svasdssvasds

เปิดสถิติขอทานทั่วประเทศจาก กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ สะท้อนความจริงแค่ไหน

เปิดสถิติขอทานทั่วประเทศจาก กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ สะท้อนความจริงแค่ไหน

เปิดสถิติตัวเลข ขอทานทั่วประเทศจาก กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สะท้อนความจริงแค่ไหน ? รายได้แต่ละวันอาจจะทะลุหลัก 10,000 บาท

ในห้วงเวลาที่ผ่านมา ประเด็นขอทานจีน หรือ ขอทานข้ามชาติ เป็นสิ่งที่ถูกหยิบยกมาพูดถึงในวงกว้าง , และปัญหา ขอทาน ดูมี แนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปีและเป็นปัจจัยสําคัญส่งผลทางลบต่อภาพลักษณ์ของประเทศ รวมถึงปัจจุบันมี กระบวนการค้ามนุษย์โดยมีการลักพาตัวหรือล่อลวงเด็กมาเพื่อเป็นเครื่องมือในการขอทาน ซึ่งเป็นปัญหา สังคมที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันแก้ไขปัญหา เพื่อให้เด็กอยู่ในสังคมได้อย่างปลอดภัย และมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

หากจะลองลงลึก เจาะถึงสาเหตุของการเป็นขอทานเกิดจาก 2 สาเหตุคือ

 1. เป็นผู้ยากไร้ไม่มีที่อยู่อาศัย ไร้ญาติและไม่สามารถประกอบอาชีพอื่นได้จึงต้องหาเลี้ยงชีพด้วยการขอทาน
 2. กระบวนการค้ามนุษย์ทําเป็นธุรกิจ เพื่อนําเงินที่ได้มาให้ผู้บงการโดยมีกระบวนการลักพาตัว  ล่อลวงคนมาเป็นขอทานมีการทําร้ายร่างกาย บางเคสอาจรุนแรงถึงขั้นตัดอวัยวะเพื่อให้เป็นที่น่าเวทนาสงสารในสายตาของผู้คนที่พบเห็น 

• เปิดสถิติขอทานทั่วประเทศ สะท้อนความจริงมากน้อยแค่ไหน 

และเชื่อหรือไม่ว่า ตัวเลขสถิติ จำนวนขอทาน ทั่วประเทศ นั้น ไม่ได้สะท้อนภาพความเป็นจริงสักเท่าไรเลย เพราะเราแทบจะเห็น คนที่เป็นขอทาน อยู่ตาม สะพานลอย ในย่านธุรกิจ ในย่านที่คนพลุกพล่าน, โดยจากข้อมูลที่อ้างอิงได้ จากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  โดย นางจตุพร โรจนพานิช อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (พส.) กล่าวว่า จากสถิติสถานการณ์การขอทานทั่วประเทศในระบบฐานข้อมูล ตั้งแต่ 1 ต.ค. 2557 ถึง 31 ต.ค.2566 พบผู้กระทำการขอทาน 7,151 คน และพบว่าในช่วงโควิด-19 ปิดประเทศ ทำให้จำนวนขอทานต่างด้าวเข้าไทยลดน้อยลงแต่สัดส่วน ขอทานคนไทยเพิ่มมากขึ้น


สถิติ ขอทานต่างด้าว มีจำนวน 683 คน

ปี 2561 จำนวน 190 คน
ปี 2562 จำนวน 172 คน
ปี 2563 จำนวน 115 คน
ปี 2564 จำนวน 86 คน
ปี 2565 จำนวน 69 คน
ปี 2566 จำนวน 136 คน 
1 ต.ค.2566 (ปีงบประมาณ 2567) 6 คน เป็นคนจีนทั้งหมด

สถิติ ขอทานไทย มีจำนวน 1,794 คน


ปี 2561 จำนวน 341 คน
ปี 2562 จำนวน 261 คน
ปี 2563 จำนวน 227 คน
ปี 2564 จำนวน 220 คน
ปี 2565 จำนวน 333 คน
ปี 2566 จำนวน 400 คน
1 ต.ค.2566 (ปีงบประมาณ 2567) พบ 12 คน

เปิดสถิติขอทานทั่วประเทศจาก กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ สะท้อนความจริงแค่ไหน

ขณะที่ กระทรวง พม. พบว่ารวมๆแล้ว ในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา ตรวจพบขอทาน 7,158 คน เป็นคนไทย 4,685 คน และคนต่างด้าว 2,473 คน โดยประเทศที่เข้ามาทำขอทานมากที่สุด คือ กัมพูชา เมียนมา ส่วนขอทานจีนพบว่าในปี 61-63 มีจำนวน 68 ราย

โดย ข้อมูลจาก อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (พส.) ระบุว่า ขอทานนั้น รายได้สูง 10,000 บาทต่อวัน  โดย ขอทานต่างด้าวที่พบส่วนใหญ่ใน ขณะนี้เป็นกลุ่มวัยแรงงานไม่ใช่คนแก่สูงอายุ เหมือนเช่นในอดีต และจากข้อมูลพบว่าทั้งหมด ถือวีซ่านักท่องเที่ยว ซึ่งทางพม.ต้องทำงานร่วมกับตำรวจตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) และตร.ท้องที่ในการปราบปรามจับกุม  ส่วนใหญ่ขอทานเหล่านี้มักอาศัยอยู่ในย่านนักท่องเที่ยว ชุมชน เช่น ศาลาแดง ย่านสะพาน พระปิ่นเกล้ามีรายได้ต่อวันมากถึง 10,000 บาท หรือในความเป็นจริงมีโอกาสที่จะได้มากกว่านั้น  

สำหรับตัวเลขรายได้จากการขอทานขึ้นอยู่กับสถานที่ เช่น ย่านเศรษฐกิจสำคัญของกรุงเทพฯ จะมีรายได้เฉลี่ยวันละ1,000-2,000 บาท ในขณะที่บางรายมีรายได้วันละ 6,000-7,000 บาทต่อวันเป็นอย่างน้อย 

อย่างไรก็ตาม นี่อาจจะเป็นตัวเลขที่ต่ำกว่าความเป็นจริง และความจริงอีกข้อที่ปฎิเสธไม่ได้ว่า “ขอทาน” ไทยและต่างชาติที่เข้ามาหากินในไทยนั้น...โดยอาศัยช่องทางของคนไทยใจดีและมีเมตตา ได้ส่งผลให้ธุรกิจขอทานเฟื่องฟูจนทำให้ขบวนการค้ามนุษย์เติบโตขึ้นจนยากจะปราบปราม 

วราวุธ รมว. พม. บอก รายได้ขอทานมากกว่าเงินเดือนคนจบปริญญาตรีเสียอีก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related