svasdssvasds

เช็กหัวไหล่ด่วน! ปลูกฝีป้องกันฝีดาษ แผลแบบไหน? เกิดหลังปี 2523 เสี่ยง "ฝีดาษลิง" มากกว่า?

เช็กหัวไหล่ด่วน! ปลูกฝีป้องกันฝีดาษ แผลแบบไหน? เกิดหลังปี 2523 เสี่ยง "ฝีดาษลิง" มากกว่า?

"ฝีดาษลิง" อาการ ความรุนแรงของโรค แนวทางรักษา พร้อมยกเหตุผลที่ว่า ทำไมคนเกิดหลังปี 2523 ถึงเสี่ยงต่อโรคมากกว่า

SHORT CUT

  • การปลูกฝี คือการฉีดวัคซีนอย่างหนึ่ง โดยจะนำเอาเชื้อไวรัสในหนองฝี เข้าไปอยู่ในชั้นผิวหนังบริเวณต้นแขนของผู้ที่ยังไม่เคยเป็นโรค
  • ทำให้เกิดตุ่มหนองเฉพาะที่ขึ้นมา และเมื่อภูมิคุ้มกันเอาชนะเชื้อไวรัสได้ ตุ่มหนองนั้นก็จะค่อยๆ แห้งและตกสะเก็ดเป็นแผลเป็นบนร่างกาย
  • ฝีดาษลิง อาการรุนแรงมักพบในเด็ก โดยอัตราการตายในแอฟริกาพบ 10% วัคซีนไข้ทรพิษช่วยป้องกันได้ 85% คนเกิดหลังปี 2523 ไม่ได้ปลูกฝีอาจเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรค

"ฝีดาษลิง" อาการ ความรุนแรงของโรค แนวทางรักษา พร้อมยกเหตุผลที่ว่า ทำไมคนเกิดหลังปี 2523 ถึงเสี่ยงต่อโรคมากกว่า

การปลูกฝี ภาษาอังกฤษเรียกว่า Vaccination คือการฉีดวัคซีนอย่างหนึ่ง โดยจะนำเอาเชื้อไวรัสในหนองฝี เข้าไปอยู่ในชั้นผิวหนังบริเวณต้นแขนของผู้ที่ยังไม่เคยเป็นโรค เพื่อให้เชื้อเพิ่มจำนวนต่อไปและช่วยกระตุ้นร่างกายให้สร้างภูมิคุ้มกันต่อโรค ซึ่งกระบวนการนี้จะก่อให้เกิดตุ่มหนองเฉพาะที่ขึ้นมา และเมื่อภูมิคุ้มกันเอาชนะเชื้อไวรัสได้ ตุ่มหนองนั้นก็จะค่อยๆ แห้งและตกสะเก็ดเป็นแผลเป็นบนร่างกาย

ปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ

  • แผลเป็นมีลักษณะแบนเรียบ หรือเป็นหลุมลงไปเล็กน้อย
  • ขนาดประมาณเหรียญบาทขึ้นไป
  • การตรวจสอบแผลเป็น ส่วนใหญ่จะฉีดที่ต้นแขนซ้าย

 

ปลูกฝีป้องกันวัณโรค

  • แผลจะเล็กประมาณ 5 มิลลิเมตร (เล็กกว่ากว่าปลูกฝีดาษ)
  • มีการบุ๋มของผิว หรือนูนของผิว มากกว่าแผลเป็นจากวัคซีนป้องกันฝีดาษ

ด้านกรมควบคุมโรคเผยยังไม่มียารักษาฝีดาษลิงโดยเฉพาะ ส่วนใหญ่หายเองได้ อาการรุนแรงมักพบในเด็ก โดยอัตราการตายในแอฟริกาพบ 10% วัคซีนไข้ทรพิษช่วยป้องกันได้ 85% ซึ่งคนเกิดหลังปี 2523 ไม่ได้ปลูกฝีอาจเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคฝีดาษลิง โดยอธิบดีกรมควบคุมโรคได้กล่าวถึงโรคฝีดาษลิงว่า โรคดังกล่าวไม่ใช่โรคใหม่ เคยระบาดมาแล้วมากกว่า 20 ปี และเกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่ม Poxviridae อยู่ในจีนัส Orthopoxvirus เช่นเดียวกับไวรัสฝีดาษคนหรือไข้ทรพิษ (variola virus) ไวรัสที่นำมาผลิตวัคซีนป้องกันฝีดาษในคน (vaccinia virus) และฝีดาษวัว (cowpox virus)

ทั้งนี้ ไวรัสฝีดาษลิงพบได้ในสัตว์หลายชนิด โดยเฉพาะตระกูลลิงและสัตว์ฟันแทะ เช่น กระรอก หนูป่า เป็นต้น รวมทั้งคนก็ติดโรคได้ คนจะติดโรคจากการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่ง หรือตุ่มหนองของสัตว์ที่ติดเชื้อ หรือจากการถูกสัตว์ที่มีเชื้อกัดข่วน การประกอบอาหารจากเนื้อสัตว์ป่า หรือกินเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุกไม่เพียงพอ หรืออาจติดทางอ้อมจากการสัมผัสที่นอนของสัตว์ป่วย การแพร่เชื้อจากคนสู่คนแม้มีโอกาสน้อย แต่อาจเกิดขึ้นได้จากการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยผ่านทางสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ ผิวหนังที่เป็นตุ่ม หรืออุปกรณ์ที่มีการปนเปื้อนเชื้อ

เคยสังเกตหรือไม่ รอยแผลเป็นที่หัวไหล่ของเรามีลักษณะเป็นอย่างไร

แผลเป็นจากการฉีดวัคซีนวัณโรค (BCG) จะมีลักษณะ “แผลนูน” เนื่องมาจากการสะกิดและฉีดวัคซีนเข้าไปที่ใต้ผิวหนัง ทำให้มีแผลเป็นที่มีลักษณะนูนขึ้นมา ปัจจุบันเป็นวัคซีนพื้นฐานที่ทารกแรกเกิดต้องได้รับทุกคน ซึ่งรอยแผลเป็นจะมีลักษณะแตกต่างกันกับแผลปลูกฝีป้องกันโรคฝีดาษ ที่เป็นการใช้มีดลักษณะปลายแหลมเล็กฉีดวัคซีนเข้าไป จึงทำให้เกิดรอยบากบริเวณผิวหนัง ผู้ที่ได้รับวัคซีนฝีดาษ (Smallpox) จะมีรอยแผลเป็นที่แบนราบกว่ามีลักษณะ “แผลบุ๋ม” ซึ่งผู้ที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษ คือ ผู้ที่เกิดก่อนปี พ.ศ. 2523 หรือมีอายุมากกว่า 42 ปีขึ้นไป ทุกคนที่เกิดหลังปี พ.ศ.2523 จะไม่ได้รับวัคซีนชนิดนี้ เพราะโรคไข้ฝีดาษได้ถูกกำจัดไปจนหมดแล้ว

ด้านกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า คนไทยที่ได้รับวัคซีนฝีดาษ หรือได้รับการปลูกฝีดาษในอดีตเมื่อ 40 ปีก่อน  แต่หลังจากปี 2523 จะไม่ได้มีการปลูกฝีดาษอีก เพราะขณะนั้นกวาดล้างฝีดาษหมดแล้ว อย่างไรก็ตาม กรมฯ จึงทำการตรวจหาระดับภูมิคุ้มกันในคนที่ไดรับวัคซีนฝีดาษวานร โดยวิธี Plaque Reduction Neutralization Test (PRNT) ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐาน โดยนำน้ำเลือดมาจางลงเป็นเท่าๆ จนกระทั่งถึงจุดฆ่าเชื้อได้ครึ่งหนึ่ง หรือที่เรียกว่า PRNT 50% ส่วนจะออกมาเป็นไตเตอร์เท่าไหร่ก็จะเป็นตัวเลขเพื่อพิจารณาว่าได้ผลหรือไม่ โดยใช้เวลา 1 สัปดาห์

ที่ผ่านมาเราได้หาอาสาสมัครมาดำเนินการแบ่งตามกลุ่มอายุ โดยแต่ละกลุ่มมี 10 คนในการศึกษา ตรวจทั้งสองสายพันธุ์ คือ B.1 และ A.2   โดยแบ่งเป็นอายุ 45-54 ปี  อายุ 55-64 ปี อายุ 65-74 ปี อย่างไรก็ตาม ข้อมูล คือ ต้องมีระดับไตเตอร์(titer) มากกว่า 32 จึงถือว่ามีภูมิคุ้มกันที่สามารถลบล้างฤทธิ์ไวรัสฝีดาษวานรได้ ดังนั้น หากต่ำกว่า 32 แม้มีภูมิฯ แต่ไม่สูงพอจัดการได้ 

โดยผลตรวจพบว่า อายุ 45-54 ปี ส่วนใหญ่ไม่มีภูมิฯ ขึ้นถึง 32 ขณะที่อายุ 55-64 ปี ภูมิคุ้มกันไม่แตกต่างมาก มีเพียง 2 รายที่มีภูมิฯ ต่อ A.2 คือ 35 กับ 39 ซึ่งป้องกันได้ แต่ปริ่มๆ ส่วนอายุ 65-74 ปี ไม่มีใครถึงระดับ 32 เช่นกัน

นอกจากนี้ยังตรวจคนที่ติดเชื้อ เพราะเหมือนได้รับวัคซีนธรรมชาติ พบว่า ในกลุ่มนี้สายพันธุ์ A.2  โดยสายพันธุ์ B.1 เราไม่ได้นำมาวิเคราะห์โดยตรง ซึ่งพบว่า กลุ่มนี้มีภูมิฯต่อ A2 สูงมาก และเมื่อมาเทสกับ B.1 ป้องกันได้จำนวนหนึ่ง  นี่คือหลักการธรรมชาติ แต่ไม่ได้ต้องการให้ไปติดเชื้อจะได้มีภูมิฯ ส่วนคนที่ไม่ได้รับวัคซีน เป็นเด็กรุ่นหลัง เรามาตรวจ 3 ราย พบว่า ไม่มีภูมิคุ้มกันใดๆ ทั้งสิ้น ภูมิฯขึ้นต่ำกว่า 4 

ที่มา : โรงพยาบาลบางปะกอก 3 , กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ , โรงพยาบาลศิครินทร์

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

related