PMAT เผยแนวโน้มการปรับอัตราค่าตอบแทนรวม ประจำปี 65-66 พบว่า มีการยอมจ่ายเงินเพื่อดึงดูดคนเก่งและรักษาคนมีฝีมือไว้กับองค์กร ส่งผลให้ค่าตอบแทนมีแนวโน้มขยับสูงขึ้น
สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย (PMAT) เผยแนวโน้มการปรับอัตราค่าตอบแทนรวม ประจำปี 2565/2566 อย่างเป็นทางการ เพื่อให้ HR ได้เตรียมความพร้อมในการประเมินกลยุทธ์การบริหารค่าตอบแทนรวม เพื่อดึงดูดคนเก่งและรักษาคนดีมีฝีมือไว้กับองค์กร รวมทั้งเป็นเครื่องมือหลักสำหรับ HR ในการนำเสนอต่อผู้บริหาร ถึงโครงสร้างเงินเดือน และการวิเคราะห์แนวโน้มต่างๆ
สำหรับปี 2565 นี้ เป็นปีที่ข้อมูลมีผลกระทบจากเหตุการณ์รอบด้านทั้งสงคราม รัสเซีย-ยูเครน วิกฤติโควิด และภาวะเศรษฐกิจถดถอย
ทั้งนี้ การจัดเก็บข้อมูลเชิงลึกในกลุ่มเป้าหมาย 112 องค์กร แบ่งเป็น
ส่วนที่เหลืออยู่ในธุรกิจ ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์, อุปโภคบริโภค, อสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง, ทรัพยากร และการเงิน
อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม
การปรับค่าตอบแทน ปี 2565/2566 มีแนวโน้มจะขยับสูงขึ้น เพราะไทยมีทิศทางการขึ้นค่าตอบแทนคล้ายกับอเมริกา โดยปี 2564/2565 อเมริกา ปรับขึ้นค่าตอบแทน 4% และคาดว่าจะสูงกว่า 4% ในปีถัดไป
การปรับเงินเดือนประจำปีตามผลงาน
โบนัสคงที่
โบนัสผันแปร
3 อันดับธุรกิจที่มีแนวโน้มปรับขึ้นเงินเดือนประจำปีตามผลงานสูงสุด ในปี 2566
3 อันดับธุรกิจที่มีแนวโน้มจ่ายโบนัสคงที่สูงสุด ในปี 2566
3 อันดับธุรกิจที่มีแนวโน้มจ่ายโบนัสผันแปรสูงสุด ในปี 2566
ส่วนของการปรับเงินเดือนประจำปีตามผลงานทุกอุตสาหกรรม ประจำปี 2566 ค่าเฉลี่ย 4.27% สูงสุด 7.0% ต่ำสุด 1.60%
ทางด้านของ การจ่ายโบนัสคงที่ทุกอุตสาหกรรม ประจำปี 2566 ค่าเฉลี่ย 1.36 เดือน สูงสุด 1.44 เดือน ส่วนการจ่ายโบนัสผันแปรทุกอุตสาหกรรม ประจำปี 2566 จะมีค่าเฉลี่ย อยู่ที่ 2.31 เดือน สูงสุด อยู่ที่ 2.52 เดือน
โบนัส-ค่าตอบแทนรวม ปี 65/66
3 อันดับแรกของการจ่ายเงินได้อื่น ที่ได้รับความนิยม ได้แก่ โบนัส 96.4% เบี้ยขยัน 56.3% และ ค่าตำแหน่ง โดยการบริหารค่าตอบแทนรวม ยังคงยึดแบบแผนหลักอย่างต่อเนื่อง ตลอดหลายปีที่ผ่านมาคือ ให้น้ำหนักกับเงินเดือน 68% แล้วตามด้วยโบนัสคงที่ รายได้อื่น เบี้ยกันดาร และสวัสดิการ ตามลำดับ
สำหรับปี 2565 ที่กำลังจะสิ้นสุดลง ตำแหน่งงานที่มีการจ่ายสูงสุด ได้แก่
5 อาชีพทำเงิน ที่มีค่าวิชาชีพสูงสุด นอกเหนือจากค่าตอบแทน ได้แก่
จากการสอบถามกลุ่มเป้าหมาย ถึงกลุ่มพนักงานที่หาคนทดแทนได้ยาก 9 อันดับแรก ได้แก่ ไอที, การขายและการตลาด, งานผลิต, บัญชีและการเงิน, พัฒนาธุรกิจ, กฎหมาย, กลยุทธ์องค์กร, HR และโลจิสติกส์
แนวโน้มค่าตอบแทนของไทย จะมาจาก 4 ปัจจัย ประกอบด้วย
อย่างไรก็ตาม การจ่ายเงินเดือนที่เป็น basic salary ในกลุ่มผู้ประกอบการระดับกลางและล่าง เริ่มกลับมาจ้างงานมากขึ้น ประกอบกับสภาพเศรษฐกิจโดยรวม อย่าง จีดีพีเกือบ 4% อัตราเงินเฟ้อลดลง จาก 6.3% เหลือ 2.4% อัตราว่างงานก็ลดลง จาก 1.93% เหลือ 1.37% ปี 2566 นี้ จึงถือว่าเป็นอีกปี ที่มีสัญญาณเชิงบวกจากหลายปัจจัย ที่ส่งผลดีต่อการจ้างงานและจ่ายค่าตอบแทนโดยรวม
ทางด้านของ จ๊อบส์ดีบี (JobsDB) แพลตฟอร์มหางานชั้นนำของเอเชีย ก็ได้เผย รายงานอัตราเงินเดือนของพนักงานไทยประจำปี 2565 (Salary Report 2022) พบว่า เมื่อเปรียบเทียบกับตลาดเพื่อนบ้านอย่างสิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และฮ่องกง ประเทศไทยมีการปรับเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเดือนค่าเฉลี่ยสูงที่สุดอยู่ที่ 43.1%
สายงานที่เป็นที่ต้องการมากที่สุด วัดจากจำนวนประกาศรับสมัครงานรวมทุกอุตสาหกรรมมากถึง 26,300 ตำแหน่ง ในปี 2564 ยังคงเป็นสายงานด้านการขายและการตลาด (Sales/Marketing) เช่นเดียวกับปี 2563
หากกล่าวถึงภาพรวมการปรับเพิ่มขึ้นของค่าตอบแทนในประเทศไทย แบ่งตามสายงาน พบว่า มีหลายสายงานได้รับการปรับเพิ่มอัตราเงินเดือน อาทิ
เมื่อเทียบการปรับตัวของอัตราเงินเดือนปีล่าสุดเป็นเปอร์เซ็นต์ พบว่า อุตสาหกรรม 3 อันดับแรกที่มีการปรับเงินเดือนเพิ่มสูงสุดแบ่งตามระดับงาน และสายงาน ได้แก่