svasdssvasds

สำรวจ 5 ประเด็นหลัก เรื่องร้อนที่สังคมโซเชียล พูดถึง กระแสฟุตบอลโลก 2022

สำรวจ 5 ประเด็นหลัก เรื่องร้อนที่สังคมโซเชียล พูดถึง กระแสฟุตบอลโลก 2022

ฟุตบอลโลก 2022 ถือเป็นฟุตบอลโลกครั้งที่ 22 ในประวัติศาสตร์แล้ว และที่ผ่านๆ นับตั้งแต่มีการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกก็ได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นทวีคูณ โดยเฉพาะฟุตบอลโลก 2022 ครั้งนี้ หรือ FIFA World Cup 2022 ที่กำลังแข่งขันกันอยู่

โดย บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ทำการเก็บข้อมูลจากเครื่องมือ ZOCIAL EYE เพื่อสำรวจความนิยมของฟุตบอลโลก 2022 ในช่วงเวลา ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม - 20 พฤศจิกายน 2565 ทั้งนี้ก็เพื่อวิเคราะห์ประเด็นที่ชาวโซเชียลพูดถึงเกี่ยวกับการแข่งขัน ฟุตบอลโลก 2022 (FIFA World Cup Qatar 2022) ครั้งที่ 22 ที่ประเทศกาตาร์ และจากผลสำรวจพบว่า  มีทั้งสิ้น 148,137 ข้อความ จากทั้งหมด 23,621,012 เอ็นเกจเมนต์ เฉลี่ยแล้วมีเอ็นเกจเมนต์ต่อวัน 463,157 เอ็นเกจเมนต์ และ Facebook เป็นแพลตฟอร์มที่กล่าวถึงฟุตบอลโลกมากที่สุด 

กระแสดังกล่าวถูกพูดถึงบน Facebook ทั้งสิ้น 75.87% ตามมาด้วย Twitter 12.12%, YouTube 5.48%, และอื่นๆ 6.53% ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลของคนที่พูดถึงเรื่องดังกล่าว พบว่า เป็นเพศชาย 76.25% และเพศหญิง 23.75% โดยเป็นบุคคลในช่วงอายุ 18-24  ปี (51.1%) มากที่สุด รองลงมาเป็นช่วงอายุ 25-34 ปี (35.61%)

ส่อง 5 เรื่องร้อนไฟลุกที่ชาวโซเชียลพูดถึงบอลโลก พูดถึงกระแส FIFA World Cup 2022

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กีฬาและการเมือง 5 เหตุการณ์สำคัญที่ผู้เล่นกลายเป็นผู้ขับเคลื่อนทางสังคม

กาบี สร้างประวัติศาสตร์ นักเตะอายุน้อยสุดอันดับ 3 ยิงประตูในฟุตบอลโลก

โปรแกรมฟุตบอลโลก 2022 : 17 ช่องฟรีทีวีถ่ายทอดสด ทุกคู่ รอบแรกถึงนัดชิง

เมื่อลองมาดูกระแสทั้งหมด พบว่า สามารถแบ่งออกเป็น 5 ประเด็นหลัก คือ

1. ข่าวนักฟุตบอล/สโมสร (9,048,261 เอ็นเกจเมนต์)
ชาวโซเชียลสนใจข่าวเกี่ยวข้องกับนักฟุตบอลและสโมสรเป็นจำนวนมาก ซึ่งข่าวในช่วงนี้ที่ออกมาจะเป็นการอัปเดตสถานการณ์ภายในทีม อาทิ อาการบาดเจ็บของหลุยส์ ดิอาซ นักเตะลิเวอร์พูล ทีมชาติโคลอมเบีย (แม้ไม่ได้ฟุตบอลโลก 2022 แต่ผู้คนก็สนใจ)  ทำให้เขาต้องรักษาตัว 6-8 สัปดาห์ และจะไม่ได้ลงสนามจนจบฟุตบอลโลก เป็นต้น

สำรวจ 5 ประเด็นหลัก ที่สังคมโซเชียล พูดถึงเกี่ยวกับกระแสฟุตบอลโลก 2022

2. ค่าลิขสิทธิ์ (3,227,988 เอ็นเกจเมนต์)
ชาวโซเชียลพูดถึงข่าวค่าลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2022 ว่ามีราคามากกว่า 1,000 ล้านบาท โดยเสียงส่วนมากเห็นพ้องกันว่าแพงเกินไปและอยากให้รัฐบาลให้ความสำคัญในส่วนอื่นๆ มากกว่า อาทิ การศึกษาในประเทศ
 

3. การของบประมาณสนับสนุนจากภาคเอกชน (1,978,426 เอ็นเกจเมนต์)
สืบเนื่องจากค่าลิขสิทธิ์ฟุตบอลโลก 2022 ที่กลายเป็นปัญหาเพราะ กฎ must have  ทำให้จากตอนแรกที่รัฐบาลมีงบไม่เพียงพอ ต้องเร่งหาหน่วยงานเอกชนมาช่วยเหลือในจุดนี้ ทำให้มีคนกล่าวถึงบริษัทเอกชนอย่าง True, ThaiBev และ PTT

4. จองกุก BTS (1,238,617 เอ็นเกจเมนต์)
ชาวโซเชียลพูดถึงข่าวจองกุก ศิลปินวง BTS ร่วมแสดงในพิธี เปิดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 ที่ประเทศกาตาร์ในวันที่ 20 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ที่สร้างความประทับใจให้แฟนๆ เป็นอย่างมาก

5. แคมเปญและโปรโมชั่นของแบรนด์ที่เกาะกระแสฟุตบอลโลก (923,752 เอ็นเกจเมนต์)

หลากหลายแบรนด์หันมาเกาะกระแสการแข่งขันฟุตบอลโลกด้วยการออกโปรโมชั่นเอาใจแฟนบอล อาทิ Adidas มีการจ้างอินฟลูเอ็นเซอร์โดยให้ใส่เสื้อแบรนด์และเขียนแคปชั่นชวนเชียร์บอลโลก, McDonals ที่จ้างอินฟลูเอ็นเซอร์โปรโมทชุดเบอร์เกอร์ ฟุตบอลโลก 2022 FIFA World Cup และชุด FIFA Sharing Box, Coke ที่จ้างอินฟลูเอ็นเซอร์โปรโมทกระป๋องรุ่นลิมิเต็ดที่เป็นธง 8 ประเทศ ซึ่งขายเฉพาะช่วงจัดงานฟุตบอลโลกเท่านั้น

นอกจากนี้ ชาวโซเชียลยังพูดถึงฟุตบอลไทย ซึ่งความคิดเห็นส่วนใหญ่คิดว่าถ้าหากไม่มีการแข่งขันของนักกีฬาไทยในฟุตบอลโลก ไม่ได้ดูก็ไม่เป็นไร และอยากเก็บเงินไว้ดีกว่า ส่วนบุคคลที่ต้องการติดตามการถ่ายทอดสดควรหาช่องทางด้วยตัวเองโดยที่ไม่ลำบากเงินส่วนรวมของประเทศ
 

related