ซากสัตว์ ค้างคาวรมมควัน อยู่ในหมวด ของต้องกำกัด ที่ต้องได้รับใบอนุญาตก่อนการนำเข้าและส่งออก ตาม พ.ร.บ. โรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 และเพื่อความปลอดภัย ลดความเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรคระบาดในประเทศ ข้อต้องรู้เพื่อส่วนรวม
จากกรณี ตรวจพบ นักท่องเที่ยว ค้างคาวรมควัน ซุกในสัมภาระเข้าไทย อายัดยึดโดยด่านกักกันสัตว์ประจำท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เสี่ยงพาหะโรคติดเชื้อทั้งไวรัสนิปาห์และอหิวาต์แอฟริกาในสุกร อธิบดีกรมปศุสัตว์ ห่วงจึงให้เฝ้าระวังโรคระบาด ส่งตรวจและก่อนเตรียมทำลายต่อตามระเบียบ
ข้อมูลจากเว็บไซด์ กรมศุลกากร ได้ระบุ ของต้องห้ามหรือของต้องกำกัด ในการนำเข้า-ส่งออก สรุปเบื้องต้นตามรายละเอียดในอินโฟกราฟิก ด้านบน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ราชกิจจาฯ แพร่ประกาศห้ามนำเข้า-ส่งออก "ม้า ลา ล่อ อูฐ" หลังพบเชื้อกาฬโรค
“สารวัตรบีเกิ้ล” ด่านสุวรรณภูมิตรวจพบค้างคาวรมควันซุกในสัมภาระ
ฝีดาษลิงโรคติดต่อจากสัตว์ แพทย์เตือน พบไม่บ่อยแต่อันตรายถึงแก่ชีวิต
ตามอำนาจหน้าที่ของ กรมศุลกากร คือการป้องกันการนำเข้า หรือส่งออก หรือส่งผ่านสินค้าต้องห้าม ส่วนสินค้าต้องกำกัด กรมศุลกากรมีหน้าที่ต้องตรวจสอบว่า การนำเข้า หรือส่งออก หรือส่งผ่านแดนได้รับอนุญาตและปฏิบัติตามกฎหมายที่บัญญัติไว้ครบถ้วนหรือไม่
สำหรับบัญชีรายชื่อสินค้าต้องห้ามต้องกำกัด สามารถตรวจสอบได้จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการออกใบอนุญาตนำเข้า เช่น กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุสาหกรรม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเกษตร เป็นต้น
ตามรายละเอียดจาก พระราชบัญญัติ โรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 ที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้า-ส่งออก ซากสัตว์ มีข้อกำหนดอยู่ด้วยกันหลายมาตรา
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจและนิยามคำว่า “ซากสัตว์” ให้ตรงกันก่อน
หมายถึง ร่างกายหรือส่วนของร่างกายสัตว์ที่ตายแล้ว สิ่งใดๆ ที่ได้จากสัตว์ ที่มีชีวิตหรือสัตว์ที่ตายแล้ว และให้หมายความรวมถึงอาหารสุกที่ทํา ประกอบ หรือปรุงจากซากสัตว์หรือสิ่งประดิษฐ์สําเร็จรูปที่ทําจากซากสัตว์ตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด
ส่วนตามมาตรา 8 เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและควบคุมโรคระบาด ให้เจ้าของสัตว์หรือซากสัตว์ ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกําหนดจํานวนสัตว์หรือซากสัตว์ลักษณะของยานพาหนะและอุปกรณ์ในการเคลื่อนย้ายสัตว์หรือซากสัตว์ ดังต่อไปนี้
สำหรับการขออนุญาต การออกใบอนุญาต และหน้าที่ของผู้รับใบอนุญาต
ตามมาตรา 24 ระบุไว้ว่า เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและควบคุมโรคระบาดอันเกิดจากการค้าสัตว์หรือ
ซากสัตว์ ผู้ใดทําการค้าหรือหากําไรในลักษณะคนกลางซึ่งสัตว์หรือซากสัตว์ดังต่อไปนี้ ต้องได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน
การขออนุญาตและการออกใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกําหนด
ทั้งนี้ในมาตรา 31 กำหนดว่า เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและควบคุมโรคระบาด ผู้ใดนําเข้า ส่งออก หรือนําผ่านราชอาณาจักรซึ่งสัตว์หรือซากสัตว์ ต้องได้รับใบอนุญาตจากอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายทุกครั้งที่นําเข้าส่งออกหรือนําผ่านราชอาณาจักร
โดยมีอัตราค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับขอใบอนุญาตการนำเข้า-ส่งออก ระบุไว้ ดังนี้
ข้อ 8 ใบอนุญาตนำซากสัตว์เข้ามาใน ราชอาณาจักร กิโลกรัมละ 100 บาท
ข้อ 9 ใบอนุญาตนำซากสัตว์ออกนอกราชอาณาจักร กิโลกรัมละ 5 บาท
ข้อ 10 ใบอนุญาตนำซากสัตว์ผ่านราชอาณาจักร กิโลกรัมละ 5 บาท
สำหรับบทกําหนดโทษของผู้ฝ่าฝืนระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้า-ส่งออก ระบุไว้ว่า
มาตรา 56 เจ้าของสัตว์หรือซากสัตว์ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 8 ต้องระวางโทษจําคุก ไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา 57 เจ้าของสัตว์หรือซากสัตว์ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 9 วรรคสาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา 62 เจ้าของสัตว์หรือซากสัตว์ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของสัตวแพทย์ตามมาตรา 13 หรือประกาศหรือคําสั่งของสัตวแพทย์ตามมาตรา 40 (1) หรือ (2) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา 68 ผู้ใดนําเข้า ส่งออกหรือนําผ่านราชอาณาจักรซึ่งสัตว์หรือซากสัตว์โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
ซึ่งทางกรมปศุสัตว์ได้ กำหนดให้มีการทำเครื่องหมายประจำตัวสัตว์สำหรับซากสัตว์ที่มีการนำเข้าอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และเพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้าปศุสัตว์ปลอดภัยขอให้สังเกตตราสัญลักษณ์ ‘ปศุสัตว์ OK’ ซึ่งเชื่อมั่นถึงความสะอาด สุขอนามัย เนื้อสัตว์ปลอดโรคระบาด และไร้สารตกค้าง ได้คุณภาพมาตรฐาน
โดยแต่ละประเทศก็มีข้อกำหนดและรายละเอียด รวมถึงบทลงโทษที่แตกต่างกัน เช่น การนำผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสัตว์ของต่างประเทศเข้ามายังญี่ปุ่น มีรายละเอียด ระบุไว้ดังนี้
ที่มา