กองทัพอิสราเอลเคยเอาชนะกองทัพอียิปต์ ซีเรีย จอร์แดน อิรัก คูเวต และซาอุดีอาระเบียได้อย่างเบ็ดเสร็จ ใน “สงครามหกวัน แต่สงครามกับกลุ่มฮามาสครั้งนี้ซับซ้อนกว่ามาก
สมรภูมินี้อิสราเอลไม่ได้ต่อสู้อยู่ในแนวรบเดียว แต่ต้องต่อสู้กับแนวรบอื่นอีกมากมายที่ไม่สามารถใช้กำลังทางทหารเอาชนะได้
สำนักข่าว “เดอะนิวยอร์กไทมส์ (The New York Times)” แสดงความคิดเห็นว่า นี่คือสงครามของผู้แสดงที่ไม่ใช่รัฐ แต่เป็นการต่อสู้ของประชาคมโลกและการเคลื่อนไหวทางอุดมการณ์ ซึ่งเป็นสงครามที่ซับซ้อนที่สุด และอิจะชนะได้ก็ต่อเมื่ออิสราเอลและสหรัฐอเมริกาสามารถสร้างการรวมตัวของพันธมิตรระดับโลกได้
แต่ความน่าเป็นห่วงคือที่ผ่านมาผู้นำอิสราเอล “เบนจามิน เนทันยาฮู” และรัฐบาลของเขาดูจะไม่ใส่ใจถึงนโยบายสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชาวปาเลสไตน์แม้แต่น้อย เห็นได้จากการปล่อยให้ชาวยิวย้ายเข้าไป ฐานในเขตเวสต์แบงก์มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเคยกรณีนี้ถูกประณามจากสหรัฐและอีกหลายชาติในยุโรปมาแล้ว และการกระทำก็เป็นหนึ่งในเหตุผลหลักที่กลุ่มฮามาสเอามาอ้างเพื่อโจมตีอิสราเอลครั้งนี้
เมื่อสงครามเกิดขึ้น ประชาคมโลกจึงมีจุดยืนที่แตกต่างกัน ซึ่งทำให้อิสราเอลต้องเผชิญกับแนวรบหลายแนวที่เกิดขึ้นพร้อมๆ กับการรบกลับกลุ่มฮามาสในฉนวนกาซา และนี่คือ 7 แนวรบที่อิสราเอลไม่อาจหลีกเลี่ยงในสงครามครั้งนี้
แนวรบที่ 1 : สงครามเต็มรูปแบบกับกลุ่มฮามาส
อิสราเอลกำลังทำสงครามเต็มรูปแบบกับกลุ่มฮามาสในพื้นที่ฉนวนกาซวา เพื่อตอบโต้ต่อการถูกโจมตีแบบไม่ทันตั้งตัวที่เกิดขึ้นในคืนวันที่ 7.ต.ค. 66 ซึ่งเวลานี้เราได้เห็นแล้วว่ากลุ่มผู้ก่อการร้ายฮามาสมีศักยภาพมากมาย ถึงขั้นที่ใช้การโจมตีทางทะเลและอากาศจนสั่นสะเทือนอิสราเอลได้ ซึ่งสิ่งนี้บีบให้อิสราเอลไม่มีทางเลือกนอกจากตอบโต้ด้วยสงครามเต็มรูปแบบ
ความฝันอันยาวนานของกลุ่มฮามาสคือการปลุกระดมแนวร่วมต่อต้านอิสราเอล และขยายความขัดแย้งทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก ซึ่งคือสิ่งที่อิสราเอลพยายามหลีกเลี่ยงมาตลอด แต่ดูเหมือนว่า เนทันยาฮูกับพันธมิตรของเขา จะทำให้ความฝันของกลุ่มอามาสเป็นจริง เพราะความขัดแย้งที่เกิดขึ้นลุกลามจนมีกลุ่มอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้องในที่สุด
แนวรบที่ 2 : สงครามกับกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ใน ‘เลบานอน’ และ ‘ซีเรีย’
แนวรบแรกนำมาสู่แนวรบที่สอง เมื่อกลุ่มหัวรุนแรงฮิซบอลเลาะห์ที่สนับสนุนโดยอิหร่านกระโจนเข้าสู่สงครามนี้ ด้วยการยิงจรวดจากฝั่งเลบานอนและซีเรียเข้าสู่อิสราเอลทางตอนเหนือ และยังโจมตีใส่กองทัพสหรัฐในอิรักอีกด้วย
ส่วนเหตุผลที่ฮิซบอลเลาะห์ไม่สามารถอยู่เฉยๆ ได้ เพราะกลุ่มนี้ถือว่าอิสราเอลคือศัตรูตัวสำคัญของโลกอิสลาม และหากกว่าอิสราเอลจัดการกลุ่มฮามาสได้ ฮิซบอลเลาะห์ก็อาจถูกอิสราเอลกำจัดเป็นรายต่อไป ดังนั้นฮิซบอลเลาะห์จึงต้องเปิดแนวรบใหม่เพื่อช่วยแนวร่วมเดียวกัน โดยแม้จะเป็นการรบประปราย แต่อย่างน้อยที่สุดก็ทำให้อิสราเอลต้องต่อสู้กับกลุ่มฮามาสแบบห่วงหน้าพะวงหลัง
แนวรบที่ 3 : สงครามเลือกข้างในโซเชียลเน็ตเวิร์กทั่วโลก
เพราะทั้งโลกรับรู้ และตัดสินไปแล้วว่าใครดีใครแย่ จากข้อมูลที่เห็นผ่านทางโลกออนไลน์ ซึ่งต้องขอบคุณสมาร์ทโฟนและโซเชียลเน็ตเวิร์ก ที่เชื่อมโลกทั้งใบไว้ด้วยกัน และการที่แต่ละฝ่ายมีเรื่องเล่าในสื่อ ถือเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญ
โดยทุกวันนี้หากเกิดความรุนแรงในฉนวนกาซา ชาติและองค์กรณ์ต่างๆ จะเผชิญแรงกดดันจากคนภายในให้ออกมากแสดงจุดยืนอย่างชัดเจนว่าจะสนับสนุน “อิสราเอล” หรือ “ปาเลสไตน์”
แนวรบที่ 4 : ผู้ประท้วงหนุนปาเลสไตน์เกิดขึ้นทั่วโลก
แนวรบนี้คือการต่อสู้ทางศีลธรรม กับกลุ่มที่สนับสนุนการก่อตั้งรัฐปาเลสไตน์ที่กำลังลุกขึ้นมาประท้วงอิสราเอลในหลายๆ มุมทั่วโลก โดยพวกเขากล่าวว่ากลุ่มฮามาสคือ "นักรบ" เพราะต่อสู้กับอิสราเอลที่เป็นผู้ล่าอาณานิคม และพวกเขาก็เชื่อว่าการที่ชาวยิวเข้าไปตั้งถิ่นฐานในเขตเวสต์แบงก์มากขึ้น คือก้าวแรกของการล้มรัฐปาเลสไตน์ ดังนั้นอิสราเอลไม่มีสิทธิ์ทำร้ายชาวปาเลสไตน์ในดินแดนของพวกเขา ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม
แนวรบที่ 5 : ความวุ่นวายในเขตเวสต์แบงก์
แนวรบนี้อเกิดขึ้นในเขตยึดครอง “เวสต์แบงก์” ที่อยู่ภายใต้การปกครองของ องค์การบริหารปาเลสไตน์ (Palestinian Authority)” ที่ได้รับการรับรองอยากถูกต้องโดยรัฐบาลอิสราเอล แต่หน่วยงานนี้ร่วมมือกับอิสราเอลได้ตราบใดที่ทั้งสองฝ่ายยังทำตาม “สนธิสัญญาออสโล (Oslo Peace Accords) ” ที่สนับสนุนให้ชาวปาเลสไตน์ปกครองตัวเอง แต่เห็นได้ชัดว่าอิสราเอลทำให้เกิดความขัดแย้งในพื้นที่แห่งนี้ และตอนนี้ถือว่าสายไปแล้วที่จะฟื้นฟูสันติภาพนั้นกลับคืนมา
แนวรบที่ 6 กระแสกดดันให้ ‘เนทันยาฮู’ ลาออกจากตำแหน่ง
นี่คือการรบระหว่างชาวอิสราเอลด้วยกัน ซึ่งเปรียบเสมือนคลื่นใต้น้ำ เนื่องจากมีพลเรือนชาวอิสราเอลจำนวนมากอยากให้เนทันยาฮู แสดงความรับผิดชอบที่ไม่สามารถป้องกันประเทศต่อการโจมตีของกลุ่มฮามาสได้ ซึ่งประเด็นนี้ทำให้ประเทศแต่ละฝ่ายภายในประเทศแตกสามัคคี และความสามัคคีจำเป็นอย่างยิ่งต่อการชนะสงคราม
แนวรบที่ 7 สงครามกับกลุ่มกบฏฮูตีในเยเมน
สำหรับแนวรบนี้เพิ่งเกิดขึ้น เมื่อกลุ่มกบฏฮูตีที่ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่าน ได้ยิงขีปนาวุธพิสัยไกลจากฐานทัพในเยเมนสู่อิสราเอลโดยตรง โดยกลุ่มนี้ประกาศว่าจะเข้าร่วมรบเคียงข้างกลุ่มฮามาส เพื่อสนับสนุนปาเลสไตน์ ทำให้อิสราเอลต้องส่งเรือติดขีปนาวุธไปประจำการในเขตทะเลแดง เพื่อลาดตระเวนและป้องกันขีปนาวุธที่ยิงมาจากเยเมน ซึ่งนี่ถือเป็นแนวรบใหม่ล่าสุดที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่นาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
IDF เผยแพร่ภาพวิดีโอเหตุการณ์ การเปิดฉากบุกภาคพื้นดิน ในเขตฉนวนกาซา
รู้จัก “ระเบิดฟองน้ำ” อาวุธลับปิดตายอุโมงค์ฮามาส
ทำไม อิสราเอล - อิหร่าน จึงเป็นคู่ขัดแย้งกัน ทั้งที่เคยเป็นมิตรกันในอดีต