สรุปไทม์ไลน์ เรื่องข่าว การถือหุ้น ITV ของพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ว่าที่นายกฯ คนที่ 30 ของประเทศไทย ปมประเด็นหุ้นไอทีวีจะเป็นปัญหาต่อการจัดตั้งรัฐบาลก้าวไกลมากน้อยแค่ไหน
สรุปไทม์ไลน์ เรื่องข่าว การถือหุ้น ITV ของพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ว่าที่นายกฯ คนที่ 30 ของประเทศไทย
โดย ประเด็น การถือหุ้นสื่อ ITV ได้รับแสงสปอร์ตไลท์จากสังคม มาสักระยะหนึ่งแล้ว นับตั้งแต่ช่วงเวลาก่อนเลือกตั้ง 2566 เล็กน้อย
เมื่อ เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ยื่นร้อง คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้ตรวจสอบว่า “นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์” ผู้สมัคร ส.ส.และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีพรรคก้าวไกล (ก.ก.) มีลักษณะต้องห้ามในการลงสมัครรับเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 98 (3) หรือไม่ ? เนื่องจากมีชื่อเป็นผู้ถือหุ้น บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) 42,000 หุ้น และ ตอนนี้ก็กลับมา ร้อนแรงขึ้นอีกครั้ง กระทั่ง พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ได้ออกมาโพสต์ว่า ได้โอนหุ้น itv ให้กับทายาทอื่นแล้ว
อย่างไรก็ตาม ประเด็นเรื่องหุ้น ITV ยังคงมีการถกเถียงในหลายประเด็น ทั้งการปลุกไอทีวีให้กลับมาเป็นสื่ออีกครั้ง เพื่อหวังสกัดดาวรุ่งอย่าง พิธา ก่อนการโหวตเลือกนายกฯ
รวมไปถึง ข้อเท็จจริงของ ITV ที่ไม่ได้ประกอบกิจการสื่อแล้ว และยังคงเป็นข้อถกเถียงกันอยู่
7 มี.ค. 50
คววามจริงแล้ว อย่างที่ทราบกันในสังคมกันดีว่า สถานีโทรทัศน์ ITV ออกอากาศวันสุดท้าย หรือเมื่อ 16 ปีที่แล้ว
24 เม.ย. 2566
จุดเริ่มต้นของประเด็นนี้ เริ่มเมื่อวันที่ 24 เม.ย. ที่ผ่านมา “นิกม์ แสงศิรินาวิน” ผู้สมัครพรรคภูมิใจไทย ซึ่งเคยเป็นอดีตสมาชิกพรรคอนาคตใหม่ โพสต์ผ่าน Facebook ส่วนตัวให้ หัวหน้าพรรคที่มีหุ้น ITV 42,000 หุ้น มอบตัวกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต.
26 เม.ย. 66
ในเวลา ต่อมาวันที่ 26 เม.ย. 2566 มีการประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี 2566 ของ ITV ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ โดย “บันทึกการประชุม” แสดงให้เห็นว่า “ภาณุวัฒน์ ขวัญยืน” ผู้ถือหุ้น ซึ่งทราบภายหลังว่าเป็นผู้ใกล้ชิดและได้รับการโอนหุ้นมาจาก นิกม์ แสงศิรินาวิน ถามประธานที่ประชุมว่า บริษัท ไอทีวี มีการดำเนินงานเกี่ยวกับสี่อหรือไม่ คิมห์ ศิริทวีชัย ประธานที่ประชุม ตอบว่า ปัจจุบันบริษัทยังดำเนินกิจการอยู่ ตามวัตฤประสงค์ของบริษัท จึงเป็นที่เข้าใจว่าบริษัท ITV ยังคงประกอบธุรกิจสื่ออยู่
10 พ.ค. 66
เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ยื่นคำร้องต่อ กกต.ให้ตรวจสอบว่านายพิธามีลักษณะต้องห้ามในการลงสมัครรับเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 98 (3) หรือไม่ เนื่องจากมีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) 42,000 หุ้น
โดยระบุว่า คัดเอกสารจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และได้ข้อมูลจากผู้ถือหุ้นบริษัทไอทีวี อ้างถึงรายงานการประชุมล่าสุด ที่มีการถามว่าบริษัทไอทีวีเป็นสื่อหรือไม่ ซึ่งผู้บริหารได้ตอบว่า เป็นบริษัทสื่อ วันเดียวกันนั้น ไอทีวีได้ยื่นแบบนำส่งงบการเงิน (ส.บช.3) ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ซึ่งเป็นงบการเงินรอบปีบัญชีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 และเอกสารงบไตรมาสแรกปี 2566 ของไอทีวี 4 วันก่อนการเลือกตั้ง พบว่ามีการระบุประเภทธุรกิจว่า “สื่อโทรทัศน์” และระบุสินค้าว่า “สื่อโฆษณาและผลตอบแทนจากการลงทุน” จากเดิมปี 2561-2562 ระบุว่า “กิจกรรมของบริษัทโฮลดิ้งที่ไม่ได้ลงทุนในธุรกิจการเงินเป็นหลัก” ส่วนปี 2563-2564 ระบุประเภทธุรกิจว่า “สื่อโทรทัศน์” โดยในส่วนสินค้า/บริการ ระบุว่า “ปัจจุบันไม่ได้ดำเนินการเนื่องจากติดคดีความ”
14 พ.ค. 66
พรรคก้าวไกล ชนะเลือกตั้ง 2566 เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ นับตั้งแต่ ก่อตั้งพรรคมา
9 มิ.ย. 66 :
กกต. ไม่รับคำร้องกรณี พิธาถือหุ้น ITV อ้างเกินเวลา แต่ตั้งกรรมการไต่สวน พิธา ใน ม.151 เหตุรู้ว่า ไม่มีสิทธิเลงสมัคร แต่ยังฝ่าฝืน
11 มิ.ย. 66
กกต. มีมติเป็นเอกฉันท์ 6 เสียง ไม่รับคำร้อง ปมพิธาถือ หุ้น ITV แต่ให้รับเรื่องไว้พิจารณาเป็นความปรากฏ โดยจะตั้งคณะกรรมการสืบสวนไต่สวนต่อไป จากนั้น คืนวันที่ 11 มิ.ย. “ฐปณีย์ เอียดศรีไชย” นักข่าว “ข่าว 3 มิติ” เปิดเผยคลิปวิดีโอการประชุมประจำปีของผู้ถือหุ้น ITV ช่วงที่ภาณุวัฒน์ถามว่า ITV ยังดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับสื่อหรือไม่ โดย คิมห์ ประธานคณะกรรมการบริษัท ได้ตอบว่า “ตอนนี้บริษัทยังไม่มีการดำเนินการใด ๆ ก็รอผลคดีความให้สิ้นสุดก่อน”
12 มิ.ย. 66
คิมห์ สิริทวีชัย ลงนาม หนังสือ ของ INTOUCH ตรวจสอบข้อเท็จจริงในประเด็นบันทึกการประชุมผู้ถือหุ้น ITV เนื่องจากเป็นบริษัทย่อย ขณะที่ ชัยธวัช ตุลาธน เลขาฯก้าวไกล แถลง ข้องใจพิรุธเรื่องข่าวถือหุ้น ITV ระบุว่า นับแต่ นิกม์ได้โพสต์ ถึงนักการเมืองที่ถือหุ้น itv ทำให้เป็นที่น่าสงสัยว่า มีการวางแผนให้ ภานุวัฒน์ ขวัญยืน ผู้ถือหุ้นที่รับโอนมาจากนิกม์ และเป็นผู้จัดการคลินิกของครอบครัว และ นิกม์ ก็ยอมรับว่า เป็นคนชงให้ ภาณุวัฒน์ ถามเรื่อง ITV ในที่ประชุม