svasdssvasds

พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ถือหุ้น ITV ปมร้อน ผิดจริงหรือไม่ ซ้ำรอยธนาธร อีกครั้ง ?

พิธา ลิ้มเจริญรัตน์  ถือหุ้น ITV ปมร้อน ผิดจริงหรือไม่ ซ้ำรอยธนาธร อีกครั้ง ?

ไล่เรียง ประเด็นร้อน ปมเดือด ก่อนการเลือกตั้ง 2566 กับ กรณี ปมถือหุ้น ITV ของพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกฯก้าวไกล , เรื่องนี้ จะบานปลาย จนถึงขั้นเป็นความผิดของพิธา หรือไม่ เรื่องนี้จะซ้ำรอย เหมือนที่ “ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ” โดนตอนปี 2562 หรือไม่

กลายเป็นประเด็นอันร้อนแรง ทางการเมือง ก่อนการ เลือกตั้ง 2566 เมื่อ นาย เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ผู้สมัคร ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์ พลังประชารัฐ เข้ายื่นหนังสือต่อสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในวันที่ 10 พ.ค.2566  โดย ขอให้ตรวจสอบว่า นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ว่าเข้าข่ายมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 98 (3) หรือไม่

โดย ในช่วงสมรภูมิเลือกตั้ง 2566 นาย พิธา ลิ้มเจริญรัตน์  วัย 42 ปี ไม่เพียงเป็นผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 1 ของพรรคก้าวไกล  แต่ยังเป็นหัวหน้าพรรค และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีเพียงหนึ่งเดียวของพรรคอีกด้วย ดังนั้น เรื่องนี้จึงกลายเป็นประเด็นนี้ 

เรืองไกร ระบุว่า “พบข้อมูลที่น่าเชื่อว่า” นายพิธาถือหุ้นบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) หรือ ITV โดยเจ้าตัวได้ออกมายอมรับเรื่องชื่อผู้ถือหุ้นอยู่ใน บมจ.ไอทีวี และเป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจสื่อ ตามข้อมูลที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าแสดงไว้ และรายงานการประชุมของบริษัทเมื่อ 26 เม.ย. 2566 มีผู้ถือหุ้นถามผู้บริหารว่าบริษัทไอทีวีเป็นสื่อหรือไม่ ผู้บริหารตอบว่าเป็นบริษัทสื่อ จึงถือว่าองค์ประกอบต่าง ๆ ครบถ้วนตามกฎหมายแล้ว

“ผมหวังว่า กกต. จะทำหน้าที่โดยเร็ว ไม่ต้องรอวันเวลาต่าง ๆ ให้เนิ่นนานไปกว่านี้ เพราะถ้ารีบวินิจฉัย เรื่องก็จะไปศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง แต่ถ้ารอรับรองคุณสมบัติ เรื่องจะต้องไปศาลรัฐธรรมนูญ เหมือนกรณีนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ” นายเรืองไกรกล่าว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• ITV ยังดำเนินกิจการอยู่หรือไม่ ? 

อนุพงษ์ ไชยฤทธิ์ รองผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) หรือ ThaiPBS สรุปสาระสำคัญภาพรวมการประกอบธุรกิจของ ITV ดังนี้

1. หยุดประกอบกิจการสถานีโทรทัศน์ไอทีวีตั้งแต่ 24.00 น.วันที่ 7 มีนาคม 2550 สืบเนื่องจากการบอกเลิกสัญญาร่วมงานของสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

2. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย delist ถอดหุ้นไอทีวีจากการซื้อขายตั้งแต่วันที่ 24 ก.ค.2557

อนุพงษ์ ไชยฤทธิ์ รองผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) หรือ ThaiPBS

3. ปัจจุบันบริษัทอยู่ระหว่างการฟ้องร้องพิพาททางกฏหมายกับสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สืบเนื่องจากกรณีที่อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดว่า

-การบอกเลิกสัญญาของ สปน. ไม่ชอบด้วยกฏหมาย
-ให้ สปน.ชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 2,890 ล้านบาท

3.1 ต่อมา สปน. ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยชี้ขาดของอาณุญาโตตุลาการ ซึ่งศาลปกครองมีคำสั่งยกคำร้องของ สปน.

3.2 มกราคม 2564 สปน.ยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลปกครองกลาง ต่อศาลปกครองสูงสุด คดีอยู่ระหว่างการพิจารณา

4. ปีบัญชี 2565 ไอทีวี มีรายได้จากการลงทุนและดอกเบี้ยรับ 20.5 ล้านบาท (ผลตอบแทนจากตราสารหนี้และตราสารทุน) กำไรสุทธิ 8.5 ล้านบาท

5. ไอทีวี มีบริษัทย่อย 1 บริษัท คือบ.อาร์ตแวร์มีเดีย ให้เช่าอุปกรณ์ผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์ ผลิตรายการโทรทัศน์ ซื้อขายลิขสิทธิ์ภาพยนต์และรายการโทรทัศน์ และกิจกรรมการตลาดอื่นๆ สถานะปัจจุบันของบริษัท คือ หยุดประกอบกิจการ

6.กลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ที่โดยพฤติการณ์มีอิทธิพบต่อการกำหนดนโยบายและการดำเนนิงานบ.ไอทีวีในปัจจุบัน คือบ.อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)

7.การรักษาสถานะความเป็นนิติบุคคลของ บ.ไอทีวี เพื่อดำเนินการฟ้องร้องกับ สปน. (ความเห็นผู้เขียน)

หมายเหตุ ข้อ 7 เป็นความเห็นส่วนตัวของอนุพงษ์ ไชยฤทธิ์ รองผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) หรือ ThaiPBS  / ส่วนข้อ 1-6 เป็นข้อมูลจากรายงานประจำปี 2565 ของ ITV

• นิกม์ แสงศิรินาวิน อดีตเด็กอนาคตใหม่ ปูดเพิ่ม 'พิธา' ยังไม่สละมรดก ถือว่ายัง 'ถือหุ้น ITV' ไม่มีสิทธิ์ยื่นคำร้องเป็น ผู้จัดการมรดก ตามที่อ้างได้

ขณะเดียวกัน นิกม์ แสงศิรินาวิน ผู้สมัคร สส.กทม. เขต 17 คลองสามวา พรรคภูมิใจไทย เปิดเผยรายละเอียดกรณีนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ถูกกล่าวหา "ถือหุ้น ITV" ซึ่งก่อนหน้านี้นายพิธาออกมาทวิตเตอร์ชี้แจง "เป็นเพียงผู้จัดการมรดก"

นิกม์ แสงศิรินาวิน  กล่าวว่า ในเอกสารนายพงษ์ศักดิ์ ลิ้มเจริญรัตน์ เสียชีวิตในปี 2549 (พิธีศพระหว่างวันที่ 18-24 กันยายน 2549) มีทายาทผู้มีสิทธิ์รับมรดก 3 คน คือ นางลิลฎา ลิ้มเจริญรัตน์ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ และนายภาษิณ ลิ้มเจริญรัตน์ ซึ่งตามกฎหมายทายาทเป็นผู้มีสิทธิ์ได้รับมรดกจากผู้เสียชีวิต

นิกม์ แสงศิรินาวิน

 ดังนั้น หุ้น บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) จำนวน 42,000 หุ้น จะต้องตกเป็นของทายาทในสัดส่วนเท่าๆ กัน หมายความว่า นายพิธา ยังคงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในหุ้นบริษัท ไอทีวี จำนวน 14,000 หุ้น

นายนิกซ์ ตั้งข้อสังเกตุถึงการอ้างว่ามิใช่เจ้าของหุ้นนั้น "ไม่ได้" เพราะไม่ปรากฏหลักฐานว่า นายพิธา "สละมรดก" ซึ่งจะต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษรยื่นต่อเจ้าพนักงานหรือสัญญาประนีประนอม ที่สำคัญหากนายพิธาสละมรดกจริง ย่อมไม่มีสิทธิ์ยื่นคำร้องเป็นผู้จัดการมรดกได้ ถ้าหุ้นนี้เป็นของกองมรดกต้องระบุใน บอจ.5 ว่า "ผู้ถือหุ้นคือนายพิธา ในฐานะผู้จัดการมรดก"
 
นายนิกม์ยังเปรียบเทียบกรณีของตนเอง ได้รับมรดกเป็นหุ้นของ ITV เช่นกัน และตั้งแต่กรณีเรื่องหุ้นสื่อของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ เกิดขึ้น ตนก็ระมัดระวังตัว ในการลงสมัครรับเลือกตั้งครั้งนี้ โดยได้ติดต่อโบรกเกอร์ ติดต่อTSD เสียค่าธรรมเนียม ออกใบหุ้น เพื่อโอนออกจากตัวเองไปแล้ว 

"เมื่อก่อนผมอยู่พรรคอนาคตใหม่ เคยนำเรื่องหุ้น ITV ไปปรึกษาทีมกฎหมายของพรรค เขาบอกว่าไม่เป็นอะไร ไม่ต้องไปทำอะไร ดีนะคราวนั้นผมได้ที่ 2 ไม่ได้เป็น สส. ถ้าได้เป็นคงโดนแบบพี่เอก (นายธนาธร) ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง ในครั้งนี้ผมย้ายมาอยู่พรรคภูมิใจไทย เพราะเรื่องที่จะมีการแก้ไขหรือยกเลิก มาตรา 112 ซึ่งผมไม่เอาด้วย และผมเชื่อมั่นในตัวหมอหนู ในเรื่องสาธารณสุข ที่ผมเคยร่วมงานมูลนิธิด้วย เชื่อมั่นว่าเป็นพรรคที่พูดแล้วทำ เขาแนะนำให้จัดการเรื่องหุ้น ITV ให้เรียบร้อย" นายนิกม์ กล่าว



• บุญยอด  แฉ บัญชีทรัพย์สิน พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ปี 62 ไร้หุ้นไอทีวี  ชี้เข้าข่ายซุกหุ้น ไม่แสดงบัญชีต่อ ป.ป.ช. 

ขณะเดียวกัน  เฟซบุ๊ก นายบุญยอด สุขถิ่นไทย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กว่า เปิดบัญชี "พิธา" 2562 ไร้หุ้น ไอทีวี  เป็นการจับกระแส พิธาถือหุ้น ITV 

โดย บุญยอด สุขถิ่นไทย  ระบุว่า จากการค้นหาบัญชีแสดงรายการทรัพย์สิน และหนี้สินของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ในตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ซึ่งยื่นไว้เมื่อเข้ารับตำแหน่ง 25 พฤษภาคม 2562 มีทรัพย์สิน 137,785,190.85 บาท มีหนี้สิน 22,954,064 บาท

บุญยอด  แฉ บัญชีทรัพย์สิน พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ปี 62 ไร้หุ้นไอทีวี  ชี้เข้าข่ายซุกหุ้น ไม่แสดงบัญชีต่อ ป.ป.ช.

รายละเอียดแจ้งด้วยว่ามีเงินฝาก 32 บัญชี เงินลงทุน รวม 45 รายการ ทั้งกองทุนเปิด กองทุนปิด และหุ้นกู้ ที่น่าสังเกตคือไม่ปรากฏการแสดงรายการหุ้นของบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) แต่อย่างใด

ลักษณะต้องห้ามของผู้สมัคร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ต้องไม่เป็นเจ้าของหรือถือหุ้นในสื่อทุกประเภท ซึ่งอาจเข้าข่ายการซุกหุ้น ไม่แสดงบัญชีการถือครองต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

สำหรับ เรื่องราวหุ้น ITV ที่เกิดขึ้นมานี้ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์  ตัวต้นเรื่อง ตั้งข้อสังเกตว่า ปัญหา ถือหุ้นสื่อ ITV ครั้งนี้ที่เป็นประเด็น อาจเป็นเพราะ พรรคก้าวไกลกำลังมีกระแสดีอย่างต่อเนื่องในช่วงโค้งสุดท้าย ทำให้ถูกโจมตีแบบเดียวกับที่นายธนาธร เคยเจอ แต่ย้ำว่า ไม่ซ้ำรอย จบไม่เหมือนกันแน่นอน

related