svasdssvasds

ผู้หญิงไทยเคยมีอำนาจ? ศาสนาพราหมณ์-พุทธ เปลี่ยนสถานะผู้หญิงอย่างไร?

ผู้หญิงไทยเคยมีอำนาจ? ศาสนาพราหมณ์-พุทธ เปลี่ยนสถานะผู้หญิงอย่างไร?

ในอดีตผู้หญิงเคยมีอำนาจ แต่เพราะพุทธ-พราหมณ์ ทำให้ชายแท้ผงาด ย้อนอดีตความเป็นหญิงแท้ ชายแท้ของสังคมไทยที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่อดีตกาล

SHORT CUT

  • ศาสนาผีเป็นศาสนาที่ทำให้ผู้หญิงเคยเป็นใหญ่มาก่อน เห็นได้จากเจ้าแม่โคกพนมดี
  • แต่เมื่อศาสนาพราหมณ์และพุทธเข้ามาทำให้อำนาจของผู้หญิงลดลงและแทนที่ด้วยอำนาจของผู้ชาย
  • ทำให้ในปัจจุบันเราเห็นภาพสังคมที่ไม่เท่าเทียมมำคำว่า "ชายแท้" ส่งผลให้สังคมไทยเกิดการเรียกร้องความเท่าเทียมมากขึ้น

ในอดีตผู้หญิงเคยมีอำนาจ แต่เพราะพุทธ-พราหมณ์ ทำให้ชายแท้ผงาด ย้อนอดีตความเป็นหญิงแท้ ชายแท้ของสังคมไทยที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่อดีตกาล

เรามักจะพูดว่าสังคมไทยคือสังคมที่ชายเป็นใหญ่ เป็นสังคมที่กดขี่ให้ผู้หญิงอยู่ใต้อำนาจตลอดเวลา ถึงขั้นเป็นสังคมที่มีเฟมินิสต์ เฟมทวิต ต้องออกมาเรียกร้องสิทธิของผู้หญิงอยู่ตลอดเวลา

แต่ในความเป็นจริงนั้นสังคมชายเป็นใหญ่ ไม่ใช่วัฒนธรรมดั้งเดิมของไทย เพราะประเทศไทยเคยนับถือศาสนาผีที่ผู้หญิงเปรียบเสมือนคนเชื่อมกับจิตวิญญาณในธรรมชาติ รวมถึงเป็นผู้ให้กำเนิด ที่เชื่อว่าเปรียบเสมือนการให้ชีวิต ทำให้สถานะของพวกเขาเคยสูงส่ง

เจ้าแม่คำเรียกที่บ่งบอกถึงอำนาจผู้หญิง

แต่เพราะการรับศาสนาพราหมณ์และพุทธ เข้ามาทำให้สังคมชายเป็นใหญ่ถือกำเนิดขึ้นและสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน

นี่คือเรื่องราวของ อดีตผู้หญิงเคยมีอำนาจ แต่เพราะพุทธ-พราหมณ์ ทำให้ชายแท้ผงาด ที่ได้อุบัติขึ้น ชวนให้ย้อนมองสถานภาพของผู้หญิงและชายในประเทศไทย ในวันที่เราต้องการความเท่าเทียม และเสรีภาพในการแสดงออก

ย้อนรอยประวัติศาสตร์: ผู้หญิงไทยเคยมีอำนาจอย่างไร?

ในอดีตก่อนที่ศาสนาพราหมณ์และพุทธจะเข้ามา ผู้หญิงไทยมีบทบาทสำคัญในสังคม พวกเขาเป็นทั้งหัวหน้าชนเผ่า หมอผี นักบวชประจำเผ่า และเชื่อกันว่าผู้หญิงสามารถติดต่อกับธรรมชาติหรือผีได้

ประเทศไทยตั้งแต่ครั้งอดีตกาลก่อนศาสนาพราหมณ์หรือพุทธจะเข้ามามีอิทธิพลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อราว 4,000 ปีที่แล้ว เป็นห้วงเวลาที่ผู้หญิงมีอิทธิพลเป็นอย่างมาก ผู้คนในยุคนั้นให้การนับถือผู้หญิงเพราะพวกเขาเชื่อว่าสตรีสามารถติดต่อกับธรรมชาติหรือผีได้ รวมถึงพวกเขานั้นเสมือนได้พรจากธรรมชาติด้วยการให้กำเนิดทารก ขณะที่เพศชายทำไม่ได้นั่นเอง

สถานะผู้หญิง ณ ยุคสมัยนั้นจึงสูงส่งและเป็นเคารพอย่างมาก พวกเขาอยู่ในสถานะเป็นทั้งหัวหน้าชนเผ่า หมอผี นักบวชประจำเผ่า

หลักฐานที่ปรากฏเด่นชัดที่สุดในประเทศไทยคือ สุสานเจ้าแม่โคกพนมดีอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี เป็นชุมชนก่อนประวัติศาสตร์บริเวณชายฝั่งอ่าวไทย

และในหลุมศพของสตรี คนหนึ่งปรากฏด้วยจำนวนเครื่องประดับและทรัพย์สมบัติจำนวนมากนี่เอง ทำให้โครงกระดูกหมายเลข 15 ถูกขนานนามว่า “เจ้าแม่แห่งโคกพนมดี”

การพบสิ่งของและเครื่องประดับมากมายขนาดนี้ชี้ให้เห็นว่าเจ้าแม่แห่งโคกพนมดีน่าจะเป็นสตรีที่มีบทบาทสำคัญชุมชนในสมัยนั้น บอกได้ถึงสถานะของผู้หญิงยุคนั้นว่าเป็นยุค “สตรีเป็นใหญ่”

หรือรากศัพท์ของคำว่า “แม่” ที่สุจิตต์ วงษ์เทศ นิยามไว้ว่าเป็นคำเรียกถึง สิ่งที่เป็นใหญ่ เป็นหัวหน้า เป็นสำคัญ จึงมีคำว่าแม่นำหน้า เช่น แม่น้ำ, แม่ทัพ, แม่เหล็ก,

สะท้อนให้เห็นว่าในอดีตนั้นอิทธิพลของเพศหญิงมีอิทธิพลค่อนข้างมากในสังคม

ศาสนาพราหมณ์-พุทธ: จุดเปลี่ยนบทบาทผู้หญิง

เมื่อศาสนาพราหมณ์และพุทธเข้ามาสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อิทธิพลของศาสนาเหล่านี้ส่งผลต่อสถานะผู้หญิงอย่างมาก ศาสนาพราหมณ์นำระบบวรรณะมาใช้ เน้นความสำคัญของผู้ชาย และเทพเจ้าหลักๆ ก็เป็นผู้ชาย เช่น พระศิวะ พระนารายณ์ ส่งผลให้ผู้หญิงถูกมองด้อยค่าลง ศาสนาพุทธเองก็มีแนวคิดชายเป็นใหญ่ เห็นได้จากการที่พระภิกษุมีบทบาทสำคัญกว่าภิกษุณี

แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์มาจากอินเดียตั้งแต่สมัยทวารวดี อิทธิพลของศาสนาพราหมณ์มีทั้งระบบวรรณะ และการที่นำเทพผู้ชายอย่างพระศิวะ พระนารายณ์ รวมถึงเทพอื่นๆ ขึ้นมาแทนเทพฝั่งสตรี เห็นได้จากตำนานหรือมหากาพย์ที่เป็นเรื่องการอวตารของเทพฝ่ายบุรุษเป็นตัวหลัก ขณะที่เทพฝ่ายสตรีเป็นตัวประกอบมากกว่าจะเป็นตัวหลักของเรื่องราวต่างๆ

เทพในศาสนาพราหมณ์

อิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ทำให้ศาสนาผีที่เคยนับถือในภูมิภาคนี้ถูกลดทอนลงไปพร้อมกับบทบาทของสตรีเพศด้วย

ศาสนาพุทธได้เข้ามามีอิทธิพลในไทยในยุคเวลาใกล้เคียงกันโดยศาสนาพุทธ โดยศาสนาพุทธเอง ก็เป็นศาสนาที่เชื่อเรื่องเพศชายเป็นใหญ่เช่นกัน เห็นได้จากนักบวชที่ส่วนใหญ่เป็นภิกษุ ถึงแม้จะมีภิกษุณีก็ตาม แต่ภิกษุก็ดูจะเป็นผู้มีอิทธิพลในศาสนามากกว่า

หรือความเชื่อที่ตกมาถึงปัจจุบันเช่นการเกาะชายผ้าเหลืองลูกที่เป็นผู้ชายขึ้นสวรรค์ก็เป็นตัวสะท้อนได้ดีว่าศาสนาพุทธในประเทศไทยสร้างให้ผู้ชายเป็นใหญ่เหนือกว่าผู้หญิง

มักมีคำถามว่าทำไมชนชั้นนำในดินแดนประเทศอุษาคเนย์ถึงยอมรับการมีอิทธิพลของศาสนาพุทธได้ง่ายดาย คำตอบก็คือศาสนาพุทธเองโดยเฉพาะนิกายเถรวาทเป็นตัวเสริมความมั่งคั่งให้กับชนชั้นนำ เรื่องของการสะสมทรัพย์สิน การทำบุญทำทาน ที่เชื่อในชาติหน้าจะได้เกิดเป็นคนที่สมบัติพร้อมทั้งรูปร่างหน้าตาและทรัพย์สิน รวมถึงความเชื่อหากผู้หญิงทำบุญมากชาติหน้าจะได้เกิดเป็นผู้ชายที่สามารถบวชได้อีกด้วย

สะท้อนให้เห็นว่าเมื่อศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธเข้ามา ทำให้อิทธิพลของศาสนาผีน้อยลง ส่งผลต่อสถานะภาพสตรีที่ถูกลดทอนไปพร้อมกับศาสนาผี

ปัจจุบัน: เสียงเรียกร้องความเท่าเทียม

ในปัจจุบัน สังคมไทยเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของความเท่าเทียมระหว่างเพศมากขึ้น ผู้หญิงไทยลุกขึ้นต่อสู้เพื่อสิทธิและเสรีภาพ มีการถกเถียงประเด็นการกดขี่ผู้หญิงในสังคมอย่างเปิดเผย แนวคิด "ชายแท้" เริ่มถูกวิพากษ์วิจารณ์ ผู้หญิงหลายคนมีบทบาทสำคัญในสังคม ทั้งในด้านการเมือง ธุรกิจ และวัฒนธรรม

แต่เช่นนั้นศาสนาผีก็ไม่ได้ถูกทำให้หายไปหมดจากสังคมไทย เห็นได้จากร่างทรงที่มักจะเป็นผู้หญิง เจ้าแม่ต่างๆ ตามต้นไม้โบราณที่มักเชื่อว่าเป็นผู้หญิง หรือเรื่องผีเองเมื่อเราจินตนาการมักถึงภาพผู้หญิงมาเป็นลำดับแรกๆ มากกว่าเพศชาย

ขณะที่ในยุคปัจจุบันเอง เป็นยุคที่เราพูดถึงความเท่าเทียมและความเสมอภาคมากขึ้น ประเด็นของผู้หญิงที่ถูกกดขี่ ทำให้สถานะต่ำกว่าผู้ชายถูกพูดถึงและถกเถียงในระดับสาธารณะมากขึ้น ไม่ใช่แค่การเรียกร้องแต่พูดถึงวิธีการทำอย่างไรให้เกิดการเท่าเทียม

ศาสนาพุทธศาสนาที่ผู้ชายค่อนข้างเป็นใหญ่

ผู้ชายคนไหนที่มีลักษณะมีความเป็นใหญ่สูงหรือที่เรียกว่า “ชายแท้” ถูกประณามจากสังคมที่มีความเท่าเทียมสูงจนยากที่จะอยู่หรือต้องปรับตัวเพื่อให้อยู่ในสังคมได้

ขณะที่ศาสนาพุทธเองถึงจะเป็นศาสนาประจำชาติ แต่ไม่ได้ทำให้เชื่อฝังลึกเหมือนในอดีต ทำให้อิทธิพลของศาสนาที่ชายเป็นใหญ่ค่อยๆ ถูกลดทอนลง ในขณะที่ศาสนาผียังแอบแฝงอยู่ในสังคมไทยไม่เคยเปลี่ยนแปลง

นี่เป็นเรื่องรางของ ในอดีตผู้หญิงเคยมีอำนาจ แต่เพราะพุทธ-พราหมณ์ ทำให้ชายแท้ผงาดนั่นเอง และอันที่จริงแล้วเราอาจจะวนเวียนกับสิ่งนี้อยู่ตลอดเวลา แต่เพราะเราอาจไม่รู้ตัว คุณลองกลับบ้านไปก็จะรู้เพราะจะเจอทั้งแม่ ทั้งเมียที่เป็นใหญ่ มากกว่าที่กลับบ้านไปเห็นภาพสามีบ่นภรรยาหรือผู้ชายบ่นผู้หญิงเสียอีก แด่สังคมที่เท่าเทียม แด่ประเทศไทย

บทสรุป

แม้ว่าอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์และพุทธจะส่งผลต่อสถานะผู้หญิงไทยในอดีต แต่ผู้หญิงไทยยังคงมีบทบาทสำคัญในสังคม ปัจจุบัน ผู้หญิงไทยมีความตื่นรู้และกล้าแสดงออกมากขึ้น เสียงเรียกร้องความเท่าเทียมดังก้องกังวาน และอนาคตของผู้หญิงไทยดูสดใสขึ้น

อ้างอิง

Matichonweekly / SilpaMag / BBC / NgThai / TheMatter /

ข่าวที่เกี่ยวข้อง