svasdssvasds

ฉากสงครามใน ธี่หยด 2 คือศึกเชียงตุง การรบระหว่างไทย-พม่าครั้งสุดท้าย ?

ฉากสงครามใน ธี่หยด 2 คือศึกเชียงตุง การรบระหว่างไทย-พม่าครั้งสุดท้าย ?

‘ศึกเชียงตุง’ การรบระหว่าง 'ไทย' และ 'พม่า' ครั้งสุดท้าย ! สงครามที่เป็นฉากเปิดของ ‘ธี่หยด 2’ และ ‘พี่มาก..พระโขนง’

SHORT CUT

  • สงครามเชียงตุง คือศึกที่ไทยรบกับพม่าเป็นครั้งสุดท้าย หลังจากบาดหมางกันมากกว่า 300 ปี !
  • สงครามเชียงตุงเกิดขึ้น 2 ครั้ง ในสมัยรัชกาลที่ 3 และ รัชกาลที่ 4 ซึ่งฝ่ายไทยล้มเหลวในการยึดเมืองเชียงตุง เสียไพร่พลจำนวนมาก 
  • ปัจจุบัน เชียงตุง เป็นเมืองตั้งอยู่ในรัฐฉานของประเทศพม่า เป็นบ้านของชาวไทเขินและชาวไทใหญ่ นับเป็นเมืองท่องเที่ยวคล้ายๆ เมืองเชียงใหม่ของไทยเลยทีเดียว

‘ศึกเชียงตุง’ การรบระหว่าง 'ไทย' และ 'พม่า' ครั้งสุดท้าย ! สงครามที่เป็นฉากเปิดของ ‘ธี่หยด 2’ และ ‘พี่มาก..พระโขนง’

หากใครได้ดู ‘ธี่หยด 2’ และ ‘พี่มาก..พระโขนง (ปี 2013) ’ อาจสงสัยว่า ฉากรบกันต้นเรื่อง ที่ดูเป็นสงครามใหญ่โตนั้น ทหารไทยกำลังรบกับใครอยู่ ซึ่งคำตอบก็คือ เป็น ‘สงครามเชียงตุง’ ที่ไทยรบกับพม่าเป็นครั้งสุดท้าย หลังจากบาดหมางกันมากกว่า 300 ปี !

โดยสงครามเชียงตุงเกิดขึ้น 2 ครั้ง ในช่วง ค.ศ. 1849 และ ค.ศ.1852 -1853 (พ.ศ. 2392 และ พ.ศ. 2395-2396) ซึ่งหากดูเรื่องราวของแม่นาค ในหนัง ‘พี่มาก..พระโขนง’ แล้ว ไม่แน่ใจว่าเป็นสงครามเชียงตุงครั้งไหน แต่ในธี่หยด 2 มีการระบุตั้งแต่ต้นเรื่องว่าเป็นปี 1850 จึงน่าจะอยู่ในช่วง สงครามเชียงตุงครั้งที่ 1

ฉากสงครามใน ธี่หยด 2 คือศึกเชียงตุง การรบระหว่างไทย-พม่าครั้งสุดท้าย ?

โดยที่มาของสงครามไทยรบพม่าครั้งนี้ !เป็นความพยายามของอาณาจักรสยามในสมัยรัตนโกสินทร์ที่จะเข้ายึดครองรัฐเชียงตุง ซึ่งเป็นรัฐของชาวไทใหญ่ทางตอนเหนือที่อยู่ภายใต้การปกครองของพม่าในสมัยนั้น

สงครามเชียงตุงครั้งที่ 1 

ชนวนเหตุของสงครามเชียงตุงครั้งที่ 1 เกิดขึ้นเมื่อ ราชวงศ์เชียงรุ่งของชาวไทลื้อในดินแดนสิบสองปันนา (ปัจจุบันอยู่ในเขตมณฑลยูนนาน ประเทศจีน) ได้หนีพม่ามาขอพึ่งความช่วยเหลือจากสยามในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ซึ่งทางสยามก็ยินดียกทัพไปช่วยที่ดินแดนสิบสองปันนา แต่ระหว่างทางต้องผ่านเชียงตุง ที่มีปกครองของราชวงศ์คองบองของพม่าปกครองอยู่ จึงนำไปสู่สงครามเมืองเชียงตุง ในปี 1849

ทหารพม่าในศึกเชียงตุง PHOTO Colesworthey Grant  (1813–1880)

ฝ่ายสยามได้สั่งให้กองทัพเชียงใหม่ 5,000 นาย ลำพูน 1,500 คน และพะเยา 1,000 คน ยกไปตีเชียงตุงโดยมี พระยาเชียงใหม่มหาวงส์ หรือต่อมาคือพระเจ้ามโหตรประเทศแห่งเชียงใหม่ เป็นผู้นำทัพ แต่เพราะความขัดแย้งภายในกองทัพ บวกกับขาดเสบียงและกระสุน ทางด้านกษัตริย์เชียงตุงจึงอาศัยความแข็งแกร่งของฝ่ายตั้งรับ รักษาเมืองเอาไว้ได้ แม้ในภายหลังพระเจ้ามโหตรจะร้องขอทัพสนับสนุนจากกรุงเทพ แต่รัชกาลที่ 3 ทรงประชวรหนัก และเสด็จสวรรคตในเดือนเมษายน การศึกเชียงตุงจึงต้องพักไว้ก่อน

สงครามเชียงตุงครั้งที่ 2 

เมื่อขึ้นสู่สมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) สยามก็ต้องการตีเมืองเชียงตุงอีกครั้งในปี 1852 โดยครั้งนี้ ทางกรุงเทพฯจัดทัพเข้าตีเมืองเชียงตุงด้วยตนเองโดยตรง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯมีพระราชโองการให้จัดทัพสยามจากกรุงเทพฯจำนวนทั้งสิ้น 10,000 คน ด้วย ขึ้นไปโจมตีเมืองเชียงตุง โดยมี พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท เสด็จนำทัพหลวงออกจากกรุงเทพ เพื่อไปร่วมทัพเสริมจากล้านนา แต่ผลคือหลังทัพสยามและล้านนาสู้รบกับเชียงตุงเป็นเวลาเจ็ดวัน เมื่อไม่สามารถตีหักเอาเมืองเชียงตุงได้จึงต้องถอยออกมาในที่สุด

พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท

ครั้งต่อมา ในสมัยรัชกาลที่ 4 เช่นเดียวกัน ในปี 1853 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงโปรดฯ ให้กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ยกไปตีเชียงตุงอีก โดยในตอนนั้นฝ่ายสยามมีอาวุธปืนสมัยใหม่จากยุโรปแล้ว แถมยังระดมกำลังได้มากเป็นเท่าตัวกว่าครั้งแรก แต่ทางพระเจ้ามินดงเป็นกษัตริย์องค์ที่ 10 ของราชวงศ์คอนบวงแห่งพม่า สามารถเกณฑ์ไพร่พลชาวพม่าและ ไทใหญ่ มารบได้หลักหมื่นคน คราวนี้จึงไม่ปักหลักอยู่ในเมือง แต่ยกทัพออกมาสู้กับไทยอยากเปิดเผย แม้จะถูกฝ่ายไทยตีแตกไป แต่ก็ทำให้ฝ่ายไทยเสียทั้งเวลาและไพร่พลไปอย่างมากก่อนที่จะถึงเชียงตุง

สุดท้ายฝ่ายไทยก็ต้องถอยทัพเพราะทหารป่วยไข้ เป็นการสิ้นสุดสงครามเชียงตุงครั้งที่ 2 อย่างเป็นทางการ และเป็นศึกจารีตประเพณีครั้งสุดท้ายระหว่างไทยกับพม่าด้วย เพราะหลังจากนั้นพม่าจะเสียเอกราชให้อังกฤษ โดยศึกเชียงตุงทั้งในสมัยรัชกาลที่ 3 และรัชกาลที่ 4 ไทยสูญเสียไพร่พลกว่า 10,000 นาย ส่วนฝั่งพม่าไม่มีข้อมูลเผยออกมา 

แม้หลังจากนั้น จะมีศึกเชียงตงอีกครั้งในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ปี 1941 แต่ครั้งนั้นทหารไทยรบกับทหารจีน ตามคำร้องขอของฝ่ายญี่ปุ่นที่เซ็นสัญญาเป็นพันธมิตรกัน และถึงแม้ทหารไทยจะยึดเชียงตุงได้ แต่สุดท้ายก็ต้องคืนให้อังกฤษ หลังสิ้นสุดสงคราม

เมืองเชียงตุง PHOTO Kaung Su Wai

ปัจจุบัน เชียงตุง เป็นเมืองตั้งอยู่ในรัฐฉานของประเทศพม่า เป็นบ้านของชาวไทเขินและชาวไทใหญ่ นับเป็นเมืองท่องเที่ยวคล้ายๆ เมืองเชียงใหม่ของไทยเลยทีเดียว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

related