ทำไมครูไทยต้องเจอกับปัญหาหนี้สินจำนวนมาก! คำถามนี้ เหมือนจะวนเวียนอยู่ในสังคมมาเป็นเวลาหลายปี เพราะหากไม่โกหกตัวเองจนเกินไป ครูไทยจำนวนมาก เดินมา 5 คน เป็นหนี้ไปแล้ว 4 คน และนี่คือสถิติที่ไม่โกหกใคร
หนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา ถือเป็นปัญหาที่ฝังรากลึกและสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งไม่ว่าจะวันครู 16 มกราคม ของทุกปี หรือวันไหนๆ ก็ตาม ครูไทยก็ต้องพุุ่งชนชะตากรรมแบกรักหนี้สินที่ตัวเองก่อขึ้น และอาชีพแม่พิมพ์ พ่อพิมพ์เหล่านี้ถือเป็นกลุ่มอาชีพที่มีปัญหาหนี้สินจำนวนมาก
ในช่วงปลายปี 2565 มีการเปิดเผยตัวเลขอันน่าตกใจว่า ครูไทย กว่า 80% มีหนี้สิน รวมภาระหนี้ 1.4 ล้านล้านบาท
โดยเมื่อต้นเดือน ธ.ค.2565 ‘เครือข่ายภาคประชาสังคมเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา’ ออกมารณรงค์ให้ครูทั่วประเทศที่ถูก ‘หักเงินเดือนหน้าซอง’ จนเหลือเงินใช้ไม่ถึง 30% ต่อเดือนออกมาโชว์ ‘สลิปเงินเดือน’ ของตนเองผ่านโลกออนไลน์ เพื่อสะท้อนให้รัฐบาลในยุคนั้น (ยุคพลเอกประยุทธ์) และผู้เกี่ยวข้องรับรู้ถึงปัญหาดังกล่าว
พร้อมทั้งเรียกร้องให้กระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะ “นายจ้าง”ของครูทั่วประเทศ สั่งการให้มีการบังคับใช้ระเบียบว่าด้วยการหักเงินเดือนเพื่อการชำระหนี้สวัสดิการและสหกรณ์ปี 2551 อย่างเคร่งครัดสะท้อนสภาพความรุนแรงของปัญหาหนี้สินครูที่ยังมีอยู่ในปัจจุบัน
ขณะที่ด้าน กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้กำหนดให้มีสถานีแก้หนี้ครู 558 สถานี ในระดับจังหวัด ตลอดจนเขตพื้นที่การศึกษา และหน่วยงานทางการศึกษาที่เป็นหน่วยหักเงิน ณ ที่จ่ายระดับจังหวัด ในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู และเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและปรับโครงสร้างหนี้ทั้งระบบให้เกิดประสิทธิผลอย่างเป็นรูปธรรม
ขณะเดียวกัน จากการสำรวจ ดัชนี “ความเชื่อมั่นครูไทย” ของ สวนดุสิตโพล ก็พบแนวโน้มว่า สังคม มองว่า "เรื่องปัญหาหนี้สินครูไทย" เป็นจุดด้อยของคุณครูในประเทศทั้งหลาย โดยตัวเลขจากดัชนี “ความเชื่อมั่นครูไทย” ในช่วง 5 ปีหลังสุด พบว่า มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ
ปี 2562 : 18.52 %
ปี 2563 18.63 %
ปี 2564 : 55.04 %
ปี 2565 : 44.43 %
ปี 2566 : 66.56 %
และ รู้หรือไม่ จำนวนครูประมาณ 900,000 คนทั่วประเทศ มี 80% หรือประมาณ 700,000 คนมีหนี้สินรวมกัน 1.4 ล้านล้านบาท เจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุดคือ สหกรณ์ออมทรัพย์ครู 8.9 แสนล้านบาท คิดเป็น 64% ของยอดหนี้รวมทั้งหมด
ต้องถือว่า ครูมีภาระงานอื่นนอกเหนือจากการพัฒนาการเรียนการสอนและการพัฒนาตนเองมากเกินไป กอปรกับการมีงบประมาณสนับสนุนที่ไม่เพียงพอ จนทําให้ครูเกิดภาวะเครียดจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจ จึงส่งผลกระทบต่อคุณภาพการศึกษาไทยอย่างมีนัยสําคัญ เพราะ “ครู” เป็นหัวใจของระบบการศึกษา
ที่มา springnews dusitpoll.dusit.ac.th thansettakij dusitpoll
ข่าวที่เกี่ยวข้อง