svasdssvasds

กรมประมงเตรียมปิดอ่าวไทยตอนกลาง ปี 67 ให้ปลาทูสาวได้วางไข่ เริ่ม 15 ก.พ. นี้

กรมประมงเตรียมปิดอ่าวไทยตอนกลาง ปี 67 ให้ปลาทูสาวได้วางไข่ เริ่ม 15 ก.พ. นี้

กรมประมงประกาศปิดอ่าวไทยตอนกลางรูปตัว ก ครอบคลุม 3 จังหวัด เริ่ม 15 ก.พ. - 14 มิ.ย. 2567 นี้ เพื่อให้ปลาทูได้วางไข่ และฟื้นฟูสัตว์น้ำวัยเยาว์ เช็กเครื่องมือประมงที่อนุญาต ที่นี่

กรมประมงประกาศมาตรการปิดอ่าวไทย ภาค ก โดยครอบคลุมเขตพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี เพื่อปกป้องสัตว์น้ำเศรษฐกิจโดยเฉพาะปลาทู ที่พร้อมสืบพันธุ์ ให้สามารถวางไข่และแพร่ขยายพันธุ์ต่อไปได้

อีกทั้งยังเป็นการคุ้มครองลูกสัตว์น้ำวัยอ่อนให้สามารถเจริญเติบโตเพื่อทดแทนสัตว์น้ำที่ถูกจับไป อันจะเป็นการสานต่อวงจรชีวิตสัตว์น้ำให้มีความอุดมสมบูรณ์ สามารถฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำได้อย่างยั่งยืน

แผนที่อ่าวไทยรูปตัว ก

ต้องบอกว่าการปิดอ่าวไทยถือเป็นวิธีการหนึ่งในการช่วยเพิ่มประชากรสัตว์น้ำ จากสถิติย้อนหลังของกรมประมง ระบุว่า การปิดจราจรอ่าวไทยไม่ให้มีเรือเข้าไปรบกวนช่วงฤดูวางไข่ของปลาทู ทำให้ภายหลังสามารถจับปลาทูได้เยอะขึ้น คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจหลายร้อยล้านบาท

เทียบสถิติย้อนหลังปริมาณปลาทูที่จับได้ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา

  • ปี 2565 จับปลาทูได้ 35,708 ตัน มูลค่า 2,657 ล้านบาท
  • ปี 2566 จับปลาทูได้ 41,310 ตัน มูลค่า 3,316 ล้านบาท

จะเห็นว่าปริมาณปลาทูที่จับได้เพิ่มขึ้น 16% คิดเป็นมูลค่ากว่า 659 ล้านบาท

ปิดอ่าวไทยช่วงฤดูวางไข่ ทำให้จับปลาทูได้เพิ่มขึ้น Credit ภาพ Reuters

เริ่มปิดอ่าวไทยเมื่อไร?

  • ช่วงที่ 1

ระยะเวลา: ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 15 พฤษภาคม 2567 (90 วัน)

บริเวณ: ปลายแหลมเขาม่องไล่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ถึง อ.ดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี เป็น

ครอบคลุมพื้นที่: 26,400 ตารากิโลเมตร

จุดประสงค์: เพื่อคุ้มครองพ่อแม่พันธุ์ปลาทูได้วางไข่

  • ช่วงที่ 2

ระยะเวลา: ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม - 14 มิถุนายน 2567 (30 วัน)

บริเวณ: อาณาเขตตามแผนที่แนบท้ายของประกาศปิดอ่าวไทยตอนกลางและเขตต่อเนื่องตั้งแต่ปลายแหลมเขาม่องไล่ ถึง อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์

ครอบคลุมพื้นที่: 8,100 ตารางกิโลเมตร

จุดประสงค์: เพื่อให้ลูกปลาทูได้มีโอกาสเจริญเติบโตเดินทางเข้าสู่พื้นที่อ่าวไทยรูปตัว ก เพื่อให้ปลาทูสาวได้เจริญเติบโตเป็นพ่อแม่พันธุ์ต่อไป

ปิดอ่าวไทยช่วงที่ 2 15 กุมภาพันธ์ - 15 พฤษภาคม 2567 (90 วัน)

ปิดอ่าวไทยช่วงที่ 2 16 พฤษภาคม - 14 มิถุนายน 2567 (30 วัน)

เครื่องมือประมงที่ใช้ได้มีอะไรบ้าง?

  1.  เครื่องมืออวนลากแผ่นตะเฆ่ อวนลากคานถ่าง ต้องมีความยาวไม่เกิน 16 เมตร โดยให้ทำการประมงในเวลากลางคืน และทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่งเท่านั้น
  2. เครื่องมืออวนติดตาปลา ที่ใช้ประกอบเรือกลที่มีขนาดต่ำกว่า 10 ตันกรอส มีช่องตาอวนตั้งแต่สองนิ้วขึ้นไป โดยการทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่ง ความยาวอวนที่ใช้จะต้องไม่เกิน 2,500 เมตร ต่อเรือประมง 1 ลำ
  3.  เครื่องมืออวนปู อวนลอยกุ้ง
  4. เครื่องมืออวนครอบ อวนช้อน หรืออวนยกหมึก ที่ใช้ประกอบกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เครื่องปั่นไฟ) ต้องทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่ง
  5. ลอบปู ต้องทำการประมงตามเงื่อนไขที่กำหนด
  6. ลอบหมึกทุกชนิด
  7. ซั้งทุกชนิดที่ใช้ประกอบทำการประมงพื้นบ้าน สามารถทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่ง
  8. คราดหอย ต้องทำการประมงตามเงื่อนไขที่กำหนด
  9. อวนรุนเคย ต้องทำการประมงตามเงื่อนไขที่กำหนดโดยประกาศกระทรวงฯ
  10. จั่น ยอ แร้ว สวิง แห เบ็ด สับปะนก ขอ ลอบ ฉมวก และเครื่องมืออื่นใดที่ไม่ใช้ประกอบเรือกลขณะทำการประมง
  11. เรือประมงที่มีขนาดต่ำกว่า 10 ตันกรอส ที่ใช้เครื่องยนต์มีกำลังแรงม้าไม่ถึง 280 แรงม้า ประกอบเครื่องมือทำการประมงที่มิใช่เครื่องมือประมง ซึ่งได้แก่
  • อวนลากคู่ อวนล้อมจับ (มีสายมาน) อวนล้อมจับปลากะตัก คราดทุกชนิดประกอบเรือกล และเรือประกอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เรือปั่นไฟ)
  • เครื่องมืออวนครอบ อวนช้อน หรืออวนยกปลากะตักที่ใช้ประกอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เครื่องปั่นไฟ)
  • เครื่องมือต้องห้ามทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่ง ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดเครื่องมือทำการประมง วิธีการทำการประมง และพื้นที่ทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำเขตทะเลชายฝั่ง พ.ศ. 2560 ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related