ส่อง 3 เหตุผล จากอดีตหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (ศรภ.) ที่มีมุมมองว่า "เศรษฐา ทวีสิน" แคนดิเดต นายกเพื่อไทย อาจจะไปไม่ถึงเก้าอี้บริหารประเทศ ในวันที่ 22 สิงหาคม วันโหวตนายกรอบ 3
บุคคลที่อยู่ในสปอร์ตไลท์ประเทศไทย ได้รับความสนใจมากที่สุด คงหนีไม่พ้น "เศรษฐา ทวีสิน" แคนดิเดตนายกฯเพื่อไทย ที่เพิ่งออกมาชี้แจง โต้กลับ ชูวิทย์ กมลวิศิษฐ์ ซึ่งออกมาแฉ เรื่องประเด็นนอมินี ในการซื้อ-ขายที่ดินของแสนสิริในช่วงที่ผ่านมา และยืนยันว่า เขาเองทำงานเป็น CEO อย่างมีจริยธรรม ตรวจสอบได้ ... นอกจากนี้ ในวันที่ 22 ส.ค. 2566 นี้ ชื่อของเศรษฐา ทวีสิน กำลังจะถูกเสนอชื่อเป็น นายกฯคนที่ 30 ของประเทศไทย จากการจัดตั้งรัฐบาลเพื่อไทย
แต่อย่างไรก็ตาม หลายฝ่ายในสังคม ยังมอง และคาดการณ์ว่า ชื่อของ "เศรษฐา ทวีสิน" อาจจะไม่ผ่านด่าน การโหวตรับรองนายกฯ จากรัฐสภา ที่ต้องการเสียง จากทั้ง สส. และ สว. จำนวน 376 เสียง ขณะที่ พล.ท.นันทเดช เมฆสวัสดิ์ อดีตหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (ศรภ.) ยก 3 เหตุผล ชี้ "เศรษฐา" น่าจะไปไม่ถึงเก้าอี้นายกฯ หลังคลื่นพายุจากทุกทิศมุ่งเข้าใส่
โดยโพสต์ Facebook ระบุว่า หนังเรื่อง “ตามหานายกฯ“ จบไปอีกตอนหนึ่งแล้ว การเคลื่อนไหวทางการเมือง จนมาถึงวันนี้ จะพบว่า คุณเศรษฐา น่าจะไปไม่ไหวแล้วครับ เมื่อดู
1.การเคลื่อนไหวเชิงรุกของ ชูวิทย์ กมลวิศิษฐ์
2. ท่าทีของ เศรษฐา ทวีสิน ที่แสดงออกต่อพรรคการเมืองต่างๆ
3. ท่าทีของ "บิ๊กโจ๊ก" พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. ในการรับเรื่องของชูวิทย์
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โดย เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2566 ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ก็เพิ่งเดินทางเข้าพบ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รองผบ.ตร. ที่สโมสรตำรวจ เพื่อให้สอบสวนกรณีที่เคยออกมาเปิดเผยว่า บริษัทเเสนสิริ ของ นายเศรษฐา ทวีสิน เเคนนิเดตนายกฯ พรรคเพื่อไทย ตั้งนอมินีขึ้นมา กู้เงินจำนวนหนึ่งพันล้านบาท เพื่อซื้อ-ขายที่ดินสร้างคอนโดหรู ย่านทองหล่อ
นอกจากนี้ เศรษฐา ทวีสิน ยังมีเรื่องค้างไว้อีก เกี่ยวกับการสร้างสะพานข้ามคลองพระโขนง แล้วเก็บเงินค่าผ่านทาง ซึ่งจะเป็นเรื่องที่ใหญ่กว่าทุกเรื่องเกินกว่าที่ ใครจะคาดคิดไว้ครับ ดังนั้นหนังเรื่องนี้ก็น่าจะจบไปอีกเรื่องหนึ่งแล้ว
สำหรับ วันที่ 22 สิงหาคม วันโหวตนายกรอบ 3 , หลังจากมีการประชุม วิป 3 ฝ่าย ในวันที่ 18 สิงหาคม 2566 ได้มีการเคาะแล้วว่า เศรษฐา ทวีสิน ไม่ต้องแสดงวิสัยทัศน์ต่อที่ประชุมรัฐสภาในวันโหวตนายกฯ เนื่องจากตามรัฐธรรมนูญและข้อบังคับการประชุมรัฐสภาไม่ได้กำหนดไว้ ประกอบกับในช่วงที่ยกร่างข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว