svasdssvasds

8 ปัญหาทางการเงินที่ใหญ่ที่สุด ของคนรุ่นมิลเลนเนียล

8 ปัญหาทางการเงินที่ใหญ่ที่สุด ของคนรุ่นมิลเลนเนียล

หากจะพูดว่า นี่คือช่วงเวลาที่เลวร้ายที่สุดสำหรับการเป็น “ชาวมิลเลนเนียล” คงไม่เกินจริงนัก เพราะพวกเขาต้องพยายามสร้างความมั่นคงในยุคที่ทุกอย่างแพงไปหมด

แม้กลุ่มมิลเลนเนียลจะมีความได้เปรียบคนรุ่นก่อน ตรงที่เป็นคนไวต่อเทคโนโลยี และเข้าถึงโลกทั้งใบได้แค่ปลายนิ้ว รวมถึงไม่ต้องเผชิญกับภาวะอดอยากจากสงคราม เหมือนกับคนรุ่นก่อน แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ากลุ่มมิลเลนเนียล ต้องเผชิญกับการแข่งขันที่สูงลิ่ว และแบกรับความกดดันมหาศาล เพื่อที่จะไปให้ถึงเป้าหมายในชีวิต

ถ้าคุณเป็นชาวมิลเลนเนียล หรือเป็นเพื่อนกับพวกเขา จะสังเกตได้ว่า “เรื่องเงิน” คือหนึ่งในสาเหตุหลักทำให้ชาวมิลเลนเนียลอยู่ในภาวะเครียด เพราะคนรุ่นนี้ต้องต่อสู้กับความกลัวที่จะไม่มีเงินใช้อยู่ตลอดเวลา เนื่องจากวิกฤติเศรษฐกิจและปัญหาเงินเฟ้อทั่วโลกที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน ได้ทำให้ชีวิตของชาวมิลเลนเนียลเต็มไปด้วยความท้าทายยิ่งกว่าคนรุ่นก่อนหน้านี้มาก

"ต่อไปนี้คือ 8 ปัญหาทางการเงินสุดหิน ที่คนรุ่นมิลเลนเนียลต้องเผชิญ"

วิกฤติเศรษฐกิจและปัญหาเงินเฟ้อทั่วโลก

เพราะการแพร่ระบาดของ โควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจโลกได้รับผลกระทบ และถึงแม้ในจะมีวัคซีนที่ช่วยให้คนไม่ต้องสวมหน้ากากในพื้นที่สาธารณะ และเดินทางไปมาหาสู่กันได้สะดวกขึ้นแล้ว ทว่าธุรกิจหลายแห่งก็ต้องปิดตัวลงอยู่ดี ไม่ก็ต้องปรับโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่ เนื่องจากแรงงานเดินทางกลับประเทศ ทำให้หลายสิ่งหลายอย่างยังคงขาดแคลน นอกจากนี้วิกฤต รัสเซีย-ยูเครน ก็ทำให้ราคาพลังงานแพงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงตาม จึงเกิดภาวะเงินเฟ้อทั่วโลก เลยไม่น่าแปลกใจที่ ชาวมิลเลนเนียลจะเก็บเงินเอาไว้ไม่อยู่

ค่าเช่าที่อยู่แสนแพง

หากวางแผนจะเช่าหรือซื้อที่อยู่อาศัยดีๆ สักแห่งที่อยู่ใกล้แหล่งความเจริญ ก็เตรียมใช้เงินมหาศาลได้เลย เพราะเวลานี้ย่านที่มีงานมีอาชีพให้เลือกทำ ล้วนมีราคาอสังหาริมทรัพย์ที่แสนแพง และสำหรับชาวมิลเลนเนียล การเริ่มต้นชีวิตดีๆ ในบ้านอันแสนอบอุ่นสักหลังก็อาจไม่ใช่ความฝันลำดับแรกๆ อีกต่อไป

จริงอยู่ที่ว่าชาวมิลเลนเนียลสามารถหาเงินได้มากมายเมื่อเทียบกับคนรุ่นอื่น แต่เพราะมีภาระค่าใช้จ่ายเยอะ บวกกับคำว่า ‘ของมันต้องมี’ อยู่เรื่อยๆ ก็ทำให้คนรุ่นใหม่ยิ่งเก็บเงินได้ยากเข้าไปอีก นอกจากนี้หลายคนยังนิยมความโสด จึงยังไม่มีความจำเป็นที่จะขยับขยายออกจากที่อยู่เดิมเท่าไหร่

ทั้งนี้ ยังมีการศึกษาอีกว่า ชาวมิลเลนเนียลไม่ได้ซื้อบ้านเร็วเท่ากับรุ่นก่อนๆ โดยค่าเฉลี่ยในสหรัฐฯ พบว่า คนรุ่นใหม่จะซื้อบ้านเมื่ออายุ 34 ขึ้นไป เนื่องจากราคาบ้านแพงขึ้นทุกปี จึงต้องใช้เวลาเวลาเตรียมความพร้อมนานขึ้น และถ้าเงินยังไม่พอ พวกเขาจะขอเช่าอยู่ไปก่อน

กำลังโหลด 8 ปัญหาทางการเงินที่ใหญ่ที่สุด ของคนรุ่นมิลเลนเนียล

เพิ่งเรียนจบ ก็มีหนี้

อีกปัญหาหนึ่งที่เป็นเงาตามตัวคือ คนรุ่นมิลเลนเนียลจำนวนมาก ต้องกู้เพื่อเรียนให้จบมหาลัย ทำให้เป็นภาระที่ผูกติดตัวคนหนุ่มสาวระยะยาว และยังทำให้หลายคนถึงกับเสียใจที่เลือกเข้าเรียนมหาลัย เนื่องจากหนี้การศึกษาสูงเกินกว่าจะชดใช้ได้หมดภายในระยะเวลาอันสั้น

สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ปล่อยกู้ไปแล้วกว่า 7 แสนล้านบาท มีผู้กู้ 7 ล้านคน แต่มีผู้ปิดบัญชีไปแล้วเพียง 2 ล้านคน อยู่ระหว่างการศึกษาอีก 1.3 ล้านคน นอกจากนี้ยังมีอีก 3.5 ล้านคนอยู่ในช่วงผ่อนชำระ และถึงแม้ กยศ. จะปรับวิธีคำนวณหนี้แบบใหม่ ที่ทำให้ภาระหนี้ลดลงอย่างชัดเจน แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าที่ผ่านมา การศึกษามีราคาแพง และทำให้คนมากมายเป็นหนี้ทั้งขณะเรียน และหลังเรียนจบอย่างเลี่ยงไม่ได้

ส่วนบางคนไม่มีหนี้ กยศ. แต่เรียนจบมาต้องมาชำระหนี้ก้อนโตให้ครอบครัวก็มีไม่น้อย ทำให้ในเวลานี้ คนหนุ่มสาวสร้างฐานะได้ยากกว่าเดิมมาก

ใช้เงินเดือนชนเดือน

ปัญหานี่เป็นของชาว มิลเลนเนียล ทุกคน เพราะคนหนุ่มสาว ย่อมใช้ชีวิตให้เต็มที่ ซึ่งย่อมหมายถึงการใช้รายได้ทั้งหมดที่มีไปไลฟ์สไตล์ที่ชอบด้วยเหตุนี้คนรุ่นใหม่จึงมักไม่ได้เตรียมสิ่งใดไว้สำหรับอนาคต สถานการณ์ที่ไม่คาดฝัน หรือภาระผูกพันที่ต้องใช้เงินอื่นๆ

อย่างไรก็ตาม การใช้เงินชนเดือนอาจไม่ได้เป็นปัญหาเลย แต่เมื่อมีเรื่องไม่คาดคิดเกิดขึ้น โดยเฉพาะเหตุการณ์ที่ต้องจ่ายเงินก้อนใหญ่ เมื่อนั้นชีวิตก็อาจถึงคราววิกฤตอย่างแท้จริงก็ได้ ดังนั้นควรออมรายได้ส่วนหนึ่งอาไว้ใช้ยามฉุกเฉินบ้าง

ไม่ทำประกันไว้แต่เนิ่นๆ

เพราะชาวชาวมิลเลนเนียลเอาแต่หมกมุ่นอยู่กับการใช้จ่ายมากเกินไป ไม่ว่าจะเป็นปิ้งสินค้าฟุ่มเฟือย รับประทานอาหารเย็นสุดหรู และออกไปเที่ยวนอกบ้าน ทำให้การแบ่งเงินมาซื้อสิ่งที่ไม่รู้จะได้ใช้เมื่อไหร่อย่าง ‘ประกัน’ จึงดูไม่ค่อยจำเป็นเท่าใดนัก

อย่างไรก็ตาม ประกันภัยถือเป็นทรัพย์สินที่ฉลาดที่สุดประการหนึ่งในชีวิต ตัวอย่างเช่น การยอมเสียเงินไม่มากทุกเดือนเพื่อทำประกันภัยรถยนต์ไว้ สามารถช่วยให้ไม่ต้องเสียเงินก้อนโตเมื่อเกิดอุบัติเหตุ แต่ถ้าไม่ได้ทำก็อาจต้องเอาครึ่งหนึ่งของเงินออมมาใช้เพียงเพื่อซ่อมรถแค่คันเดียวเท่านั้น

ดังนั้นการทำประกันไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ ย่อมดีกว่าเกิดเหตุไม่คาดฝัน แล้วไม่ได้มีแผนรองรับ

 

ขาดความรู้ทางการเงิน

หนึ่งในปัญหาทางที่ใหญ่ที่และนำมาสู่ปัญหาอื่นๆ มากมาย คือการขาดความรู้ทางการเงิน หรือกล่าวอีกนัยคือคนรุ่นใหม่คิดว่าควบคุมเงินในกระเป๋าของตัวเองได้ แต่ความจริงกลับไม่ได้เป็นอย่างนั้น

แม้ชาวมิลเลนเนียล จะสนใจเรื่องการลงทุน หรือการซื้อประกันอยู่บ้าง แต่พวกเขาก็ยังขาดความรู้เรื่องการกระจายความเสี่ยงในการลงทุน และความเข้าใจในมูลค่าของเงินตามกาลเวลา ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการเงิน

ทว่าสิ่งที่น่าเสียดายคือ ชาวมิลเลนเนียลมองว่าการวางแผนทางการเงินอย่างรัดกุม ยังไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน เมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายในเรื่องไลฟ์สไตล์ อื่นๆ ที่ก็มากมายจนบริหารไม่ไหวอยู่แล้ว

ต้องดูแลพ่อแม่ที่แก่เฒ่า

เมื่อประเทศใดประเทศหนึ่งก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย ย่อมหมายถึงมีคนชราต้องดูแล ซึ่งประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) มาตั้งแต่ปี 2005 แล้ว โดยที่น่าเป็นห่วงคือคนไทยมักแก่ก่อนรวย ทำให้ภาระการดูแลผู้สูงอายุตกมาอยู่กับชาวชาวมิลเลนเนียลที่เป็นวัยทำงานหาเงิน

นอกจากนี้ เทคโนโลยีทางการแพทย์ก็ทำให้คนอายุยืนยาวขึ้นกว่าแต่ก่อน โดยคนไทยส่วนใหญ่อาจมีอายุมากถึง 80 ปี ตามเทรนโลก ซึ่งยิ่งตอกย้ำว่า ชาวมิลเลนเนียลต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้กับผู้สูงอายุที่บ้านมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งอาจทำให้การสร้างชีวิตของพวกเขา ยากยิ่งขึ้นไปอีก

ชีวิตหลังเกษียณยังต้องใช้เงินมาก

ชีวิตหลังเกษียณของชาวมิลเลนเนียล ไม่ได้อยู่ง่ายเหมือนคนรุ่นก่อนๆ อีกต่อไป เพราะค่าครองชีพสูงขึ้น ยิ่งทำให้ค่าใช้จ่ายหลังเกษียณน่ากลัวขึ้นด้วย

หลายคนอาจคิดว่าการวางแผนเกษียณอายุเป็นเรื่องของคนแก่ และค่อยไปเริ่มตอนอายุ 50- 60 ก็ยังไม่สาย แต่ความคิดนี้จะทำให้ชีวิตในบั้นปลายเกิด วิกฤตทางการเงินทางการเงินแน่นอน

อย่างไรก็ตามไม่มีคำว่า “เร็วเกินไป” ที่จะเริ่มวางแผนเกษียณตั้งแต่ตอนนี้ และยิ่งเริ่มเร็วเท่าไหร่ การยังรักษาไลฟ์สไตล์ชีวิตแบบเดิมหลังเกษียณก็ยิ่งทำได้ง่ายขึ้นเท่านั้น

เพราะต้องไม่ลืมว่านอกจากค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันที่ปกติก็แพงขึ้นทุกปีอยู่แล้ว เรายังต้องมีเงินไว้ใช้กินกับใช้เที่ยวเพื่อแก้เบื่อด้วย ดังนั้นให้ลืมคำว่าเกษียณแล้วจะใช้เงินน้อยก็ได้ไปเลย เพราะสมัยนี้ต้องมีเงินออมมากกว่าแต่ก่อนถึงจะการันตีถึงชีวิตหลังเกษียณที่มีคุณภาพได้

ชาวมิลเลนเนียล

ชาวมิลเลนเนียลจะทำอย่างไร ?

สิ่งที่ชาวมิลเลนเนียลพอจะทำได้คือ ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น เช่นค่านิยม “ของมันต้องมี” เพราะถ้าเราลดได้ ย่อมหมายถึงมีเงินเหลือมากขึ้น ซึ่งจะฉลาดกว่าถ้าเอาเงินตรงนั้นไปซื้อสิ่งที่สำคัญ หรือสิ่งที่เพิ่มศักยภาพให้ชีวิตได้อย่างแท้จริง ส่วนอีกเรื่องที่ไม่พูดถึงไม่ได้คือ การมีความรู้ด้านการเงิน รู้จักการลงทุนระยะสั้น ระยะยาวเพื่อให้เงินงอกเงยในอนาคต ซึ่งอาจต้องมีการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการเงินก่อน ถึงค่อยตัดสินใจลงทุน

ท้ายที่สุด ต่อให้ทุกอย่างจะดูยากไปหมดในสมัยนี้ แต่ถ้าชาวมิลเลนเนียลมีทัศนคติที่ดี และมีความมุ่งมั่นที่ไม่สั่นคลอน ก็ย่อมผ่านพ้นทุกวิกฤตในชีวิตไปได้อย่างแน่นอน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

related