สรุปให้ โดนัลด์ ทรัมป์ เคยถอนตัว-ยกเลิก สิ่งใดไปแล้วบ้าง หลัง "ทรัมป์" ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ครั้งล่าสุด และเข้าพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งผู้นำสหรัฐฯ อย่างเป็นทางการ
หลังจากที่ "โดนัลด์ ทรัมป์" ประธานาธิบดีสหรัฐ เสร็จสิ้นพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีคนที่ 47 ของสหรัฐแล้ว ในพิธีเมื่อเวลาประมาณเที่ยงคืนวันจันทร์เข้าสู่วันอังคารที่ 21 ม.ค. ตามเวลาในประเทศไทย โดยในการกล่าวคำปราศรัยแรกหลังขึ้นเป็นประธานาธิบดี ทรัมป์ประกาศชัดเจนว่า "ยุคขาลงของอเมริกาได้สิ้นสุดลงแล้ว" และเขาจะเป็นผู้นำยุคทองของอเมริกา
หลังเสร็จสิ้นพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐสมัยที่ 2 ทรัมป์ได้ลงนามในคำสั่งผู้บริหารชุดแรก ซึ่งครอบคลุมประเด็นที่สำคัญมากมาย ซึ่งรวมถึงการถอนตัวจากข้อตกลงกรุงปารีสว่าด้วยการลดโลกร้อน การถอนตัวจากข้อตกลงกรุงปารีสอีกครั้งสะท้อนถึงจุดยืนเดิมของทรัมป์ ที่เคยลงนามคำสั่งฝ่ายบริหารเพื่อถอนตัวจากข้อตกลงดังกล่าวมาแล้วในปี 2017 เมื่อเข้าสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐสมัยแรก
ทั้งนี้สนธิสัญญาปารีสมีจุดมุ่งหมายเพื่อควบคุมอุณหภูมิโลก ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนในระยะยาวให้ไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส เหนือระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม หรือหากทำไม่ได้ตามเป้าหมายดังกล่าว ก็ให้คงอุณหภูมิไว้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส เหนือระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม
คำสั่งฝ่ายบริหารฉบับแรกของทรัมป์เพิกถอนคำสั่ง 78 ฉบับที่ลงนามโดยโจ ไบเดน อดีตประธานาธิบดีคนก่อน นอกจากคำสั่งถอนตัวจากข้อตกลงปารีส ยังไม่ชัดเจนในทันทีว่าคำสั่งอื่นใดบ้างของไบเดนที่ถูกเพิกถอนบ้าง
จากนั้นทรัมป์ก็ลงนามในคำสั่งที่ตั้งใจจะบังคับใช้ "การระงับการออกกฎระเบียบ" และหยุดการจ้างงานของรัฐบาลกลาง
มีรายงานจากสำนักข่าวรอยเตอร์ เปิดเผยว่า โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีของสหรัฐ ได้ลงนามคำสั่งฝ่ายบริหารให้สหรัฐอเมริกาถอนตัวออกจากองค์การอนามัยโลก (WHO) เมื่อวันที่ 20 ม.ค. ที่ผ่านมา โดยบอกว่าทางหน่วยงานรับมือกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และวิกฤตด้านการแพทย์อื่นๆ ระหว่างประเทศได้ผิดพลาด
WHO ล้มเหลวในการดำเนินการอิทธิพลทางการเมืองที่ไม่เหมาะสมของประเทศสมาชิก และเรียกร้องให้สหรัฐฯ จ่ายเงินให้ทางดับเบิลยูเอชโออย่างไม่เป็นธรรม เพราะจำนวนเงินที่สหรัฐจ่ายให้กับทางหน่วยงานนั้นมากกว่าประเทศใหญ่อื่นๆ อย่างจีน
เดวิด เพโคสเก้ หัวหน้าสำนักงานความปลอดภัยการขนส่ง(TSA) กล่าวว่าเขาถูกทีมงานเปลี่ยนผ่านของทรัมป์ปลดออกจากตำแหน่งก่อนที่ประธานาธิบดีคนใหม่จะเข้ารับตำแหน่ง
เพโคสเก้กล่าวในบันทึกถึงพนักงานว่าทีมงานเปลี่ยนผ่านของทรัมป์แจ้งเขาเมื่อเช้านี้ว่า “เวลาของผมในฐานะผู้บริหารจะสิ้นสุดในเวลาเที่ยงวันตามเวลาตะวันออกของวันนี้”
ทรัมป์แต่งตั้งเพโคสเก้ อดีตผู้บัญชาการหน่วยยามฝั่งสหรัฐ ให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้า TSA ในปี 2017 ในช่วงดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีวาระแรกของเขา เพโคสเก้ได้รับการยืนยันให้ดำรงตำแหน่งเป็นสมัยที่สองเป็นเวลาห้าปีในปี 2022 ภายใต้การนำของอดีตประธานาธิบดีโจ ไบเดน หน่วยงานนี้มีพนักงานประมาณ 60,000 คนและเจ้าหน้าที่ทำหน้าที่คัดกรองผู้โดยสารที่สนามบินมากกว่า 400 แห่งในสหรัฐ
ในเดือนธันวาคม ไมค์ ไวเทเกอร์ ผู้บริหารสำนักงานการบินแห่งสหพันธรัฐ ได้ประกาศว่าเขาจะลงจากตำแหน่งในวันที่ 20 มกราคม ก่อนที่ทรัมป์จะเข้ารับตำแหน่ง
ย้อนกลับไปในปี 2018 "ทรัมป์" ยังได้นำสหรัฐฯ ถอนตัว จากองค์การสหประชาชาติเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม (UNESCO) โดยสหรัฐฯ ต้องการให้ยูเนสโกปฏิรูปองค์กร แต่การถอนตัวของสหรัฐ ออกจากยูเนสโกไม่ใช่ครั้งแรก โดยในปี 1987 สมัยอดีตประธานาธิบดี "โรนัลด์ เรแกน" สหรัฐได้เคยถอนตัวมาแล้ว และได้กลับเป็นสมาชิกอีกครั้งในปี 2003 ซึ่งสหรัฐ
ภายหลังการถอนตัวออกจากยูเนสโกในยุคของ "ทรัมป์" ต่อมาในยุคของ "โจไบเดน" ก็ได้นำสหรัฐฯกลับเข้ามาเป็นสมาชิกยูเนสโกอีกครั้งในปี 2023
ทรัมป์อ้างระหว่างการหาเสียงว่าเขาจะยุติสงครามนี้ในวันแรกที่รับตำแหน่ง แต่ทว่าหลังจากนั้นเขาบอกว่าอาจต้องใช้เวลาราว 6 เดือน แต่ไม่แน่ชัดว่าในวันแรกๆ ของการเป็นประธานาธิบดีเขาจะดำเนินการเรื่องสงครามยูเครนอย่างไร
ทรัมป์ประกาศว่าจะเริ่มโครงการเนรเทศครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของอเมริกา" โดยจะเริ่มตั้งแต่วันแรกที่เขากลับสู่ทำเนียบขาว คาดว่าทรัมป์จะประกาศภาวะฉุกเฉินด้านชายแดน และสั่งการให้ทหารตรึงกำลังตามแนวชายแดนทางตอนใต้ของสหรัฐฯ
โครงการเนรเทศครั้งใหญ่จะเผชิญกับอุปสรรคด้านการขนส่งลำเลียง มีต้นทุนมหาศาลหลายพันล้านดอลลาร์ และการโต้แย้งทางกฎหมาย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง