svasdssvasds

ค่ารถแพงแถมรถติด สาเหตุสุดฮิต ทำคนไม่เข้าออฟฟิศ ชี้ เสียทั้งเงินและเวลา

ค่ารถแพงแถมรถติด สาเหตุสุดฮิต ทำคนไม่เข้าออฟฟิศ ชี้ เสียทั้งเงินและเวลา

ค่ารถแพงแถมรถติด สาเหตุสุดฮิต ทำคนไม่เข้าออฟฟิศ ชี้ เสียทั้งเงินและเวลา บริษัททั่วโลกต้องคิดว่าจะทำอย่างไรเพื่อให้ได้การทำงานที่ดีที่สุด

SHORT CUT

  • ค่ารถแพงแถมรถติดเล่นเอาชาวออฟฟิศไม่อยากทำงาน

  • วิธีแก้อาจมี 2 วิธีคือ 1 การทำงานที่บ้านและ 2 คือมีสวัสดิการเช่นค่าเดินทางดึงดูดพนักงานเข้าออฟฟิศ

  • และอีกอย่างหากมีเมืองที่ดี ผังเมืองที่โดน ระบบขนส่งที่เข้าถึงได้ง่ายอาจทำให้คนสะดวกในการเดินทางก็เป็นได้

ค่ารถแพงแถมรถติด สาเหตุสุดฮิต ทำคนไม่เข้าออฟฟิศ ชี้ เสียทั้งเงินและเวลา บริษัททั่วโลกต้องคิดว่าจะทำอย่างไรเพื่อให้ได้การทำงานที่ดีที่สุด

เทรนด์การทำงานแบบไฮบริด กำลังเป็นที่นิยมในเมืองใหญ่ทั่วโลก พนักงานส่วนใหญ่มักจะทำงานที่บ้าน 1-2 วันต่อสัปดาห์ และเข้าออฟฟิศ 3-4 วันต่อสัปดาห์ แต่จากการศึกษาของศูนย์วิจัยเมือง (Centre for Cities) พบว่า พนักงานในลอนดอนกลับเข้าออฟฟิศน้อยกว่าเมืองใหญ่อื่นๆ โดยเฉลี่ยเพียง 2.7 วันต่อสัปดาห์ เท่านั้น น้อยกว่าเมืองอย่างปารีส (3.5 วัน), สิงคโปร์ (3.2 วัน) และนิวยอร์ก (3.1 วัน)

ส่วนสาเหตุหลักที่ทำให้พนักงานลอนดอนไม่อยากกลับเข้าออฟฟิศคือ

ค่าเดินทางแพง: พนักงานลอนดอนถึง 42% ให้เหตุผลว่า การทำงานที่บ้านช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางได้

รถติด: พนักงานมองว่าการไม่ต้องเดินทางฝ่ารถติดเข้าเมืองช่วยประหยัดเวลาได้

ปรากฏการณ์นี้สร้างความกังวลว่าอาจส่งผลกระทบต่อ ประสิทธิภาพการทำงาน และ ความน่าดึงดูดใจของลอนดอนในฐานะศูนย์กลางการลงทุน หากสถานการณ์ยังเป็นแบบนี้ต่อไป ลอนดอนอาจเสียเปรียบเมืองอื่นๆ ในการแข่งขันทางเศรษฐกิจโลกได้

อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยเมืองมีข้อเสนอแนะว่า องค์กรควรมี สวัสดิการที่ดึงดูดใจ เช่น การช่วยเหลือค่าเดินทาง เพื่อจูงใจให้พนักงานกลับเข้าออฟฟิศมากขึ้น

วิธีการดึงดูดพนักงานกลับเข้าออฟฟิศ ตามงานวิจัย

งานวิจัยของศูนย์วิจัยเมือง (Centre for Cities) เสนอแนะว่า องค์กรควรมีสวัสดิการที่ดึงดูดใจเพื่อจูงใจให้พนักงานกลับเข้าออฟฟิศมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการช่วยเหลือในเรื่อง ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้พนักงานในลอนดอนเลือกทำงานที่บ้าน

นอกจากนี้ งานวิจัยยังเสนอแนะให้มีการ วัดผลกระทบของการทำงานแบบไฮบริด ว่ามีข้อดีข้อเสียต่อผลิตผลในระดับประเทศอย่างไร ซึ่งอาจเป็นข้อมูลที่ช่วยให้องค์กรต่างๆ พิจารณานโยบายการทำงานที่เหมาะสม และสามารถดึงดูดพนักงานให้กลับเข้าออฟฟิศได้มากขึ้น

อ้างอิง

กรุงเทพธุรกิจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related