svasdssvasds

รู้จัก 'ภูพระบาท' ท่องเที่ยวมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งใหม่ของไทย !

รู้จัก 'ภูพระบาท' ท่องเที่ยวมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งใหม่ของไทย !

รัฐบาลเชิญชวนประชาชนร่วมฉลอง “ภูพระบาท” ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งใหม่ของไทย 28 ก.พ. นี้ มารู้จัก 'ภูพระบาท' ร่องรอยอารยธรรมก่อนประวัติศาสตร์ถึงปัจจุบัน

SHORT CUT

  • องค์การยูเนสโก (UNESCO) ได้ประกาศขึ้นทะเบียน อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท จังหวัดอุดรธานี เป็น มรดกโลกทางวัฒนธรรม
  • ภูพระบาทพบร่องรอยอารยธรรมก่อนประวัติศาสตร์ จากการสำรวจทางโบราณคดีที่ผ่านมา พบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานและกิจกรรมของมนุษย์
  • ภายในพื้นที่อุทยานฯ มีโบราณสถานที่ได้รับการขึ้นทะเบียนแล้วจำนวน 78 แห่ง ซึ่งสะท้อนถึงคุณค่าทางประวัติศาสตร์และความเชื่อมโยงของวัฒนธรรม

รัฐบาลเชิญชวนประชาชนร่วมฉลอง “ภูพระบาท” ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งใหม่ของไทย 28 ก.พ. นี้ มารู้จัก 'ภูพระบาท' ร่องรอยอารยธรรมก่อนประวัติศาสตร์ถึงปัจจุบัน

รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นางสาวศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ เปิดเผยว่า องค์การยูเนสโก (UNESCO) ได้ประกาศขึ้นทะเบียน อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท จังหวัดอุดรธานี เป็น มรดกโลกทางวัฒนธรรม ภายใต้ชื่อ ‘ภูพระบาท ประจักษ์พยานแห่งวัฒนธรรมสีมา สมัยทวารวดี’ นับเป็นแหล่งมรดกโลกแห่งที่ 8 ของไทย และเป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งที่ 5 ต่อจากแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเมื่อปี พ.ศ. 2535

การขึ้นทะเบียนครั้งนี้ได้รับการรับรองโดย Ms. Audrey Azoulay ผู้อำนวยการใหญ่องค์การยูเนสโกอย่างเป็นทางการ ซึ่งนับเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญของไทยในการอนุรักษ์และเชิดชูมรดกทางวัฒนธรรมของชาติในระดับสากล

รู้จัก \'ภูพระบาท\' ท่องเที่ยวมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งใหม่ของไทย !

จัดงานเฉลิมฉลอง อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท

เพื่อเฉลิมฉลองโอกาสสำคัญนี้ รัฐบาลเตรียมจัดงานเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 ตั้งแต่เวลา 16.00 น. เป็นต้นไป ณ อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ภายในงานจะมีกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย อาทิ

  • การแสดงศิลปะพื้นบ้านจากชุมชนไทพวน อำเภอบ้านผือ
  • พิธีปลูกต้นรวงผึ้งเฉลิมพระเกียรติ
  • พิธีติดตั้งตราสัญลักษณ์มรดกโลกและป้ายส่งเสริมการท่องเที่ยว
  • พิธีเจริญพระพุทธมนต์ ณ โบราณสถานหอนางอุสา
  • การแสดงละครตำนานภูพระบาท เรื่อง "อุสา - บารส"
  • การแสดงโขนรามเกียรติ์ ตอน "สุครีพถอนต้นรัง"

รัฐบาลเชื่อว่าการขึ้นทะเบียน ภูพระบาท เป็นมรดกโลก จะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ยกระดับศักยภาพของประเทศ และสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้กับชุมชนในพื้นที่อย่างยั่งยืน ถือเป็นความภาคภูมิใจของชาวไทยทุกคนที่มรดกทางวัฒนธรรมของประเทศได้รับการยอมรับในเวทีโลก

รู้จัก \'ภูพระบาท\' ท่องเที่ยวมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งใหม่ของไทย !

ภูพระบาทร่องรอยอารยธรรมก่อนประวัติศาสตร์ 

จากการสำรวจทางโบราณคดีที่ผ่านมา พบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานและกิจกรรมของมนุษย์บน ภูพระบาท ย้อนกลับไปได้นานกว่า 2,500 – 3,000 ปี โดยมีการค้นพบ ภาพเขียนสีโบราณกว่า 54 แห่ง บนภูเขาลูกนี้ ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญที่บ่งบอกถึงร่องรอยของชุมชนในยุคก่อนประวัติศาสตร์

นอกจากนี้ ยังพบการดัดแปลงเพิงหินธรรมชาติให้เป็น ศาสนสถาน ในยุคต่างๆ ตั้งแต่วัฒนธรรม ทวารวดี, เขมร, ล้านช้าง, จนถึงยุครัตนโกสินทร์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึง พัฒนาการทางสังคมและความเชื่อของผู้คนในภูมิภาคนี้ ที่มีความต่อเนื่องยาวนาน

ร่องรอยทางโบราณคดีเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมและอารยธรรมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงยุคปัจจุบัน นับเป็นแหล่งมรดกที่มีคุณค่าทั้งในด้านประวัติศาสตร์ ศาสนา และสังคมของไทย

จากป่าสงวนสู่มรดกทางวัฒนธรรม

จากป่าสงวนสู่มรดกทางวัฒนธรรม

ด้วยความสำคัญทางโบราณคดีและวัฒนธรรม กรมศิลปากร จึงได้ดำเนินการขอใช้พื้นที่ ป่าสงวนแห่งชาติขนาด 3,430 ไร่ จาก กรมป่าไม้ เพื่อนำมาขึ้นทะเบียนเป็นเขตโบราณสถาน โดยมีการประกาศอย่างเป็นทางการใน ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 98 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2524 ต่อมา ได้มีการพัฒนาและอนุรักษ์แหล่งโบราณคดีแห่งนี้อย่างต่อเนื่อง จนในที่สุดจึงได้รับการยกระดับเป็น อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท

พิธีเปิดอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทอย่างเป็นทางการจัดขึ้นเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2535 โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธี

ปัจจุบัน อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทอยู่ภายใต้การดูแลของ สำนักศิลปากรที่ 8 กระทรวงวัฒนธรรม โดยมีภารกิจหลักในการ ดูแล อนุรักษ์ พัฒนา และศึกษาวิจัย เกี่ยวกับโบราณสถานและโบราณวัตถุภายในพื้นที่ ทั้งยังทำหน้าที่เป็น แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมและแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ สำหรับประชาชนทั่วไป

ภายในพื้นที่อุทยานฯ มีโบราณสถานที่ได้รับการขึ้นทะเบียนแล้วจำนวน 78 แห่ง ซึ่งสะท้อนถึงคุณค่าทางประวัติศาสตร์และความเชื่อมโยงของวัฒนธรรมที่มีมาอย่างยาวนาน เป็นหลักฐานสำคัญของพัฒนาการทางอารยธรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related