กลายเป็นสิ่งที่คนทำงานมีความกังวลกันมากขึ้น หลังจากที่ AI เริ่มเข้ามาแทนตำแหน่งงานต่างๆ และยิ่งกังวลขึ้นไปอีกเมื่อมนุษย์ทำงานมองว่า เทคโนโลยีไม่ได้เข้ามาตอบโจทย์แต่มาแทนที่ตำแหน่งงานของเรา จนทำให้ความกล้าในการใช้เทคโนโลยีหดลงเรื่อยๆ
ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม แม้ว่า AI จะเข้ามาแทนที่หน้าที่ในการรับผิดชอบงานบางส่วนได้ แต่ AI ยังไม่สามารถตอบโจทย์เรื่องความรู้สึก ความเห็นอกเห็นใจและความเข้าใจเพื่อนมนุษย์หรือการมีปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ได้ดีนัก และการเข้ามาแทนที่ของหน้าที่รับผิดชอบส่วนใหญ่จะเน้นไปที่ประเภทงานที่ทำซ้ำแบบเดิม หรือการใช้แรงงานแบบเดิมมากกว่า
มาดูกันว่ามีตำแหน่งงานใดบ้างที่จะถูก AI เข้ามาแทนที่ รูปแบบการทำงานที่ AI จะเข้ามาทำงานแทนเรา และเหตุผลใดที่ AI ยังไม่สามารถแทนที่มนุษย์เราได้แบบร้อยเปอร์เซ็นต์
อาชีพ : คอนเทนต์ครีเอเตอร์
อาชีพ : นักข่าว
อาชีพ : ครู
อาชีพ : เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริการ
อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม
อาชีพ : HR
สิ่งที่จะมาแทนมนุษย์ : ค้นหาผู้สมัครตามความสามารถที่ได้รับการรับรองแล้ว จ่ายเงินตามกระบวนการ
สิ่งที่ต้องปรับตัว : ความเห็นอกเห็นใจและเข้าใจในสิ่งที่พนักงานต้องการที่แตกต่างกัน
อาชีพ : นักกฏหมาย
สิ่งที่จะมาแทนมนุษย์ : อ่านเอกสารทางกฏหมายจำนวน มากๆ และวิเคราะห์ผลตามข้อมูลทั้งหมด
สิ่งที่ต้องปรับตัว : ทักษะในการโต้ตอบความไหลลื่นในการดึงข้อกฏหมายมาปรับใช้กับข้อมูล
อาชีพ : เภสัชกร
สิ่งที่จะมาแทนมนุษย์ : จัดยา เรียงยาตามหน้าที่และจำนวนมากๆ ตามลำดับยาที่กำหนดได้
สิ่งที่ต้องปรับตัว : ความเห็นอกเห็นใจ ความสามารถในการเข้าใจและโต้ตอบเกี่ยวกับยาให้กับคนไข้ได้อย่างเหมาะสมกับอาการป่วย
อาชีพ : บรรณารักษ์
สิ่งที่จะมาแทนมนุษย์ : สามารถจัดเก็บข้อมูลในห้องสมุดและค้นหาจัดเก็บข้อมูลได้อย่างเป็นระบบ
สิ่งที่ต้องปรับตัว : ทักษะความเข้าใจในบริบทการตอบคำถามและความเชี่ยวชาญในข้อมูล
อาชีพ : ล่าม
สิ่งที่จะมาแทนมนุษย์ : แปลข้อมูลด้วยความเร็วแบบนาทีต่อนาที
สิ่งที่ต้องปรับตัว : ทักษะในความเข้าใจด้านวัฒนธรรม บริบท และถ่ายทอดออกมาได้อย่างมีความหมายลึกซึ้งและเป็นข้อความต้นฉบับ
อาชีพ : นักดนตรี
นอกจากนี้ ยังมีตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับการทำงานด้านข้อมูล การวิเคราะห์อีกหลายงานที่มนุษย์สามารถเข้ามาแทนที่ได้ ไม่ว่าจะเป็น ผู้จัดการฝ่ายการตลาด, นักวิเคราะห์ข้อมูล, นักวิเคราะห์เงินทุน, ผู้จัดการโครงการ, ผู้จัดการโซเชียลมีเดีย, กราฟิกดีไซเนอร์, ก็อปปี้ไรท์เตอร์, นักพัฒนาเว็บ เป็นต้น
ซึ่งลักษณะงานของตำแหน่งเหล่านี้จะเห็นได้ว่าเป็นงานที่ต้องใช้การอ้างอิงในเรื่องของปริมาณข้อมูลจำนวนมาก มาวิเคราะห์แปรผลและวางแผน หรืองานออกแบบที่มีการวางกรอบงานไว้ชัดเจนให้ทำแบบซ้ำเดิม หรือมีกรอบรูปแบบงานที่กำหนดไว้ งานที่ต้องใช้การตรวจสอบความถูกต้องแบบไม่เอนเอียง รวมทั้งงานที่เป็นระบบโค้ดดิ้งแบบเดิมโดยไม่ได้อาศัยความแตกต่างจากเดิมมากนัก ซึ่งคนที่มีตำแหน่งงานเหล่านี้ และอยากหาทางรอด ก็ต้องเพิ่มทักษะความสร้างสรรค์ ความเห็นอกเห็นใจกัน หรือปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยรู้จักสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ ก็ยังเป็นทางรอดในอาชีพต่อไปได้