ส่องเงินเดือนนายกรัฐมนตรี รวมถึง รัฐมนตรี ทั้ง "รมว." และ "รมช." ใน ครม. เศรษฐา 1 แต่ละตำแหน่ง ได้เงินเดือน ได้รายได้กันเท่าไร และในเร็วๆนี้ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี หรือ สลค. กำลังจะ นำรายชื่อคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ หรือ ครม. เศรษฐา 1 ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายแล้ว
เงินเดือนนายกรัฐมนตรี รวมถึง รัฐมนตรี ทั้ง "รมว." และ "รมช." ใน ครม. เศรษฐา 1 แต่ละตำแหน่ง ได้เงินเดือน ได้รายได้กันเท่าไร และ วันที่ 1 กันยายน 2566 สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี หรือ สลค. เพิ่งจะ นำรายชื่อคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ หรือ ครม. เศรษฐา 1 ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายแล้ว
ทั้งนี้ หลายคนอาจสงสัยว่า เงินเดือนนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน จากพรรคเพื่อไทย รวมถึง รัฐมนตรี ทั้ง "รมว." และ "รมช." จากทุกๆพรรคได้กันเท่าไร
ทั้งนี้ SPRiNG อ้างอิงข้อมูลจากสิทธิประโยชน์ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2556 (เว็บไซต์รัฐสภา) ได้เผยเงินเดือนของผู้ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมตรี และรองนายกรัฐมนตรี มีดังต่อไปนี้
รายได้ของตำแหน่ง นายกรัฐมตรี
นายกรัฐมนตรี - อัตราเงินเดือน 75,590 บาท/เดือน อัตราเงินประจำตำแหน่ง 50,000 บาท/เดือน
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น : 125,590 บาท/เดือน
รองนายกรัฐมนตรี
อัตราเงินเดือน 74,420 บาท/เดือน อัตราเงินประจำตำแหน่ง 45,500 บาท/เดือน
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น : 119,920 บาท/เดือน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวง, รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
อัตราเงินเดือน 73,240 บาท/เดือน อัตราเงินประจำตำแหน่ง 42,500 บาท/เดือน
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น : 115,740 บาท/เดือน
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง
อัตราเงินเดือน 72,060 บาท/เดือน อัตราเงินประจำตำแหน่ง 41,500 บาท/เดือน
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น : 113,560 บาท/เดือน
คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีจำนวนกี่คน ?
คณะรัฐมนตรี หมายถึง คณะบุคคลที่พระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งขึ้น ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีคนหนึ่ง และรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกินจำนวนตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ เพื่อทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 158 วรรคหนึ่ง กำหนดให้มีคณะรัฐมนตรี จำนวน 36 คน ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 35 คน ทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน ตามหลักความรับผิดร่วมกัน
การบริหารราชการแผ่นดินคณะรัฐมนตรีต้องดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และนโยบายที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา รวมทั้งต้องรับผิดชอบต่อสภาผู้แทนราษฎรในเรื่องที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของตน และก่อนที่จะเข้าบริหารราชการแผ่นดิน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 162 กำหนดให้คณะรัฐมนตรีต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภา โดยไม่มีการลงมติความไว้วางใจ และในการบริหารราชการแผ่นดิน คณะรัฐมนตรีต้องดำเนินการตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 164 ซึ่งบัญญัติว่า
“ในการบริหารราชการแผ่นดิน คณะรัฐมนตรีต้องดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และนโยบายที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ด้วย
(1) ปฏิบัติหน้าที่และใช้อํานาจด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต เสียสละ เปิดเผย และมีความรอบคอบและระมัดระวังในการดําเนินกิจการต่าง ๆ เพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศและประชาชนส่วนรวม
(2) รักษาวินัยในกิจการที่เกี่ยวกับเงินแผ่นดินตามกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐอย่างเคร่งครัด
(3) ยึดถือและปฏิบัติตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
(4) สร้างเสริมให้ทุกภาคส่วนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างเป็นธรรม ผาสุก และสามัคคีปรองดองกัน
รัฐมนตรีต้องรับผิดชอบต่อสภาผู้แทนราษฎรในเรื่องที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของตน รวมทั้งต้องรับผิดชอบร่วมกันต่อรัฐสภาในการกําหนดนโยบายและการดําเนินการตามนโยบายของคณะรัฐมนตรี”
ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 กำหนดให้มีจำนวนคณะรัฐมนตรีมากถึง 49 คน ต่อมาตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 จนถึงรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีการปรับลดจำนวนคณะรัฐมนตรีลงเป็นไม่เกินจำนวน 36 คน
และ ครม. เศรษฐา 1 กำลังจะเป็น คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 63 นับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ 2475
ที่มา parliament.go.th
ข่าวที่เกี่ยวข้อง