ส่งมอบต้นแบบ รถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง ช่วยลดฝุ่น PM 2.5 ภายใต้การสนับสนุนของ สสส. ให้กับ กทม. เพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิต สร้างอากาศสะอาดทุกลมหายใจ เพราะ อากาศบริสุทธิ์ เป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน ที่ทุกคนควรได้รับ
รถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง หรือ EV Conversion วิ่งบริเวณศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร โดยมีคุณ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. และ นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุน สสส. นั่งอยู่ด้านหน้าของรถ ถือเป็นส่วนหนึ่งของการทดสอบรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งมีจุดประสงค์ที่ช่วยให้สิ่งแวดล้อมในกทม.ดีขึ้นในอนาคต
โดยการทดสอบรถยนต์ไฟฟ้าครั้งนี้ จะเป็นอีกปัจจัยที่ช่วยลดปริมาณฝุ่น ในกทม. และอีกนัยหนึ่งก็คือ การยกระดับคุณภาพชีวิต สร้างอากาศสะอาดทุกลมหายใจ
สำหรับ รถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง หรือ รถ EV Conversion นั้น เป็นส่วนหนึ่งของ "โครงการสานพลังขับเคลื่อนเคาท์ดาวน์ PM2.5 เพิ่มสุขภาวะคนเมือง (หลวง) ที่ สสส. - กทม. และมูลนิธิส่งเสริมการออกแบบอนาคตประเทศไทย ร่วมมือกัน
โดยจุดมุ่งหมาย คือ ต้องการให้ ฝุ่น PM 2.5 ใน เมืองหลวงลดลง
สำหรับ โครงการนี้ , สสส. เดินหน้าโครงการมาอย่างเป็นรูปธรรม มาตั้งแต่ปี 2566 แล้ว
โครงการ มีหลักการดำเนินงานที่น่าสนใจ อาทิ พัฒนารถยนต์ไฟฟ้าต้นแบบ (EV Conversion) ที่สามารถช่วยลดปัญหาฝุ่นควันจากภาคการจราจรได้ พร้อมสร้างชุดความรู้และคู่มือการดัดแปลงไปใช้ขยายผลในอนาคต
นอกจากนี้ ยังมี ประเด็นอื่นๆ ที่จะช่วยให้คุณภาพอากาศดีขึ้น จากการดำเนินงาน อาทิเช่น
• พัฒนาเครื่องยนต์ต้นกำลังพลังชีวมวล เพื่อลดการเผาในที่โล่ง
• พัฒนาแพลตฟอร์ม Open Data รายงานสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ของ กทม.
• ออกแบบแผนผังการปลูกต้นไม้ ตามนโยบายการปลูกต้นไม้ล้านต้นของ กทม.
• สนับสนุนการบังคับใช้กฎหมาย
• ส่งเสริมการเดินทางลดฝุ่น
• จัดตั้งสภาลมหายใจกรุงเทพมหานคร
จากสิ่งที่จะทำทั้งหมดนั้น ก็เพื่อเป็นกระจกส่องสะท้อนการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 จากปัญหาเล็กๆ ขยายไปสู่สังคม หรือที่เรียกว่า Snowball effect (หรือ การแก้ไขปัญหาที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว คล้ายกับก้อนหิมะที่กลิ้งไปกับพื้นเรื่อยๆ และใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ) การทำมาตรการเหล่านี้ จะสามารถนำไปใช้ขยายผลในอนาคตได้ด้วย
ทั้งนี้ นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุน สสส. มองว่า ปัญหาPM 2.5 เป็นปัญหาที่ต้องใช้ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพราะตอนนี้สถานการณ์ ผู้ป่วย จาก ระบบคลังข้อมูลการแพทย์และสุขภาพ พบว่า ปี 2567 ทั้งประเทศมีผู้ป่วยด้วยโรคจากมลพิษทางอากาศกว่า 9.4 ล้านคน และการเปลี่ยนจาก รถดีเซล โดยเฉพาะดีเซลเก่าๆ ให้เป็นรถ EV จะเป็นการช่วยลด Pm 2.5 ได้
"หวังว่าทุกคนจะมองย้อนกลับมา ที่สุขภาพของตัวเอง PM 2.5 ทำร้ายเรา ทำให้เป็นมะเร็งปอด เราจะช่วยกันเปลี่ยนสังคมได้อย่างไร ทุกคนก็จะต้องยอม ที่จะเปลี่ยนแปลง เป็นรถ EV ทีละเล็กทีละน้อย เริ่มจากก้าวแรกๆ ในการเปลี่ยนรถดีเซล โดยเฉพาะดีเซลเก่าๆ ให้เป็นรถ EV และนำเครื่องเก่านั้น อาจจะมาทำเป็นพลังงานชีวมวล ที่สามารถลด PM 2.5 แล้วปั่นไฟกลับมา อีกครั้งหนึ่งด้วย"
สอดคล้องกับความเห็นของ ผู้ว่า กทม. ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ที่มองว่า ถ้าหาก เปลี่ยนมาใช้รถ EV กันมากขึ้น สภาพอากาศในกทม. ย่อมดีขึ้น
ปัจจุบัน รถน่าจะเป็นส่วนหนึ่งเลย 60% ของ PM 2.5 ในกทม. ดังนั้นถ้าเกิดปัญหามาจากรถยนต์ เราเปลี่ยนครึ่งหนึ่ง ก็ลดได้ 30 % แล้ว สำหรับ 30 % ผมว่า เขียวทุกวันแล้ว
สำหรับ โครงการสานพลังขับเคลื่อนเคาท์ดาวน์ PM2.5 เพิ่มสุขภาวะคนเมือง (หลวง) ถือเป็นการทำงานแบบเชื่อมโยงความร่วมมือ กับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม
นอกจากนี้ ยังมี หน่วยงาน อย่าง สภาลมหายใจกรุงเทพฯ ที่สนับสนุนการแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 ในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล ผ่านการเสริมสร้างการสื่อสาร สู่ภาคประชาสังคมอีกด้วย
โดยการนำองค์ความรู้เกี่ยวกับปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่กระทบต่อสุขภาพคนไทย ไปส่งต่อให้ประชาชนมีตระหนัก เกี่ยวกับปัญหามากขึ้น
และ สิ่งที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใด คือ คุณภาพชีวิตของผู้คนที่ดีขึ้น และมีเมืองที่มีอากาศสะอาดน่าอยู่
เพราะ อากาศบริสุทธิ์ เป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน ที่ทุกคนควรได้รับ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง