SHORT CUT
ความเชื่อเกี่ยวกับแมวดำนั้นแตกต่างกันไปในแต่ละวัฒนธรรม บางแห่งมองว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความโชคร้าย แต่บางแห่งกลับให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างสูง มาดูกันว่าแต่ละประเทศมีความเชื่อเกี่ยวกับแมวดำอย่างไรบ้าง
คนไทยมีความเชื่อเกี่ยวกับแมวดำที่หลากหลาย โดยส่วนใหญ่แล้วคนไทยจะมองว่าแมวดำเป็นสัตว์นำโชคและความมั่งคั่ง ไม่ได้ถือว่าเป็นสัตว์อัปมงคลอย่างที่หลายวัฒนธรรมเชื่อกัน เพราะว่าสมัยโบราณนั้น คนไทยเชื่อว่าแมวดำเป็นแมวมงคล หากเลี้ยงไว้จะช่วยนำพาความโชคดีมาสู่ผู้เลี้ยง ดูได้จากตำราดูลักษณะแมวมงคล ซึ่งแมวดำก็เป็นหนึ่งในนั้น นั่นคือ "แมวโกญจา" แมวขนสั้นที่มีขนสีดำสนิททั้งตัว รูปร่างสง่างามสมส่วน
แม้ว่าโดยส่วนใหญ่คนไทยจะเชื่อว่าแมวดำนำโชค แต่ก็ยังมีความเชื่อที่แตกต่างกันไปในแต่ละท้องที่และแต่ละบุคคล เช่น
ความเชื่อในด้านลบ: ในยุคกลางของยุโรป แมวดำมักถูกเชื่อมโยงกับแม่มดและเวทมนตร์ดำ ทำให้ถูกมองว่าเป็นสัตว์นำโชคร้าย
ความเชื่อในด้านบวก: ปัจจุบันหลายประเทศในยุโรปกลับมองว่าแมวดำเป็นสัตว์นำโชค เช่น ในอังกฤษ ไอร์แลนด์ และสกอตแลนด์
สัตว์ศักดิ์สิทธิ์: แมวดำถูกนับถือว่าเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ของเทพธิดาบาเตส ซึ่งเป็นเทพีแห่งความอุดมสมบูรณ์ ความรัก และการปกป้อง
ความสำคัญ: แมวดำได้รับการดูแลเป็นอย่างดี และมีการฝังศพแมวอย่างสมเกียรติ
แมวมาเนกิเนโกะ: แมวญี่ปุ่นที่มีท่าทางยกมือขึ้น ซึ่งเชื่อกันว่าจะช่วยเรียกโชคลาภและลูกค้ามาให้
ผู้พิทักษ์: แมวดำถูกเชื่อว่าช่วยปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายและนำโชคมาให้
ลัตเวีย: เชื่อว่าแมวดำเป็นเทพเจ้าแห่งการเก็บเกี่ยว ช่วยให้พืชผลอุดมสมบูรณ์
เยอรมัน: เชื่อว่าทิศทางที่แมวดำเดินจะส่งผลต่อโชคลาภ
สหรัฐอเมริกา: มีการกำหนดให้วันที่ 17 สิงหาคม เป็น "วันยกย่องแมวดำ" เพื่อลบภาพลักษณ์ที่ไม่ดีเกี่ยวกับแมวดำ
หลังจาก วันยกย่องแมวดำ ที่ผ่านไปแล้ว วันที่เพิ่มขึ้นมาก็คือ วันแมวดำโลก (Black Cat Day) นั่นเอง โดยจะตรงกับวันที่ 27 ตุลาคมของทุกปี เพื่อลบล้างความเชื่อผิดๆ ของแมวดำให้เป็นที่รักและยอมรับมากขึ้น และส่งเสริมผู้คนหันมาเลี้ยงแมวดำมากขึ้น เพราะแมวสีดำมักเป็นสีที่ถูกทอดทิ้ง
ดังนั้นเราจึงควรให้ความรักและความเอ็นดูกับแมวทุกตัวเท่าเทียมกัน หากคุณรักแมว และสนใจรับเลี้ยงแมวซักตัว ลองเปิดใจให้แมวดำดูนะ
ที่มา springnews
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ทำไม 'แมว' ถึงเป็นมิตรคู่เมืองของชาวตุรกี แม้แต่ นบี มูฮัมหมัด ยังเป็นทาสแมว
iPhone สามารถ ระบุพันธุ์ของสัตว์ได้ เพียงแค่ทำตามนี้ เอาใจทาสหมา ทาสแมว
"แอป CatsMe!” ใช้ AI ตรวจอาการป่วยของแมว วินิจฉัยได้เองก่อนพาไปหาหมอ