svasdssvasds

คนเกาหลีใต้ไม่ได้เหงาเพราะไม่ได้คุยกับใคร แต่เหงาเพราะล้มเหลวในชีวิต ?

คนเกาหลีใต้ไม่ได้เหงาเพราะไม่ได้คุยกับใคร แต่เหงาเพราะล้มเหลวในชีวิต ?

เกาหลีใต้ทุ่มงบ 327 ล้านดอลลาร์เพื่อหยุดยั้ง ‘ความเหงา’ ที่กำลังระบาดอย่างหนักในสังคม เน้นให้คนออกมาใช้ชีวิตนอกบ้านมากขึ้น !

SHORT CUT

  • ทุกปี ชาวเกาหลีใต้หลายพันคนส่วนใหญ่เป็นชายวัยกลางคน เสียชีวิตอย่างเงียบ ๆ และโดดเดี่ยว โบางครั้งอาจต้องใช้เวลาหลายวันหรือหลายสัปดาห์กว่าจะพบศพของพวกเขา
  • ในบางวัฒนธรรม ความเหงาถูกมองว่าเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้น “เมื่อความสัมพันธ์ไม่สมหวัง” หรือ “มีเพื่อนน้อย” “แต่ในเกาหลี ผู้คนมักเหงามากเมื่อรู้สึกว่าตัวเองไม่มีค่า
  • ปี 2024 กรุงโซล ประกาศว่า พวกเขาจะใช้งบประมาณ 451,300 ล้านวอน (เกือบ 327 ล้านดอลลาร์) กับโครงการ 5 ปีข้างหน้า เพื่อ "สร้างเมืองที่ไม่มีใครต้องเหงา" ที่เต็มไปด้วยโครงการมากมาย 

เกาหลีใต้ทุ่มงบ 327 ล้านดอลลาร์เพื่อหยุดยั้ง ‘ความเหงา’ ที่กำลังระบาดอย่างหนักในสังคม เน้นให้คนออกมาใช้ชีวิตนอกบ้านมากขึ้น !

ความเหงา เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน ส่วนใหญ่มาจากเวลาที่คนเราขาดการเชื่อมต่อทางสังคม หรือมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมน้อยกว่าที่เราต้องการ อาจจะรู้สึกว่าตัวเองโดดเดี่ยว ขาดเพื่อน ขาดคนคุย หรือขาดความผูกพันกับคนรอบข้าง ขนเกิดเป็นความเหงา

ทุกปี ชาวเกาหลีใต้หลายพันคนส่วนใหญ่เป็นชายวัยกลางคน เสียชีวิตอย่างเงียบ ๆ และโดดเดี่ยว โดยขาดการติดต่อกับครอบครัวและเพื่อนฝูง บางครั้งอาจต้องใช้เวลาหลายวันหรือหลายสัปดาห์กว่าจะพบศพของพวกเขา

นี่คือ "การเสียชีวิตอย่างโดดเดี่ยว" ซึ่งในภาษาเกาหลีเรียกว่า 'โกดกซา (Godoksa)' ที่กำลังระบาดอย่างหนักในสังคม เป็นปัญหาเร่งด่วนที่รัฐบาลต้องใช้ทุกวิถีทางเพื่อต่อสู้กับปัญหานี้ เพราะ จากการประมาณการพบว่าเกาหลีใต้มีผู้อยู่สันโดษมากถึง 244,000 รายในปี 2022 ส่วนจำนวนผู้เสียชีวิตจากความโดดเดี่ยวก็เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน โดยแตะระดับ 3,661 ในปี 2023 เพิ่มขึ้นจาก 3,559 รายในปี 2022 และ 3,378 รายในปี 2021 ตามตัวเลขล่าสุดของกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการ

คนเกาหลีใต้ไม่ได้เหงาเพราะไม่ได้คุยกับใคร แต่เหงาเพราะล้มเหลวในชีวิต ?

โดยส่วนหนึ่งของการเพิ่มขึ้นของตัวเลขข้างต้น อาจมาจากทางการเกาหลีใต้ เพิ่งจะกำหนดนิยามใหม่ ของคำว่า “การเสียชีวิตอย่างโดดเดี่ยว” ที่กว้างขึ้น โดยผู้เสียชีวิตที่เข้าเกณฑ์นี้ จะต้องเป็นศพที่ถูกค้นพบหลังจากเสียชีวิตมาแล้ว ‘ระยะเวลาหนึ่ง’ และต้องเป็นคนที่ใช้ชีวิตอยู่ลำพัง ถูกตัดขาดจากเครือญาติ เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายหรือเจ็บป่วย จึงจะถือว่าเป็น “การเสียชีวิตอย่างโดดเดี่ยว” 

อีกปัจจัยอีกประการหนึ่งที่อยู่เบื้องหลังการเพิ่มขึ้นดังกล่าว อาจมาจากวิกฤตประชากรของประเทศ ประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้น แต่อัตราการเกิดที่ลดลงโดยเฉพาะในปี 2023 ที่อัตราเกิดต่ำเป็นประวัติการณ์แค่ 230,000 คนเท่านั้น ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่าจำนวนการเกิดอย่างต่อเนื่องในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

สิ่งที่น่าสนใจคือ ผู้เสียชีวิตอย่างโดดเดี่ยวในปี 2023 กว่า 84% เป็นชาย โดยผู้ชายในวัย 50 และ 60 ปีมีมากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้เสียชีวิตทั้งหมด ทำให้กลุ่มนี้ “มีความเสี่ยงสูงต่อการเสียชีวิตเพียงลำพัง

ทำไมคนเกาหลีถึงเหงาหนาดนี้ ? PHOTO Joseph Choi

ทำไมคนเกาหลีถึงเหงาหนาดนี้ ?

แม้ความเหงาไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในเกาหลีใต้เท่านั้น เพราะทหลายประเทศทั่วโลกต่างก็ประสบปัญหาเดียวกัน แต่ที่เกาหลีใต้ มีความแตกต่างอยู่บ้างเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ

ในบางวัฒนธรรม ความเหงาถูกมองว่าเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้น “เมื่อความสัมพันธ์ไม่สมหวัง” หรือ “มีเพื่อนน้อย” “แต่ในเกาหลี ผู้คนมักเหงามากเมื่อรู้สึกว่าตัวเองไม่มีค่าพอหรือไม่มีจุดมุ่งหมายในชีวิต แม้จะอยู่ท่ามกลางเพื่อนฝูงหรือครอบครัวก็ตาม

ในปี 2024 ผู้เชี่ยวชาญของเกาหลีใต้ให้สัมภาษณ์กับ CNN ว่า คนรุ่น Millennials และคน Gen Z ของเกาหลีใต้หลายคนอ่อนไหวต่อคำวิพากษ์วิจารณ์ ขณะเดียวกันก็วิจารณ์ตัวเองมากเกินไปและกลัวความล้มเหลวในชีวิต ยิ่งไปกว่านั้น งานวิจัยชื่อ Exploring Loneliness among Korean Adults: A Concept Mapping Approach ที่เพิ่งออกมาในปีนี้ พบว่า การระบาดของความเหงา มาจาก ‘ความสัมพันธ์’ เพราะชาวเกาหลีใต้เปรียบเทียบกับผู้อื่นรอบข้าง และจะรู้สึกพ่ายแพ้ เมื่อตนเองไม่ได้สร้างผลกระทบที่สำคัญต่อผู้อื่นหรือสังคม

การศึกษาครั้งนี้ยังระบุถึงปัจจัยอื่น ๆ อีก เช่น จำนวนครัวเรือนที่มีบุคคลคนเดียวเพิ่มขึ้น การลดลงของปฏิสัมพันธ์ทางสังคมนอกเหนือจากงานและครอบครัว อิทธิพลของโซเชียลมีเดียและวิธีการที่โซเชียลมีเดียส่งเสริมความรู้สึกไม่พอใจในตัวเอง เนื่องจากวัฒนธรรมของเกาหลีใต้ที่เป็นการแข่งขันและ "มุ่งเน้นความสำเร็จ" ล้วนเป็นแรงพผลักดันให้เกิดความรู้สึกเหงาในหมู่ผู้ที่ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายของตัวเองได้

รัฐบาลเกาหลีทุ่มเงิน แก้ปัญหาความเหงา  PHOTO Reuters pic

รัฐบาลเกาหลีทุ่มเงิน แก้ปัญหาความเหงา 

ทางการเกาหลีใต้ได้ริเริ่มโครงการต่างๆ มากมายในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเพื่อแก้ปัญหาความเหงาของประชากรตัวเอง โดยเฉพาะ ‘พระราชบัญญัติป้องกันและจัดการความตายอันโดดเดี่ยว (The Lonely Death Prevention and Management Act)’ ซึ่งสั่งให้รัฐบาลจัดทำแผนป้องกันที่ครอบคลุมและติดตามสถานการณ์ทุก 5 ปี

ในปี 2024 ทางการของกรุงโซล ประกาศว่า พวกเขาจะใช้งบประมาณ 451,300 ล้านวอน (เกือบ 327 ล้านดอลลาร์) กับโครงการ 5 ปีข้างหน้า เพื่อ "สร้างเมืองที่ไม่มีใครต้องเหงา" โดยในโครงการ ประกอบไปด้วย ที่ปรึกษาเรื่องความเหงาที่ให้บริการผ่านสายด่วนตลอด 24 ชั่วโมง แพลตฟอร์มออนไลน์สำหรับช่วยเหลือคนอยู่ลำพัง รวมทั้งมาตรการติดตามผล เช่น การตรวจเยี่ยมและให้คำปรึกษาแบบพบหน้ากัน

นอกจากนี้ ยังวางแผนให้กรุงโซล มีบริการด้านจิตวิทยาและพื้นที่สีเขียวอย่างทั่วถึง มีการพัฒนาอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ มี “ระบบค้นหาเฉพาะ” เพื่อระบุตัวผู้อยู่อาศัยที่อยู่แบบสันโดษ และกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้ผู้คนออกออกมาพบกันข้างนอกบ้าน เช่น ทำสวน เล่นกีฬา ชมรมอ่านหนังสือ และอื่นๆ ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องทำอย่างเร่งด่วนที่สุด

ที่มา : CNN 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

 

related