จำนวนเหตุกราดยิงในสหรัฐยังคงเพิ่มขึ้นสูงต่อเนื่อง ส่วนใหญ่มีสาเหตุจาก “ปัญหาการจ้างงาน” และ “เรื่องส่วนตัว
สืบเนื่องจากคืนวันพุธที่ 25 ต.ค. 66 ที่ผ่านมาได้เกิดเหตุสะเทือนขวัญ เมื่อมีชายวัย 40 ปี ได้ใช้ปืนไรเฟิลกึ่งอัตโนมัติตระเวนกราดยิงในร้านอาหาร ลานโบว์ลิง และห้างวอลมาร์ตภายในพื้นที่ของเมืองลูอิสตัน รัฐเมน ในสหรัฐอเมริกาส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 22 ราย และบาดเจ็บอีกว่า 60 ราย ก่อนที่จะหลบหนีไป จนเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องถิ่นต้องขอให้ประชาชนในพื้นหลบอยู่ในบ้าน ขณะที่เจ้าหน้าที่เร่งปิดเมืองไล่ล่าคนร้าย
ต่อมาภายหลัง คนร้ายถูกพบว่าเสียชีวิตแล้วบริเวณป่าที่ห่างจากเมือง ลูอิสตัน 12 กิโลเมตร โดยศพมีรอยกระสุนฝังอยู่ที่หัว จึงคาดว่าคนร้ายปลิดชีพตัวเอง โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจเผยเบื้องต้นว่า คนร้ายคือนาย “โรเบิร์ต คาร์ด” ครูฝึกสอนการใช้ปืนของกองทัพสหรัฐ ที่มีประวัติ เข้ารับการประเมินทางจิตเวช เนื่องจากมีอาการหูแว่ว และมีความคิดทำร้ายเพื่อนทหารคนอื่น ซึ่งเจ้าหน้าที่จะทำการสืบสวนในประเด็นนี้ต่อไป
การกราดยิงที่เมืองลูอิสตันถือว่าเป็นหนึ่งในครั้งที่ร้ายแรงที่สุดของสหรัฐฯ ซึ่งถ้าดูจากสถิติจะพบว่าปี 2023 สหรัฐฯ มีเหตุกราดยิงที่มีผู้เสียชีวิต 4 คนขึ้นไปแล้วกว่า 565 ครั้ง โดยมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 35,000 ราย ในจำนวนนี้มีวัยรุ่น 1,157 ราย และเด็ก 246 ราย ซึ่งเฉลี่ยเป็นทุกๆ หนึ่งวัน จะมีคน 118 รายเสียชีวิตในสหรัฐฯ และถ้าดูจากสถิติย้อนหลัง 5 ปี จะพบว่าตัวเลขยังคงพุ่งสูงอย่างต่อเนื่อง
“Gun Violence Archive (GVA)” รายงานว่า สถานที่ทำงาน สำนักงาน หรือออฟฟิศ คือจุดที่เกิดเหตุกราดยิงมากที่สุด รองลงมาคือร้านค้าปลีก และผับบาร์ตามลำดับ โดยจากการรวบรวมข้อมูล พบว่าแรงจูงใจของผู้ก่อเหตุส่วนใหญ่มาจากปัญหาการจ้างงานมากที่สุด
GVA ระบุว่า ผู้ก่อเหตุเกือบทั้งหมดอยู่ในสถานะว่างงาน ถูกเลิกจ้าง หรือถูกพักงาน ซึ่งคิดเป็น 70 % ของเหตุกราดยิงในสถานที่ทำงานที่ได้รับการบันทึกไว้ รวมถึงมีอีก 23% ที่เกิดจากความขัดแย้งส่วนตัว มีปัญหาทางจิตใจ ถูกละเลย และถูกเหยียดหยามจากสังคม จนต้องลงมือก่อเหตุเพื่อให้เกิดสถานการณ์ที่พวกเขามีตัวตน นอกจากนี้ยังมี 13 % ที่ก่อเหตุเพราะมีปัญหาทางการเงิน หรือไม่ได้รับไม่ได้รับความเป็นะธรรมจากกฎหมาย และการที่ปืนใน สหรัฐฯ หาง่ายคือเป็นปัจจัยสำคัญที่พผลักดันให้คนเหล่านี้ลุกขึ้นมาก่อเหตุ
ทั้งนี้ยังมีข้อมูลที่น่าสนใจอีกว่า ผู้ก่อเหตุถึง 57 % มีแนวโน้มฆ่าตัวตายระหว่างก่อเหตุ เนื่องจากต้องการเป็นที่จดจำในสายตาคนอื่น และอยากปลิดชีพตัวเองก่อนที่จะถูกเจ้าหน้าที่จับกุมหรือวิสามัญไปก่อน
อย่างไรก็ตาม เมื่อเดือน มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมามา ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ได้ลงนามในกฎหมายอาวุธปืนที่เรียกร้องให้สภาคองเกรสเข้มงวดกับการควบคุมอาวุธปืนมากขึ้น ซึ่งกฎหมายดังกล่าวรวมเงินจำนวน 750 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อช่วยให้รัฐต่าง ๆ บังคับใช้กฎหมายเอาอาวุธปืนออกจากบุคคลที่ถือว่าเป็นอันตรายต่อตนเองหรือผู้อื่น รวมถึงโครงการป้องกันความรุนแรงอื่นๆ ที่มุ่งแก้ปัญหาด้านสุขภาพจิตของประชาชน รวมถึงเสริมความปลอดภัยให้สำนักงานและโรงเรียนต่างๆ
ทว่าไบเดนและพรรคเดโมแครตก็มาได้เท่านี้ เพราะศาลสูงสุดของสหรัฐชี้ขาดว่ามีสิทธิ์พกปืน เพราะรัฐธรรมนูญให้ความคุ้มครองสิทธิของบุคคลในการพกพาปืนพกในที่สาธารณะ เพื่อการป้องกันตัวเองอยู่แล้ว ทำให้ ไบเดน รู้สึกผิดหวังและประกาศว่า “ศาลตัดสินใจผิดพลาดในครั้งนี้”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
หนัง Babel : เด็กใช้ปืนกระบอกเดียว แต่ สะเทือนถึงดวงดาว สั่นคลอนหลายประเทศ
รู้หรือไม่? คนไทยครอบครองปืนสูงสุดในอาเซียน และมีคนตายจากปืนอันดับสอง
"กราดยิงพารากอน" จิตแพทย์ถอดพฤติกรรมรุนแรงในเด็ก ปัญหาใหญ่ที่ต้องแก้ไข