svasdssvasds

หมอยง เตือน "ฝีดาษลิง" สายพันธุ์ใหม่ รุนแรงกว่าเดิม อาจระบาดใหญ่ทั่วโลก

หมอยง เตือน "ฝีดาษลิง" สายพันธุ์ใหม่ รุนแรงกว่าเดิม อาจระบาดใหญ่ทั่วโลก

เตือน! โรคฝีดาษลิงสายพันธุ์ใหม่ Clade 1b รุนแรงกว่าเดิม ถึงขั้นระบาดใหญ่ทั่วโลก เพียงแค่ฝอยละอองทางการหายใจ ก็สามารถทำให้ติดได้

SHORT CUT

  • การระบาดของฝีดาษวานร ในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา ระบาดมากนอกทวีปแอฟริกา เป็นสายพันธุ์กลุ่ม 2 Clade 2b
  • รวมทั้งที่พบในประเทศไทยมากกว่า 400 ราย สายพันธุ์นี้ไม่รุนแรง พบในผู้ใหญ่ เพศชาย
  • สายพันธุ์ดั้งเดิมที่อยู่ในกลุ่มที่ 1 Clade 1 และมีการเปลี่ยนแปลงเป็น Clade 1b พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ชายและหญิง และที่เสียชีวิตมากส่วนใหญ่จะเป็นเด็ก

เตือน! โรคฝีดาษลิงสายพันธุ์ใหม่ Clade 1b รุนแรงกว่าเดิม ถึงขั้นระบาดใหญ่ทั่วโลก เพียงแค่ฝอยละอองทางการหายใจ ก็สามารถทำให้ติดได้

ฝีดาษลิง (monkeypox) เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากสัตว์ ซึ่งมีอาการแสดงในมนุษย์คล้ายคลึงกับฝีดาษหรือไข้ทรพิษ มีรายงานอุบัติการณ์เกิดการระบาดในประเทศแถบทวีปแอฟริกา เนื่องในปัจจุบันมีการเดินทางข้ามทวีป ทำให้มีการเกิดการระบาดของโรคฝีดาษลิงส่วนอื่นของโลก เช่น ยุโรป และอเมริกา 

ด้าน ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ประเด็น ฝีดาษวานร MPOX สายพันธุ์ที่ต้องเฝ้าระวัง

เดิมการระบาดของฝีดาษวานร ในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา ระบาดมากนอกทวีปแอฟริกา เป็นสายพันธุ์กลุ่ม 2 Clade 2b รวมทั้งที่พบในประเทศไทยมากกว่า 400 ราย สายพันธุ์นี้ไม่รุนแรง พบในผู้ใหญ่ เพศชาย ส่วนใหญ่จะเป็นการสัมผัสจากเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะในชายรักชาย 98% จึงเป็นเพศชาย

สายพันธุ์ที่มีการระบาดในประเทศคองโก ในปีนี้มีผู้ป่วยนับหมื่นราย และแพร่กระจายไปหลายประเทศในทวีปแอฟริกา เป็นสายพันธุ์ดั้งเดิมที่อยู่ในกลุ่มที่ 1 Clade 1 และมีการเปลี่ยนแปลงเป็น Clade 1b สายพันธุ์นี้พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ชายและหญิง และที่เสียชีวิตมากส่วนใหญ่จะเป็นเด็ก เป็นสายพันธุ์ที่มีความรุนแรงกว่า สายพันธุ์กลุ่ม 2 การติดต่อนอกจากสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดแล้ว ยังพบว่าฝอยละอองทางการหายใจ ก็สามารถทำให้ติดได้

สายพันธุ์นี้จึงเป็นสายพันธุ์ที่ต้องเฝ้าระวัง เพราะอาจจะทำให้เกิดการระบาดใหญ่ได้ทั่วโลก

สำหรับประเทศไทย ทุกรายของฝีดาษวานร จะต้องมีการเฝ้าระวัง ตรวจวินิจฉัยได้อย่างรวดเร็ว และแยกสายพันธุ์ให้ได้อย่างรวดเร็ว เพื่อมาตรการการป้องกันไม่ให้แพร่กระจายของสายพันธุ์กลุ่มที่ 2 ในประเทศไทย

ที่มา : Yong Poovorawan

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

related