SHORT CUT
ชวนอ่านประวัติวันนวราตรี เทศกาลแห่งชัยชนะของความดี เทศกาลสำคัญทางศาสนาฮินดูที่จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองชัยชนะของพระแม่ทุรคา เหนืออสูรมหิษาสูร โดยเป็นการต่อสู้กันนานถึง 9 วัน 9 คืน จนในที่สุดก็สามารถปราบอสูรสำเร็จ ในวันที่ 10
นวราตรี เป็นเทศกาลสำคัญทางศาสนาฮินดูที่จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองชัยชนะของพระแม่ทุรคา (พระแม่อุมาเทวี) เหนืออสูรมหิษาสูร โดยเป็นการต่อสู้กันนานถึง 9 วัน 9 คืน (นวราตรี) จนในที่สุดพระแม่ก็สามารถปราบอสูรได้สำเร็จ ในวันที่ 10 (วิชัยทัสมิ) เพราะเหตุนี้ นวราตรี จึงกลายเป็นหนึ่งในพิธีการยิ่งใหญ่ ที่มีประชาชนผู้ศรัทธาเดินทางมาอย่างคับคั่ง
ดังนั้น นวราตรี จึงแปลว่า เก้าคืน ซึ่งสื่อถึงระยะเวลาในการต่อสู้ของพระแม่ทุรกากับอสูร
โดยงานนวราตรี เป็นอีกเทศกาลประจำปีของวัดพระศรีมหาอุมาเทวี หรือที่เรียกว่า วันแขก ในทุกปีจะมีการบูชาพระแม่ทุรคา หรือพระแม่อุมาเทวี เป็นระยะเวลา 9 คืน แต่จริงๆจัดทั้งหมด 10 คืน มีความเชื่อกันว่าในช่วงเวลานี้ เป็นช่วงที่พระแม่และขบวนเทพจะเสด็จมายังโลก เพื่อประทานพรให้กับมนุษย์ โดยจะมีขบวนอัญเชิญเทวรูป พระแม่อุมาเทวี และเทวรูปองค์อื่นๆ ออกมาแห่บนถนนให้ผู้คนเคารพสักการะ
การแต่งกาย: แต่งกายชุดสีขาว ชุดส่าหรีแบบอินเดีย หรือเสื้อผ้าสีสันสดใส พร้อมดอกไม้สีเหลือง สีแดง ควรเลี่ยง เสื้อผ้าโทนดำ
ในปีนี้ วันวิชัยทัสมิ เป็นวันที่ 12 ตุลาคม 2567 ขบวนแห่เคลื่อนออกจากวัดพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขก สีลม) ในเวลา 19:30 น. มีทั้งหมด 8 ขบวน
โดยก่อนเคลื่อนขบวนราชรถคันใหญ่ขององค์พระแม่อุมาเทวี พระแม่มหาลักษมี และพระแม่มหาสรัสวตี จะมีพิธีทุบมะพร้าว โดยสานุศิษย์จะปามะพร้าวลงบนพื้น ที่เหมือนผลไม้แห่งพระเจ้า ที่ศักดิ์สิทธิ์ บริสุทธิ์ สะอาด
ชาวฮินดู เชื่อสืบต่อกันมาว่า การทุบมะพร้าวเบื้องหน้าพระพักตร์ของเทวรูปที่นับถือ เป็นการแสดงถึงการทำลายหรือละทิ้งอัตตาของตนเอง แด่พระผู้เป็นเจ้า
ที่มา nationtv.tv
ข่าวที่เกี่ยวข้อง