svasdssvasds

เปิดข้อกฏหมายต้องรู้ก่อนหิ้วของฝาก ผลไม้สดต่างประเทศ กลับเข้าไทย

เปิดข้อกฏหมายต้องรู้ก่อนหิ้วของฝาก ผลไม้สดต่างประเทศ กลับเข้าไทย

นักท่องเที่ยวไทย ที่กลับจากต่างประเทศ อยากหิ้วผลไม้สดต่างประเทศ เพื่อเป็นของฝากกลับเข้าประเทศต้องเช็กข้อกฎหมาย รายการสิ่งต้องห้าม ป้องกันศัตรูพืชระบาดภายในประเทศ

ในช่วงที่ผ่านมาจากที่มีข่าวการลักลอบ นำเข้าซากสัตว์ จนมาถึงการตรวจยึด สินค้า ผลไม้สดต่างประเทศ ที่นักท่องเที่ยวไทยซื้อติดไม้ติดมือกลับมาเป็นของฝาก ทำให้ กรมวิชาการเกษตร ต้องออกประกาศย้ำเตือน นักเดินทางชาวไทยทั้งหลายให้หลีกเลี่ยงการซื้อผลไม้สดเพื่อไม่เป็นการฝ่าฝืน กระทำผิดกฎหมาย พระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ.2507 นำเข้าประเทศต้องสกัดโรคพืช-แมลง โดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ.2507 ที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้า-ส่งออก-นำผ่าน พืชและแมลงได้แบ่งประเภทไว้ดังนี้

  1. สิ่งต้องห้าม พืช ศัตรูพืชและพาหะที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดในราชกิจจานุเบกษาให้เป็นสิ่งต้องห้าม
  2. สิ่งต้องกำกัด พืช ศัตรูพืชและพาหะที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดในราชกิจจานุเบกษาให้เป็นสิ่งกํากัด
  3. สิ่งไม่ต้องห้าม พืชอย่างอื่นที่ไม่เป็นสิ่งต้องห้ามหรือสิ่งกํากัด 

โดยข้อกำหนดที่เกี่ยวกับการนำเข้าพืช ประกอบด้วย 
มาตรา 8 บุคคลใดนําเข้าหรือนําผ่านซึ่งสิ่งต้องห้ามต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีและต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้

  1. การนําเข้าหรือนําผ่านเพื่อการทดลองหรือวิจัย ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชกํากับมาด้วย หรือในกรณีการนําเข้าหรือนําผ่านสิ่งต้องห้ามซึ่งเป็นศัตรูพืช หรือพาหะที่ไม่ใช่พืชต้องมีหนังสือรับรองสิ่งต้องห้ามของหน่วยงานผู้มีอํานาจของประเทศ ที่ส่งออกซึ่งสิ่งต้องห้ามนั้น กํากับมาด้วย
  2. การนําเข้าหรือนําผ่านเพื่อการค้า หรือเพื่อกิจการอื่นตามที่อธิบดีประกาศกําหนดโดยคําแนะนําของคณะกรรมการ จะต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชกํากับมาด้วย และต้องผ่านการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกําหนดโดยคําแนะนําของคณะกรรมการโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา 10 การนําเข้าหรือนําผ่านซึ่งสิ่งต้องห้ามหรือสิ่งกํากัดนั้น จะต้องนําเข้าหรือนําผ่านทางด่านตรวจพืชเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจ และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกําหนดโดยคําแนะนําของคณะกรรมการโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ทั้งนี้ มาตรา 21 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 8 มาตรา 10 มาตรา 15 ทวิวรรคสองหรือมาตรา 15 ฉ หรือฝ่าฝืนมาตรา 14 ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา 11 ผู้ใดนําเข้าหรือนําผ่านซึ่งสิ่งไม่ต้องห้ามต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชกํากับมาด้วยและต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบที่อธิบดีกําหนด

ทั้งนี้ มาตรา 22 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสี่พันบาท

สำหรับผู้ที่ต้องการนำเข้าพืชจากต่างประเทศต้องมีเอกสารสำแดงต่อเจ้าหน้าที่ ดังนี้ 
ใบรับรองสุขอนามัยพืช” หมายความว่า หนังสือสําคัญที่ออกโดยหน่วยงานผู้มีอํานาจของประเทศที่ส่งออกซึ่งพืช เชื้อพันธุ์พืช หรือพาหะเพื่อรับรองว่าพืช เชื้อพันธุ์พืชหรือพาหะที่ส่งออกปลอดจากศัตรูพืชตามข้อกําหนดของประเทศผู้นําเข้า”

โดย พระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ.2507 ฉบับดังกล่าวนี้มีจุดประสงค์ ตามมาตรา 17 เพื่อป้องกันศัตรูพืชมิให้ระบาดเข้ามาในราชอาณาจักรให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจปฏิบัติการเกี่ยวกับพืช สิ่งต้องห้าม สิ่งกํากัด สิ่งไม่ต้องห้ามหรือเชื้อพันธุ์พืช ที่นําเข้าหรือนําผ่านดังต่อไปนี้

  1. ตรวจวินิจฉัยศัตรูพืช รมยา พ่นยา หรือใช้วิธีการอื่นใดตามที่เห็นว่าจําเป็นโดยเจ้าของหรือผู้ครอบครองเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย
  2. ยึดหรือกักไว้ณ สถานกักพืช หรือ ณ ที่ใดๆ ตามกําหนดเวลาที่เห็นว่าจําเป็น
  3. สั่งให้ผู้นําเข้าซึ่งพืช สิ่งต้องห้าม สิ่งกํากัด สิ่งไม่ต้องห้าม หรือเชื้อพันธุ์พืชที่มีศัตรูพืชติดเข้ามาด้วย ส่งสิ่งนั้นออกไปนอกราชอาณาจักร
  4. ทําลายเท่าที่เห็นว่าจําเป็น ในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีศัตรูพืชที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงมากและไม่อาจดําเนินการแก้ไขโดยวิธีตาม (1) ได้


ที่มา

info.doa.go.th

related