ลด-เลิกภาษีไวน์-สุรา โดยจะลดภาษีสุราพื้นบ้าน เหลือ 0% เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน นับเป็นการจุดพลุซอฟต์พาวเวอร์ ดอกแรก...เรื่องนี้ จะเวิร์กหรือไม่ ? ได้คุ้มเสียหรือไม่
เปิดปีใหม่ 2567 รัฐบาลเศรษฐา ก็อยากให้ผู้คนเป็นเศรษฐี หรือขยับเข้าใกล้ความเป็นเศรษฐีอีกสักเล็กน้อย , โดยเฉพาะชุมชนพื้นบ้าน โดย คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติ ลดภาษีสุราพื้นบ้าน-ไวน์ หั่นภาษีสรรพสามิต ธุรกิจสถานบริการ- สถานบันเทิง ผลักดันไทย เป็น ‘ฮับท่องเที่ยว’ เพราะอยากเห็นคนไทยมีรายได้มากขึ้น ....เรื่องนี้ ชวนคิด จะดีไหม หรือ จะเวิร์กไหม ?
เปิดปีใหม่ 2567 มาไม่กี่อึดใจ ,ตอนนี้ มีมาตรการ ฉีดยาชูกำลังทรัพย์ ให้กับเศรษฐกิจชุมชน โดยทางกระทรวงการคลัง เสนอชุดมาตรการ จำนวน 2 มาตรการ ส่งเสริมประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวและการใช้จ่าย , ซึ่งประเด็นหัวใจที่เราจะหยิบยกมาพูดถึง ก็คือ เรื่องการ ลดภาษีสุราพื้นบ้าน เหลือ 0% ในบางประเภทฯ
โดย ทางรัฐบาลเพื่อไทย ในยุคของเศรษฐา ทวีสิน เป็นผู้นำนั้น มีแนวทางดังนี้
1. การปรับปรุงโครงสร้างภาษีสรรพพสามิตเครื่องดื่มสินค้าสุราบางประเภท และการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตเป็นการชั่วคราวสำหรับกิจการบันเทิงหรือหย่อนใจ และการยกเว้นอากรขาเข้าสินค้าไวน์ เพื่อจูงใจด้านราคาให้นักท่องเที่ยวใช้จ่ายซื้อสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม และท่องเที่ยวหย่อยใจภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น
1.1 การปรับปรุงโครงสร้างภาษีสรรพพสามิต สินค้าสุรา
วิธีการดำเนินการ – กระทรวงการคลัง (กรมสรรพสามิต) ได้ยกร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่…) พ.ศ. … เพื่อปรับปรุงโครงสร้างภาษีสรรพสามิต ตอนที่ 13 สินค้าสุรา และปรับปรุงโครงสร้างภาษีสรรพสามิต ตอนที่ 17 กิจการบันเทิงหรือหย่อนใจ
.
โดยมีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้
(1) สุราแช่ชนิดไวน์และสปาร์กลิ้งไวน์ที่ทำจากองุ่น (Wine) ยกเลิกการจัดเก็บภาษีจากการแบ่งชั้นของราคา (Price Tier) และกำหนดให้มีการจัดเก็บเป็นอัตราเดียว (Unitary Rate) โดยปรับอัตราภาษีให้มีอัตราภาษีตามมูลค่าที่ร้อยละ 5 และอัตราภาษีตามปริมาณที่ 1,000 บาท ต่อปริมาณหนึ่งลิตรแห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์
(2) สุราแช่ผลไม้ที่มีส่วนผสมขององุ่นหรือไวน์องุ่น (Fruit Wine) ยกเลิกการจัดเก็บภาษีจากการแบ่งชั้นของราคา (Price Tier) และกำหนดให้มีการจัดเก็บเป็นอัตราเดียว (Unitary Rate) โดยปรับอัตราภาษีให้มีอัตราภาษีตามมูลค่าที่ร้อยละ 0 และอัตราภาษีตามปริมาณที่ 900 บาท ต่อปริมาณหนึ่งลิตรแห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์
(3) สุราแช่ชนิดอื่นๆ จากเดิมจัดเก็บภาษีอัตราตามมูลค่าร้อยละ 10 และอัตราตามปริมาณ 150 บาท ต่อปริมาณหนึ่งลิตรแห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ ให้กำหนดอัตราภาษีโดยจำแนกพิกัดอัตราภาษีประเภทย่อย ดังนี้
3.1 กระแช่ สาโท สุราแช่พื้นบ้านอื่น และสุราแช่ที่ใช้วัตถุดิบเป็นข้าวที่มีแรงแอลกอฮอล์ไม่เกิน 7 ดีกรี โดยกำหนดอัตราภาษีตามมูลค่าร้อยละ 0 และอัตราตามปริมาณ 150 บาท ต่อปริมาณหนึ่งลิตรแห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์
3.2 สุราแช่ ที่มีการผสมสุรากลั่นและมีแรงแอลกอฮอล์เกินกว่า 7 ดีกรี โดยกำหนดอัตราภาษีตามมูลค่าร้อยละ 10 และอัตราภาษีตามปริมาณ 255 บาท ต่อปริมาณหนึ่งลิตรแห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์
– สุราแช่อื่นๆ นอกจาก 3.1 และ 3.2 โดยกำหนดอัตราภาษีตามมูลค่าร้อยละ 10 และอัตราภาษีตามปริมาณ 150 บาท ต่อปริมาณหนึ่งลิตรแห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์
(4) สุราแช่ที่มิใช่เพื่อการค้า ได้มีการปรับโครงสร้างและอัตราภาษีให้สอดคล้องกับการปรับโครงสร้างภาษีและอัตราภาษีในครั้งนี้ โดยกำหนดอัตราภาษีตามมูลค่าร้อยละ 0 และอัตราภาษีตามปริมาณเท่ากับอัตราภาษีของสินค้าสุราแช่
ระยะเวลาดำเนินการ – ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
สุราแช่อื่นๆ อัตราภาษีเดิม ตามมูลค่า (%) 10% อัตราภาษีเดิม ตามปริมาณ(บาท/ลิตร/100 ดีกรีแอลกอฮอล์) 150
สุราแช่อื่นๆ อัตราภาษีใหม่ ตามมูลค่า (%) 10% อัตราภาษีใหม่ ตามปริมาณ(บาท/ลิตร/100 ดีกรีแอลกอฮอล์) 150
สุราแช่พื้นบ้าน อาทิ อุ กระแช่ สาโท(แอลกอฮอล์ไม่เกิน 7 ดีกรี) อัตราภาษีเดิม ตามมูลค่า (%) 10% - อัตราภาษีเดิม ตามปริมาณ(บาท/ลิตร/100 ดีกรีแอลกอฮอล์) 150
สุราแช่พื้นบ้าน อาทิ อุ กระแช่ สาโท(แอลกอฮอล์ไม่เกิน 7 ดีกรี) อัตราภาษีใหม่ ตามมูลค่า (%) 0% - อัตราภาษีใหม่ ตามปริมาณ(บาท/ลิตร/100 ดีกรีแอลกอฮอล์) 150
สุราแช่ที่มีสุรากลั่นผสม (แอลกอฮอล์เกิน 7 ดีกรี) อัตราภาษีเดิม ตามมูลค่า (%) 10% - อัตราภาษีเดิม ตามปริมาณ(บาท/ลิตร/100 ดีกรีแอลกอฮอล์) 150
สุราแช่ที่มีสุรากลั่นผสม (แอลกอฮอล์เกิน 7 ดีกรี) อัตราภาษีใหม่ ตามมูลค่า (%) 10% - อัตราภาษีใหม่ ตามปริมาณ(บาท/ลิตร/100 ดีกรีแอลกอฮอล์) 255
ไวน์ และ สปาร์กกลิ้งไวน์ที่ทำจากองุ่น
• ราคาเกิน 1,000 บาท อัตราภาษีเดิม ตามมูลค่า (%) 10% - อัตราภาษีเดิม ตามปริมาณ(บาท/ลิตร/100 ดีกรีแอลกอฮอล์) 1,500
ราคาเกิน 1,000 บาท อัตราภาษีใหม่ ตามมูลค่า (%) 5% - อัตราภาษีใหม่ ตามปริมาณ(บาท/ลิตร/100 ดีกรีแอลกอฮอล์) 1,000
• ราคาไม่เกิน 1,000 บาท อัตราภาษีเดิม ตามมูลค่า (%) 0% - อัตราภาษีเดิม ตามปริมาณ(บาท/ลิตร/100 ดีกรีแอลกอฮอล์) 1,500
ราคาไม่เกิน 1,000 บาท อัตราภาษีใหม่ ตามมูลค่า (%) 5% - อัตราภาษีใหม่ ตามปริมาณ(บาท/ลิตร/100 ดีกรีแอลกอฮอล์) 1,000
ไวน์ผลไม้ หรือสุราแช่ผลไม้ที่มีส่วนผสมขององุ่น หรือไวน์องุ่น
• ราคาเกิน 1,000 บาท อัตราภาษีเดิม ตามมูลค่า (%) 10% อัตราภาษีเดิม ตามปริมาณ(บาท/ลิตร/100 ดีกรีแอลกอฮอล์) 900
ราคาเกิน 1,000 บาท อัตราภาษีใหม่ ตามมูลค่า (%) 0% - อัตราภาษีใหม่ ตามปริมาณ(บาท/ลิตร/100 ดีกรีแอลกอฮอล์) 900
• ราคาไม่เกิน 1,000 บาท อัตราภาษีเดิม ตามมูลค่า (%) 0% อัตราภาษีเดิม ตามปริมาณ(บาท/ลิตร/100 ดีกรีแอลกอฮอล์) 900
ราคาไม่เกิน 1,000 บาท อัตราภาษีใหม่ ตามมูลค่า (%) 0% - อัตราภาษีใหม่ ตามปริมาณ(บาท/ลิตร/100 ดีกรีแอลกอฮอล์) 900
ข้อสรุป : จะเห็นได้ว่ารัฐบาลพยายามจูงใจอัตราภาษีใหม่ ในประเภท สุราแช่พื้นบ้าน อาทิ อุ กระแช่ สาโท(แอลกอฮอล์ไม่เกิน 7 ดีกรี) โดยอัตราภาษีใหม่ คิดตามมูลค่านั้น เหลือ 0% เลยทีเดียว , นอกจากนี้ ที่เห็นชัดๆ ก็คือเครื่องดื่ม ในประเภท ไวน์ผลไม้ หรือสุราแช่ผลไม้ที่มีส่วนผสมขององุ่น หรือไวน์องุ่น ทั้งราคาเกิน-และไม่เกิน 1,000 บาท ก็เหลือภาษี 0 เปอร์เซ็นต์
อย่างไรก็ตาม ดร.นณริฏ พิศลยบุตร นักวิชาการอาวุโส สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ไม่ค่อยเห็นด้วย กับการลดภาษีสุราพื้นบ้าน 0 % เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ระบุว่า โดยปกติเเล้วสุราเป็นสินค้าที่ "bad" คือ เป็นสินค้าที่สงผลเสียต่อสุขภาพและสังคม นั่นหมายความว่า การจัดเก็บภาษีสรรพสามิต จึงเป็นไปเพื่อลดแรงจูงใจในการบริโภค และนำเอารายได้มาดูแลเรื่องปัญหาสังคมต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น การรณรงค์เมาไม่ขับ หรือ การเอามาใช้เป็นงบรักษาผู้ป่วยที่เป็นผลมาจากการบริโภคสุราเป็นเวลานาน
ทั้งนี้ ข้อมูลจาก องค์การอนามัยโลก หรือ WHO โดยระบุว่า ทุกปีทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากพิษของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ประมาณ 3 ล้านคน และเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมากกว่า 230 ชนิด ขณะที่ข้อมูลจากศูนย์วิจัยปัญหาสุรา ด้านพฤติกรรมการดื่มสุราของประชากรไทย ปี 2565 พบว่าแนวโน้มค่าใช้จ่ายในการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักดื่มปัจจุบันเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
ขณะเดียวกัน การสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2564 พบนักดื่มหน้าใหม่ของไทย ช่วงอายุ 15-19 ปี มากถึง 30.8% ช่วงอายุ 20-24 ปี 53.3% ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การดื่มเพิ่มมากขึ้นคือ การโฆษณาผ่านสื่อสังคมออนไลน์
.