svasdssvasds

ลมหายใจสุดท้ายของ “เครื่องเขิน” ภูมิปัญญาล้านนา ที่ไร้คนสืบทอด

ลมหายใจสุดท้ายของ “เครื่องเขิน” ภูมิปัญญาล้านนา ที่ไร้คนสืบทอด

ลมหายใจสุดท้ายของ “เครื่องเขิน” ภูมิปัญญาล้านนา ที่ไร้คนสืบทอด นับวันค่อยๆ กำลังเลือนหายไปจากสังคมไทยแบบไม่มีวันกลับ

SHORT CUT

  • หลายคนอาจไม่รู้ว่าเครื่องเขินแท้คือของใช้ในชีวิตประจำวันของชาวล้านนาก่อนที่สยามจะเข้ามามีอิทธิพลและสั่งตรงจากล้านนา
  • แต่ปัจจุบันกำลังหายไปเพราะเกิดจากต้นทุนที่แพงและไม่มีใครสืบทอดการทำเครื่องเขิน
  • สุดท้ายแล้วเครื่องเขินจะเป็นอย่างไร จะอยู่ได้หรือไม่ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับอ้นหรือคนเชียงใหม่ช่วยกันสนับสนุนเพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับความร่วมมือของประชาชนและองค์กรทุกผ่านส่วน

ลมหายใจสุดท้ายของ “เครื่องเขิน” ภูมิปัญญาล้านนา ที่ไร้คนสืบทอด นับวันค่อยๆ กำลังเลือนหายไปจากสังคมไทยแบบไม่มีวันกลับ

เมื่อพูดถึง Soft Power ของไทยเราจะนึกวัฒนธรรมที่โดดเด่นของภาคกลางเสียเป็นส่วนใหญ่จนหลงลืมไปว่าในภูมิภาคอื่นๆ ก็มีสิ่งที่มีคุณและสวยงามทางวัฒนธรรมเช่นเดียวกัน

หากพูดถึงภาคเหนือ เรามักจะนึกถึงวัฒนธรรมล้านนาวัฒนธรรมที่โดดเด่นได้บอกเล่าผ่านภาชนะที่ถูกเรียกว่า “เครื่องเขิน หรือ เครื่องรัก”

ในอดีตเครื่องเขินมีสถานภาพเป็นทั้งสิ่งของเครื่องใช้ในครัวเรือน เป็นเครื่องใช้ในพิธีกรรม เป็นรูปเคารพ และเป็นงานศิลปะ เครื่องเขินมีโครงสร้างทำจากไม้ และที่นิยมมากคือโครงสร้างจากไม้ไผ่สานซึ่งช่วยให้ของใช้นั้นมีน้ำหนักเบาและยืดหยุ่นได้ไม่แตกหักง่าย

เครื่องเขินในแต่ละท้องถิ่นมีการโอนถ่ายกันไปมา เนื่องจากในอดีต มีการศึกสงครามระหว่างสยามกับพม่า โดยเฉพาะในพื้นที่ของล้านนามีการกวาดต้อนผู้คนไปมาอยู่หลายระลอก ทั้งจากล้านนามาพม่า และพม่ามายังล้านนาซึ่งบรรดาช่างฝีมือด้านหัตถกรรมก็มักเป็นที่ต้องการ

ทำให้งานหัตถกรรมอย่างเครื่องเขินแพร่หลายไปยังดินแดนพม่าด้วย โดยพม่าเรียกเครื่องเขินว่า ยูนเถ่ หรือเครื่องใช้ของคนยวน ซึ่งหมายถึงไทยวน อันเป็นคนส่วนมากในบริเวณแปดจังหวัดของภาคเหนือของไทย และรวมไปถึงในรัฐฉานตะวันออกด้วย

และเมื่อแต่ละประเทศถูกแบ่งแยกออกจากกันด้วยความเป็นรัฐสมัยใหม่ ทำให้เครื่องเขินของในแต่ละพื้นที่ก็มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาต่อไปตามแต่ละพื้นที่โดยไม่มีการปฏิสัมพันธ์กันอีก

ประกอบกับกาลเวลาได้แปรเปลี่ยนไปเทคโนโลยีใหม่ๆ เริ่มเข้ามาและมีวัสดุที่ทนทานกว่าไม้เครื่องเขินจึงค่อยๆ หมดความสำคัญลงไป

SPRiNG พาไปรู้จักเครื่องเขินตั้งแต่วิธีทำจนถึงทางออกที่จะต่อยอดไม่ให้เครื่องเขินหายไปจากวัฒนธรรมไทย

 

เครื่องเขินแท้คือของใช้ในชีวิตประจำวันก่อนที่สยามจะเข้ามามีอิทธิพล

ล้านนาก่อนรัฐชาติสมัยใหม่ถือว่าเป็นดินแดนอิสระ ก่อนที่จะถูกสยามผนวกเข้าสู่อำนาจ และเครื่องเขินเองสามารถบอกเล่าเรื่องราวนี้ได้

จักริน สานุวิตร์ หรือ อ้น ช่างทำเครื่องเขิน (สล่า) เล่าให้เราฟังว่าเครื่องเขินนั้นจะใช้ในชีวิตประจำวันของคนล้านนา ส่วนใหญ่ก่อนที่จะรับอิทธิพลสยามเข้ามามีที่ใช้หลักๆ คือขันหมาก พาน และเครื่องเขินทำมาจากไม้ไผ่ขดกับไม้ไผ่สาน แล้วลงด้วยรักษ์หรือชาด

ให้สังเกตการสลักจุลศักราชซึ่งเป็นของฝั่งล้านนา ส่วนรัตนโกสินทรศกจะเป็นของฝั่งกรุงเทพมหานครสั่งทำ

โดยสยามจะสั่งทางล้านนาทำ

 

เพราะความบังเอิญจึงหลงรัก “เครื่องเขิน”

ใช่ว่าเด็กรุ่นใหม่ทุกคนจะหลงรักของเก่า หรือวัฒนธรรมท้องถิ่นดั้งเดิมในวันที่โลกทุนนิยมเข้ามาแทนที่คุณค่าทางวัฒนธรรมต้องมีใจรักจริงๆ ถึงจะเข้าถึงเรื่องราวของสิ่งนั้นได้ เครื่องเขินก็เช่นเดียวกัน

อ้นช่างทำเครื่องเขิน เล่าให้เราฟังว่าได้รู้จักเครื่องเขินได้เรียนรู้วิธีการทำในขณะที่บวชเป็นเณรอยู่ วัดที่เขาไปบวชนั้นอยู่ใกล้ประตูเมืองเชียงใหม่ วันหนึ่งต้องการไปซื้อยางรักษ์เพื่อนำไปซ่อมด้ามดาบเก่าแต่บังเอิญไปแถววัดนันทารามได้เห็นงานเครื่องเขินแล้วรู้สึกสะดุดตาไม่เคยเห็นมาก่อน

หลังจากนั้นจึงได้เริ่มค้นหาข้อมูลจึงได้รู้ว่าบริเวณถนนนันทารามคือแหล่งผลิตเครื่องเขินหลังจากได้จึงได้ติดต่อเพื่อไปศึกษาการทำเครื่องเขิน

เหตุใดถึงผันตัวมาทำเครื่องเขิน

อ้นบอกกับเราว่าเหตุที่ผันตัวมาทำเครื่องเขินเพราะรู้สึกได้เป็นนายตัวเอง อยากทำเมื่อไหร่ก็ทำ เพราะเป็นคนไม่ชอบอยู่ในกรอบเป็นงานที่ไม่ได้เครียดและตอนที่เริ่มเรียนใหม่ๆ ก็กคิดว่าจะทำไว้ใช้

รายได้จากการทำเครื่องเขินอยู่ที่ประมาณ 14,000-15,000 บาท และรายได้จากการทำเครื่องเขินสามารถส่งอ้นเรียนหนังสือได้อีกด้วย

เพราะเงินที่ได้สามารถทำให้เขาสามารถจ่ายค่าเช่าหอ ค่าเทอม

เครื่องเขินไร้คนรุ่นใหม่สืบทอด

ถึงแม้อ้นจะเป็นคนรุ่นใหม่ที่สนใจทำเครื่องเขิน แต่กระนั้นไม่ใช่คนรุ่นใหม่ทุกคนจะศึกษาและผลิตเครื่องเขินเป็นชีวิตจิตใจ ทำให้ ณ ปัจจุบันเครื่องเขินกำลังขาดผู้สานต่อหรือผลิตเครื่องเขิน

อ้นบอกกับเราว่าเครื่องเขินในปัจจุบันมีแต่ผู้สูงอายุที่มีแต่อายุ 50 ขึ้นไปทำ และเห็นด้วยว่ากำลังเป็นลมหายใจสุดท้ายของเครื่องเขินเพราะในปัจจุบันมีภาชนะอื่นๆ มาแทนที่ขณะที่เครื่องเขินใช้แต่ในพิธีกรรมเท่านั้น หรือเอาไว้ประดับเพื่ออวด

ขณะเดียวกันภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ดีส่งผลกระทบต่อช่างทำเครื่องเขิน เพราะเศรษฐกิจไม่ดีคนไม่กล้าสั่งทำเครื่องเขิน ยิ่งปัจจุบันหากทำเครื่องเขินอย่างเดียวเป็นอาชีพหลักนั้นอยู่ยาก การทำเครื่องเขินจึงกลายเป็นอาชีพเสริมมากกว่าอาชีพหลัก

ทางออกต่อลมหายใจ เครื่องเขิน

แน่นอนว่าเมื่อไม่มีคนสืบทอด และไม่มีคนสนใจ อ้นบอกว่าทางออกที่ดีที่สุดคือต้องให้คนหันมาศึกษารู้ข้อมูลพื้นฐานของเครื่องเขินก่อนลงมือทำ

ที่สำคัญควรลดค่าวัสดุอุปกรณ์ที่มีราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ เพราะคนมองว่าชิ้นงานราคาสูง เนื่องจากต้นทุนนั้นราคาสูง เช่นยางรักษ์กิโลกรัมละ 1,500 บาท เป็นราคาที่สูง ทำให้ราคาของเครื่องเขินแพงไปด้วย ทำให้มีคนไม่กี่กลุ่มที่มีทุนทรัพย์สามารถเข้าถึงเครื่องเขินได้

สุดท้ายแล้วเครื่องเขินจะเป็นอย่างไร จะอยู่ได้หรือไม่ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับอ้นหรือคนเชียงใหม่ช่วยกันสนับสนุนเพียงอย่างเดียว

ความจริงแล้วการอนุรักษ์ความเป็นไทยนั้นไม่ควรมองว่าอนุรักษ์แต่วัฒนธรรมภาคกลางเท่านั้น ไม่ว่าภาคเหนือ ภาคใต้ หรืออีสานก็มีวัฒนธรรมที่โดดเด่นหากภาครัฐหรือคนไทยทุกคนช่วยกันสนับสนุนย่อมส่งเสริมให้คุณค่าความเป็นไทย เรื่องราวของคนไทยสู่สายตาชาวโลกได้

สร้างแบรนด์และสินค้าของคนไทยเฉกเช่นแบรนด์ในต่างประเทศได้ เพราะเชื่อเถอะครับว่าวัฒนธรรมไทยไม่แพ้ชาติใดในโลกแน่นอน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

related