ส่องสูตรการจัดตั้งรัฐบาลเพื่อไทย ในการแบ่งเค้กเก้าอี้รัฐมนตรีต่างๆ จะออกรูปสมานฉันท์ ตั้งรัฐบาลสลายขั้วการเมือง จริงหรือไม่ ล่าสุด คาดว่า "เพื่อไทย" จะได้ตำแหน่งสำคัญ ได้ไปทั้งสิ้น 16 เก้าอี้ , ภูมิใจไทย 8 เก้าอี้ , พลังประชารัฐ 6 เก้าอี้ , รวมไทยสร้างชาติ 4 เก้าอี้
ส่องสูตรการจัดตั้งรัฐบาลเพื่อไทย ในการแบ่งเค้กเก้าอี้รัฐมนตรีต่างๆ จะออกรูปสมานฉันท์ ตั้งรัฐบาลสลายขั้วการเมือง จริงหรือไม่ ล่าสุด คาดว่า "เพื่อไทย" จะได้ตำแหน่งสำคัญ อาทิ นายกฯ-รองนายกฯ(ด้านมั่นคง)-มหาดไทย-สธ. รวม 16 เก้าอี้รัฐมนตรี ส่วน "ภูมิใจไทย" ไม่น้อยหน้าเหมา "เกษตร-คมนาคม-อุตสาหกรรม" ฟัน 8 เก้าอี้ ด้าน "พลังประชารัฐ" ตีตราจอง "กลาโหม-คลัง-ศธ."
ความคืบหน้าในการจัดตั้งรัฐบาลเพื่อไทย ก่อนโหวตนายกรอบ 3 ในวันที่ 22 สิงหาคม 2566 นี้ ล่าสุดได้มีรายงานข่าวจากพรรคร่วมรัฐบาล แจ้งสูตรการวางตัวเก้าอี้รัฐมนตรีว่าเป็นของพรรคการเมืองใดบ้าง ดังนี้
เพื่อไทย ที่มี 141 สส. จะได้ 16 เก้าอี้
ภูมิใจไทย ที่มี 71 สส. จะได้ 8 เก้าอี้
พลังประชารัฐ ที่มี 40 สส.จะได้ 6 เก้าอี้
รวมไทยสร้างชาติ ที่มี 36 สส. จะได้ 4 เก้าอี้
ชาติไทยพัฒนา ที่มี 10 สส. จะได้ 1 เก้าอี้
ประชาชาติ ที่มี 9 สส. จะได้ 1 เก้าอี้
เสรีรวมไทย ที่มี 1 สส. จะได้ 1 เก้าอี้
รวม 37 เก้าอี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เปิดโควตารัฐมนตรี สมการจัดตั้งรัฐบาลเพื่อไทย แต่ละพรรค ได้กี่ที่นั่ง ?
เปิด 3 เหตุผล เศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดต นายกเพื่อไทย ไปไม่ถึงเก้าอี้บริหารประเทศ
โดยหากแยกเป็น เก้าอี้รัฐมนตรี รายพรรค จะแบ่งได้ ดังนี้
เก้าอี้รัฐมนตรีพรรคเพื่อไทย
-นายกรัฐมนตรี
-รองนายกรัฐมนตรี (ด้านความมั่นคง)
-รองนายกรัฐมนตรี (ด้านกฎหมาย)
-รองนายกรัฐมนตรี
-รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
-รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
-รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
-รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
-รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตรี วิจัยและนวัตกรรม
-รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
-รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
-รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
-รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
-รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
-รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
-รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
เก้าอี้รัฐมนตรี พรรคภูมิใจไทย
-รองนายกรัฐมนตรี
-รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
-รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
-รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรงคมนาคม
-รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
-รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
-รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
-รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
เก้าอี้รัฐมนตรี พลังประชารัฐ
-รองนายกรัฐมนตรี
-รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
-รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
-รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
-รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
-รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
เก้าอี้รัฐมนตรี รวมไทยสร้างชาติ
-รองนายกรัฐมนตรี
-รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
-รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
-รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
และ พรรคเล็ก อีก 3 พรรค ได้แก่
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นของพรรค เสรีรวมไทย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นของพรรค ชาติไทยพัฒนา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นของพรรคประชาชาติ
ทั้งนี้ พรรคที่จะร่วมรัฐบาลเพื่อไทย อาทิ เพื่อไทรวมพลัง 2 สส. , ชาติพัฒนากล้า 2 สส. ,ท้องที่ไทย 1 สส. และ พลังสังคมใหม่ 1 สส. แม้จะไม่ได้ เก้าอี้รัฐมนตรี แต่น่าจะมีโอกาสได้ เป็น กรรมาธิการคณะต่างๆของสภา
ขณะที่ ฝั่งพรรคประชาธิปไตยใหม่ ก่อนหน้านี้ นายสุรทิน พิจารณ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อและหัวหน้าพรรคประชาธิปไตยใหม่ (ปธม.) ออกมาเปิดเผยว่า ได้แจ้ง นายประเสริฐ จันทรรวงทอง ส.ส.นครราชสีมาและเลขาธิการพรรค พท. ว่าจะยกมือสนับสนุนแคนดิเดตนายกฯพรรคเพื่อไทย ทว่ายังไม่มีความชัดเจนจาก 2 ฝ่าย ใน 1 เสียงนี้ นั่นทำให้ ยังไม่อาจรวม พรรคประชาธิปไตยใหม่ เป็นฝ่ายร่วมรัฐบาล แต่หากสุดท้ายแล้ว พรรคนี้ได้เข้าร่วม ก็จะได้ กรรมาธิการคณะต่างๆของสภาฯ
โดย รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 158 วรรคหนึ่ง กำหนดให้มีคณะรัฐมนตรี จำนวน 36 คน นั่นหมายความว่าหากทุกอย่างเป็นไปตามโผ จะมีรัฐมนตรีบางคน ที่ควบ 2 ตำแหน่ง
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่า จะจัดสรร โควตาเก้าอี้รัฐมนตรี ได้ดังนี้หรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นสูตรไหนๆแล้ว ทุกอย่างที่เกิดขึ้นนั้น มี "ราคาที่ต้องจ่าย" เสมอ...
ที่มา NATION