svasdssvasds

ส้วมไทย จากขุดดินนั่งยองสู่นั่งฟิน สะท้อนการแบ่งชนชั้น

ส้วมไทย จากขุดดินนั่งยองสู่นั่งฟิน สะท้อนการแบ่งชนชั้น

ส้วมไทย จากขุดดินนั่งยองสู่นั่งฟิน สะท้อนความเหลื่อมล้ำของสังคม กว่าประชาชนจะนั่งส้วมสบายต้องใช้เวลาหลายปี

SHORT CUT

  • "ส้วม" ในประเทศไทยมีวิวัฒนาการที่น่าสนใจและสะท้อนให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำทางสังคมได้อย่างชัดเจน
  • ยุคโบราณ : ส้วม = สิทธิพิเศษชนชั้นนำ
  •  ส้วมดีๆ เริ่มต้นจากชนชั้นนำ ก่อนจะแพร่หลายสู่ประชาชนทั่วไป วิวัฒนาการของส้วมไทยสะท้อนให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี จากสิ่งที่เคยเป็นสิทธิพิเศษของชนชั้นสูง กลายเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานสำหรับทุกคนในปัจจุบัน

ส้วมไทย จากขุดดินนั่งยองสู่นั่งฟิน สะท้อนความเหลื่อมล้ำของสังคม กว่าประชาชนจะนั่งส้วมสบายต้องใช้เวลาหลายปี

เคยไหมที่ไปต่างจังหวัด คุยจะพบกับส้วมนั่งยอง รู้สึกไม่คุ้นชิน เพราะชีวิตคนเมืองกรุงเคยฟินๆ กับโถนั่งสบายๆ เสมอ

เคยไหมไปปั๊มจะเข้าส้วมทีไรได้แต่สงสัยและวัดใจ ว่าจะได้เจอส้วมนั่งยอง หรือเจอส้วมนั่งฟินที่อาจทำให้เราลุ้นระทึกและหัวใจเต้นตลอดเวลา

ส้วมไทย จากขุดดินนั่งยองสู่นั่งฟิน สะท้อนการแบ่งชนชั้น

แต่ๆ ถ้าคุณย้อนไปในอดีตสังคมสยามของเรา การนิ่งยองๆ อาจเป็นเรื่องปกติ และเอาเข้าใจคุณอาจหย่อนก้นลงไปในแหล่งน้ำ หรือเข้าป่าพร้อมขุดดินหาที่ทำธุระก็เป็นได้

พาไปย้อนชมวิวัฒนาการของส้วมไทย จากขุดดินนั่งยอง สู่นั่งฟิน บนโถที่แสนสบาย

ส้วมไทยยุคโบราณบ่งบอกชนชั้น

ในอดีตการมีส้วมไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เพราะหากคุณจะมีส้วมสักอันต้องเป็นขุนน้ำขุนนาง หรือระดับผู้ปกครองของรัฐ

ในสมัยสุโขทัยเริ่มมีส้วมซึ่งมีลักษณะเป็นหิน มีร่องรับการถ่ายเบา และช่องรับการถ่ายหนักอยู่ตรงกลาง ซึ่งส้วมลักษณะดังกล่าวคือส้วมของชนชั้นพิเศษเท่านั้น ตัวอย่างเช่นพระสงฆ์เรียกอีกอย่างว่า “วัจจกุฎี” , “เร็จกุฎี” หรือ “ถาน” เป็นส้วมเก่าแก่ที่ถูกค้นพบในสมัยสุโขทัยมีอายุราว 700 ปี มีลักษณะเป็นแผ่นรองรับเท้าในขณะขับถ่าย ซึ่งวางไว้เหนือหลุมอุจจาระ จำนวน 3 แผ่น ประกอบไปด้วยเขียงหิน 2 แผ่น เขียงไม้ 1 แผ่น ส่วนด้านหน้ามีรางยาวเพื่อระบายปัสสาวะให้ไหลลงภาชนะที่วางรองรับอยู่

ส้วมไทย จากขุดดินนั่งยองสู่นั่งฟิน สะท้อนการแบ่งชนชั้น

ขณะที่สมัยอยุธยาลาลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศสในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เขียนเล่าไว้เมื่อปี พ.ศ. 2231 ว่า "ในประเทศสยามถือกันว่าเป็นหน้าที่ที่มีเกียรติมาก ถ้าบุคคลใดได้รับแต่งตั้งให้มีหน้าที่เทโถพระบังคล ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งจะต้องนำไปเทลง ณ สถานที่อันกำหนดไว้เพื่อการนี้ และมียามเฝ้าระวังรักษาอย่างกวดขัน มิให้ผู้ใดอื่นกล้ำกรายเข้าไปได้ อาจเป็นเพราะความเชื่อถือโชคลางทางไสยศาสตร์ ซึ่งชาวสยามเชื่อว่าอาจมีผู้ทำกฤตยาคุณได้จากสิ่งปฏิกูลที่ถ่ายออกมาจากร่างกายนั้น"

ส้วมไทย จากขุดดินนั่งยองสู่นั่งฟิน สะท้อนการแบ่งชนชั้น

สะท้อนให้เห็นถึงสถานะของส้วมที่ใช่ว่าใครจะมีได้ง่ายๆ ต้องเป็นระดับกษัตริย์ หรือระดับขุนนางที่ได้รับพระราชทานโถ ถึงจะมีส้วมเป็นของตนเองได้

ขณะที่ส้วมในสมัยรัตนโกสินทร์ มีบันทึกในพระราชพงศาวดารในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้กล่าวถึงที่ลงพระบังคนว่า “ด้วยแต่เดิมหาได้ลงพระบังคนบนพระมหามณเฑียรเหมือนทุกวันนี้ไม่ ต่อเวลาค่อนย่ำรุ่ง ยังไม่สว่าง เสด็จไปที่ห้องพระบังคนหลังพระมหามณเฑียร” ทั้งนี้เป็นการค่อนข้างอันตรายหากจะเสด็จออกนอกพระมหามณเฑียรเพื่อลงพระบังคน ด้วยมีเหตุที่เคยมีคนร้ายจะลอบปลงพระชนม์ นับแต่นั้นมาจึงโปรดให้ทำที่ลงพระบังคนให้ปลอดภัยกว่าเดิมซึ่งก็น่าจะอยู่ภายในพระราชมณเฑียร

ส้วมไทย จากขุดดินนั่งยองสู่นั่งฟิน สะท้อนการแบ่งชนชั้น

สะท้อนให้เห็นว่าแม้กระทั่งในวังการเข้าส้วมก็เป็นเรื่องอันตราย ไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่หลายคนคิด

ขณะมีการสันนิษฐานตำแหน่งของที่ลงพระบังคน จากบทความ "ที่ลงพระบังคน" เขียนโดยจุลลดา ภักดีภูมินทร์ ในนิตยสารสกุลไทย กล่าวว่า “ไม่เคยพบว่ามีหนังสือเล่มใดเขียนถึงที่ลงพระบังคนเป็นเพียงการเล่ากันต่อๆ มาว่า มีห้องเล็กๆ ข้างหลังพระที่นั่งจักรพรรดิพิมานมีไว้สำหรับพระเจ้าแผ่นดินเสด็จทรงลงพระบังคนซึ่งห้องสรงก็คงจะอยู่ใกล้ ๆ กันนั้น”

เมื่อทรงลงพระบังคนแล้วก็จะมีพนักงานนำไปจำเริญ ซึ่งต่อมาโถลงพระบังคนของพระเจ้าแผ่นดินมักทำจากของมีค่า จะนำออกไปน่าจะมีปัญหา ภายหลังจึงโปรดให้พนักงานเตรียมทำกระทงไว้วันละ 3 ใบ เมื่อเสร็จพระราชกิจแล้ว เจ้าพนักงานเพียงเชิญกระทงไปจำเริญโดยวิธีลอยน้ำ

สะท้อนให้เห็นว่าส้วมสำคัญขนาดไหนสำหรับชนชั้นนำของสยาม ถึงขนาดมีการบันทึกและมีหลักฐานปรากฏ โดยส้วมส่วนใหญ่กลายเป็นเรื่องของชนชั้นนำ

ทุ่ง ท่า ป่า สวมชาวบ้านนั่งยองขุดหลุม

การเข้าส้วมเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นต่อมนุษย์ทุกๆ คนและทุกๆ สังคม ขณะที่ชนชั้นนำ มีส้วมเป็นของตนเองรวมถึงส้วมพระราชทาน แต่ชาวบ้านร้านตลาดไม่ได้มีความละเอียดและลึกซึ้งขนาดนั้น

เห็นได้จากหลักฐานว่าชาวบ้านทั่วไป จะเรียกว่าการไปขับถ่ายว่า "ไปทุ่ง" "ไปท่า" และ "ไปป่า" ซึ่งแสดงให้เห็นว่าชาวบ้านไม่มีสถานที่เฉพาะสำหรับการขับถ่ายภายในบ้านของตน จะถ่ายตามทุ่งหรือป่าหรือใกล้แหล่งน้ำ 

ส้วมไทย จากขุดดินนั่งยองสู่นั่งฟิน สะท้อนการแบ่งชนชั้น

ชุมชนบ้านป่าเมื่อปวดท้องถ่าย จะเดินไปหาที่เหมาะๆ ในป่าเพื่อปลดทุกข์ ขณะชาวบ้านทุ่งก็ต้องเลือกป่าละเมาะหรือพุ่มไม้ในหรือสวนไร่นาของหมู่บ้าน อาจจะถือไม้ไปคอยไล่หมูไม่ให้เข้ามากวน ส่วนชาวชุมชนที่อยู่ใกล้น้ำก็อาศัยขับถ่ายบริเวณท่าน้ำหรือริมน้ำและสามารถใช้น้ำชำระล้างได้เลย

สะท้อนถึงการปรับตัวให้เหมาะกับลักษณะของภูมิประเทศที่อยู่กับป่ากับน้ำเป็นสำคัญ ทำให้การเข้าส้วมของชาวบ้านเป็นเรื่องง่ายแต่สำหรับชนชั้นนำกลับเป็นเรื่องที่ซับซ้อนกว่าชาวบ้าน

กำเนิดส้วมสาธารณะ

ในสมัยรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 5 ประชาชนส่วนใหญ่มักขับถ่ายในที่สาธารณะ เช่น ตามตรอกซอกซอย ริมถนน ริมกำแพงวัด หรือริมคลอง ทำให้เกิดปัญหาด้านสุขอนามัย ส่งกลิ่นเหม็น และเป็นสาเหตุของโรคระบาด 

เพื่อแก้ปัญหานี้ ในปี พ.ศ. 2440 กรมสุขาภิบาลได้จัดสร้าง ส้วมสาธารณะ ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยเรียกว่า "เวจสาธารณะ" และออกพระราชกำหนดสุขาภิบาลกรุงเทพฯ บังคับให้ประชาชนขับถ่ายในส้วม

ส้วมไทย จากขุดดินนั่งยองสู่นั่งฟิน สะท้อนการแบ่งชนชั้น

ลักษณะและตำแหน่งที่ตั้งของส้วมสาธารณะส้วมสาธารณะยุคแรกเป็นส้วมแบบ "ส้วมถังเท" มีอาคารไม้ แบ่งเป็นห้องๆ ประมาณ 5-6 ห้อง มักตั้งอยู่บนถนนสายสำคัญ ที่เป็นย่านการค้า เช่น ถนนเจริญกรุง ถนนบำรุงเมือง ถนนเฟื่องนคร 

ตั้งอยู่ตาม ชุมชนวัด เช่น บริเวณหน้าวัดบรมธาตุ ข้างวัดกำโลยี่ ตรอกข้างวัดมหรรณ์ หรือในวัด เช่น วัดบวรนิเวศ วัดราชบูรณะ ตั้งอยู่ใกล้กับ วังเจ้านาย และ สถานที่ราชการ เช่น โรงพัก โรงพยาบาล

โดยฐานส้วมทำจากไม้ เจาะรูสำหรับนั่งขับถ่าย ข้างใต้มีถังรองรับอุจจาระ มีบริษัทเอกชนที่ได้รับสัมปทานจากรัฐ เช่น "บริษัทสอาด" หรือ "บริษัทออนเหวง" ทำหน้าที่เก็บและบรรทุกถังบรรจุอุจจาระ และเปลี่ยนถังใหม่ทุกวัน

ผลของการสร้างส้วมสาธารณะ ทำให้คนเมืองหลวงรู้จักการใช้ส้วม เห็นความสำคัญ และเริ่มสร้างส้วมไว้ในบ้านตนเอง

การสร้างส้วมสาธารณะในสมัยรัชกาลที่ 5 จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาสุขาภิบาลในประเทศไทย นำไปสู่การปรับปรุงคุณภาพชีวิตและสุขอนามัยของประชาชน และลดการแพร่ระบาดของโรคติดต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อเมริกาพาส้วมในบ้านมาสู่ไทย

มหามิตรของไทยในช่วงสงครามโลกจนถึงสงครามเย็นคือสหรัฐอเมริกาอัดฉีดด้านงบประมาณหลายๆ อย่างให้กับไทย แต่น้อยคนจะรู้ว่าอเมริกานำส้วมมาสู่บ้านของคนไทยด้วย

โดยก่อนหน้านั้น รัฐบาลไทยเริ่มส่งเสริมให้ประชาชนสร้างส้วมราดน้ำหรือส้วมคอห่านใช้ในบ้าน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2485 

ต่อมาในปี พ.ศ. 2503 รัฐบาลร่วมมือกับองค์การยูซ่อมของสหรัฐอเมริกา ดำเนิน "โครงการพัฒนาการอนามัยท้องถิ่น" โดยมุ่งเน้นการสร้างส้วมและรณรงค์ให้ประชาชนถ่ายอุจจาระในส้วม

ความพยายามในการส่งเสริมสุขาภิบาลนี้ดำเนินต่อเนื่องมาจนถึง แผนพัฒนาสาธารณสุขฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2530-2534) ในปี พ.ศ. 2532 กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินงานเพื่อให้ประชาชนมีส้วมที่ถูกหลักสุขาภิบาลในทุกครัวเรือน ส่งผลให้ครัวเรือนที่มีส้วมถูกหลักสุขาภิบาลเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 75 เป็นร้อยละ 90 และในปี พ.ศ. 2542 ผลสำรวจพบว่าครัวเรือนร้อยละ 98.1 มีส้วมถูกหลักสุขาภิบาล

ส้วมไทย จากขุดดินนั่งยองสู่นั่งฟิน สะท้อนการแบ่งชนชั้น

ใน แผนพัฒนาสาธารณสุขฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2534-2539) กรมอนามัยได้ส่งเสริมให้ประชาชนเปลี่ยนจากส้วมซึมเป็น ส้วมถังเกรอะ การเปลี่ยนแปลงนี้เน้นเรื่องมาตรฐานและสุขอนามัย โดยถังเกรอะสร้างจากวัสดุที่ป้องกันน้ำซึมเข้า-ออก ช่วยกักเก็บน้ำเสียไว้ในถัง ซึ่งจะเกิดการตกตะกอนและกระบวนการย่อยสลาย ส่วนน้ำที่ใสจะถูกระบายออกจากถังเกรอะผ่านท่อระบายน้ำ

ส่วนส้วมแบบชักโครกเริ่มเข้ามาในเมืองไทยยังจำกัดอยู่ในกลุ่มชนชั้นนำ เช่น เจ้านาย, ขุนนางใหญ่ และบ้านของผู้มีฐานะทางเงิน หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนต้นทศวรรษ 2500 ชักโครกเริ่มมีการใช้แพร่หลายมากขึ้น จนปัจจุบันเป็นสุขภัณฑ์ที่แพร่หลายในเมืองต่างๆ

สะท้อนให้เห็นว่าพัฒนาการของส้วมไทยมีพัฒนาการของแต่ละยุคแต่ละสมัย มาอย่างต่อเนื่อง และสะท้อนให้เห็นการแบ่งชนชั้นเรื่องส้วมด้วย เพราะขณะที่ชนชั้นนำมีส้วมเป็นที่เป็นทาง เป็นผู้นำเข้าเทคโนโลยีที่ตอบสนองความสะดวกสบาย แต่ประชาชนทั่วไปไม่มีที่ทางสำหรับการใช้ส้วมมากนัก

ต้องรอให้ชนชั้นนำเป็นผู้วางนโยบายรวมถึงรอให้ชนชั้นนำเป็นผู้ใช้งานก่อนที่ประชาชนทั่วไปจะได้ใช้ส้วม เป็นภาพสะท้อน ส้วมไทย จากขุดดินนั่งยองสู่นั่งฟิน สะท้อนความเหลื่อมล้ำของสังคม ได้อย่างชัดเจน

อ้างอิง

HFocus / Jiky / SilpaMag / 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง