเติมฮอร์โมนความรัก

หากคุณเริ่มรู้สึกว่าชีวิตเหี่ยวเฉา คุณอาจต้องมุ่งเน้นไปที่การใช้เวลาอยู่กับคู่รักของคุณเพื่อสร้างโมเมนต์ที่ดีร่วมกันให้มากขึ้น และเพื่อกระตุ้นการปล่อยสารเคมีเหล่านั้นออกมาไม่ให้ขาด

แต่ถ้าหากคุณไม่ได้อยู่ ในความสัมพันธ์โรแมนติก คุณอาจมองหาความสุขจากการอยู่กับสมาชิกในครอบครัว เพื่อนสนิท หรือสัตว์เลี้ยงแทนก็ได้ เพราะสารแห่งความรักย่อมหลังออกมาจากการทำกิจกรรมเหล่านั้นได้เช่นกัน

ที่มา : National Geographic

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

 

related