svasdssvasds

ฆ่าสัตว์บาปไหม แต่ละศาสนา กล่าวถึงชีวิตสัตว์ไว้อย่างไร ?

ฆ่าสัตว์บาปไหม แต่ละศาสนา กล่าวถึงชีวิตสัตว์ไว้อย่างไร ?

แม้สัตว์จะเป็นสิ่งมีชีวิตที่พูดไม่ได้ แต่วิทยาศาสตร์ก็พิสูจน์แล้วว่า พวกมันก็มีความรู้สึก และกลัวตายไม่ต่างจากมนุษย์ นั่นจึงทำให้คนเราจึงต้องตระหนักถึงสิทธิสัตว์มากขึ้นกว่าในอดีต

SHORT CUT

  • การกินเนื้อสัตว์เป็นที่ยอมรับได้ในหมู่ชาวพุทธ ตราบใดที่พวกเขาเพียงแค่ซื้อเนื้อสัตว์มาจากร้านค้าทั่วไป ไม่ได้ลงมือฆ่าเอง
  • ศาสนาคริสต์ยังมีความเชื่อที่ว่า พระเจ้าทรงให้สัตว์ต่างๆ บนโลกเพื่อให้มนุษย์ใช้เป็นอาหาร เป็นเพื่อน เป็นเสื้อผ้า และแม้กระทั่งเพื่อความบันเทิง
  • ในศาสนาอิสลาม การฆ่าสัตว์นอกจากจุดประสงค์เรื่องอาหารและพิธีกรรม ถือเป็นสิ่งต้องห้าม

แม้สัตว์จะเป็นสิ่งมีชีวิตที่พูดไม่ได้ แต่วิทยาศาสตร์ก็พิสูจน์แล้วว่า พวกมันก็มีความรู้สึก และกลัวตายไม่ต่างจากมนุษย์ นั่นจึงทำให้คนเราจึงต้องตระหนักถึงสิทธิสัตว์มากขึ้นกว่าในอดีต

แม้สัตว์จะเป็นสิ่งมีชีวิตที่พูดไม่ได้ แต่วิทยาศาสตร์ก็พิสูจน์แล้วว่า พวกมันก็มีความรู้สึก และกลัวตายไม่ต่างจากมนุษย์ นั่นจึงทำให้คนเราจึงต้องตระหนักถึงสิทธิสัตว์มากขึ้นกว่าในอดีต

ทั้งนี้เรื่องของสิทธิสัตว์ และศาสนา ถือเป็นประเด็นที่ขัดแย้งกันมาตลอด เพราะศาสนาหลักของโลกต่างเห็นคุณค่าของชีวิตสัตว์ต่างกัน เช่นบางศาสนาสัตว์ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้เคารพ แต่บางศาสนาก็มองว่าสัตว์เป็นเพียงอาหารของมนุษย์เท่านั้น และ สัตว์บางชนิดก็เป็นมื้ออาหารสำคัญในพิธีกรรมด้วย

แต่ละศาสนาพูดถึงสิทธิสัตว์เอาไว้อย่างไรบ้าง ?

พุทธศาสนากินได้ แต่ฆ่าสัตว์คือบาป ?

พุทธศาสนากินได้ แต่ฆ่าสัตว์คือบาป ?

เป็นที่รู้กันทั่วโลกว่า ศาสนาพุทธ มีหลักพุทธที่ส่งเสริม สันติภาพทั้งของมนุษย์และเพื่อนร่วมโลก จึงมีนักสิทธิสัตว์หลายคนยกย่องให้ ว่า ศาสนาพุทธ คือศาสนาที่สนับสนุนสวัสดิภาพสัตว์ เนื่องจากมีการปลูกฝังเรื่องความเห็นอกเห็นใจเข้าไปในจิตใจของชาวพุทธอย่างแนบแน่น

หากศาสนาคริสต์ มีบัญญัติ 10 ประการ ศาสนาพุทธก็มีศีล 5 ข้อเช่นกัน ซึ่งข้อที่ 1 คือ “ปาณาติปาตาเวรมณี” หรือ “การละเว้นจากการฆ่าชีวิตสัตว์ทั้งหลาย” ซึ่งทำให้ชาวพุทธที่เคร่งครัดทุกคนปฏิบัติตาม แต่ก็มีการตีความคำสอนนี้แตกต่างกันไป จึงทำให้ชาวพุทธยุคใหม่จำนวนมากเชื่อว่าการกินเนื้อสัตว์จากซูเปอร์มาร์เก็ตหรือร้านอาหารถือเป็นเรื่องจริยธรรม เนื่องจากสัตว์เหล่านั้นไม่ได้ถูกฆ่าเพื่อให้พวกเขากินโดยเฉพาะ

ที่เชื่อกันแบบนั้น เพราะพระพุทธเจ้ากำหนดให้พระภิกษุขออาหาร ด้วยบริสุทธิ์ 3 ได้แก่ 1.ไม่ได้เห็นการฆ่า 2.ไม่ได้ยินเสียงการฆ่า และ 3. ไม่ได้นึกสงสัยว่าเขาฆ่ามาให้เราโดยเฉพาะ ซึ่งหลักการนี้ใช้ได้กับทั้ง ‘พระภิกษุ’ และ ‘ชาวพุทธทั่วไป’ จึงทำให้การกินเนื้อสัตว์เป็นที่ยอมรับได้ หากพวกเขาเพียงแค่ซื้อเนื้อสัตว์มาจากร้านค้าทั่วไป แต่บางฝ่ายก็ยังไม่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้

อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่ชาวพุทธเห็นใจชีวิตสัตว์เป็นพิเศษ จึงทำให้คนบางกลุ่มผุดธุรกิจแบบ พุทธพาณิชย์ เช่นการปล่อยนกปล่อยปลา และการไถ่ชีวิตโคกระบือ ซึ่งหลายคนมองว่าได้บาปมากกว่าบุญเพราะสัตว์เหล่านั้นจะถูกจับกลับมาหาเงินอีก ถือเป็นการทำบุญที่เบียดเบียนชีวิตสัตว์ ซึ่งขัดกับหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า

ศาสนาคริสต์ สัตว์ไม่มีวิญญาณ 

ศาสนาคริสต์ สัตว์ไม่มีวิญญาณ 

ศาสนาคริสต์มีผู้คนหลายพันล้านคนนับถือ และเป็น ศาสนา ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในอเมริกา ยุโรป และทางตอนใต้ของแอฟริกา ซึ่งสิทธิสัตว์และสวัสดิภาพสัตว์เป็นเรื่อง ที่ชาวคริสต์ถกเถียงกันมาอย่างยาวนาน

หากอ้างอิงตามหลักคำสอนดั้งเดิม คัมภีร์ไบเบิลสอนว่า ในจำนวนสิ่งมีชีวิตทั้งหมดบนโลกมีแค่มนุษย์กลุ่มเล็ก ๆ เท่านั้นที่จะได้ขึ้นสวรรค์ (วิวรณ์ 14:1, 3) พวกเขาไปสวรรค์เพื่อปกครองเป็นกษัตริย์และปุโรหิตร่วมกับพระเยซู (ลูกา 22:28-30; วิวรณ์ 5:9, 10) มนุษย์ที่ตายส่วนใหญ่จะได้รับการปลุกให้มีชีวิตในอุทยานบนโลก—สดุดี 37:11, 29

คัมภีร์ไบเบิลไม่เคยบอกว่ามีสวรรค์สำหรับสัตว์เลี้ยงหรือสุนัข และเรื่องนี้มีเหตุผล เพราะสัตว์ไม่สามารถทำอะไรเพื่อจะมีคุณสมบัติที่จะถูก “เรียกไปสวรรค์” (ฮีบรู 3:1) สัตว์ไม่สามารถเรียนรู้เกี่ยวกับพระเจ้า ไม่สามารถแสดงความเชื่อ และไม่สามารถทำตามกฎหมายของพระเจ้าได้ (มัทธิว 19:17; ยอห์น 3:16; 17:3) มีแต่มนุษย์เท่านั้นที่ถูกสร้างให้มีความหวังจะมีชีวิตตลอดไป—ปฐมกาล 2:16, 17; 3:22, 23

นอกจากนี้ ในศาสนาคริสต์ยังมีความเชื่อที่ว่า พระเจ้าทรงให้สัตว์ต่างๆ บนโลกเพื่อให้มนุษย์ใช้เป็นอาหาร เป็นเพื่อน เป็นเสื้อผ้า และแม้กระทั่งเพื่อความบันเทิง ซึ่งสรุปได้ว่า สัตว์ในศาสนาคริสต์ เกิดมาเพื่อรับใช้มนุษย์เท่านั้น ดังนั้นหากจะฆ่าเพื่อกิน หรือฆ่าเพื่อกีฬา ก็ไม่ใช่บาปแต่อย่างใด

ในทางกลับกัน ก็มีชาวคริสเตียนจำนวนมาก ที่เชื่อว่าสัตว์ควรได้รับการปฏิบัติด้วยความเมตตา และในฐานะมนุษย์ พวกเขาควรหลีกเลี่ยงการทำร้ายสัตว์ เพราะเป็นสิ่งมีชีวิตที่พระเจ้าสร้างขึ้นเช่นเดียวกับมนุษย์ และถึงแม้ความเชื่อนี้จะไม่ใช่กระแสหลัก ของผู้ที่เชื่อในพระเจ้า แต่การทานมังสวิรัติในหมู่ชาวคริสเตียนก็กำลังได้รับความนิยมมากขึ้น จนถึงขั้น มีการตั้ง “สมาคมมังสวิรัติคริสเตียน” และรณรงค์การไม่กินเนื้อสัตว์กันอย่างจริงจัง เพื่อดึงให้คนรุ่นใหม่ออกจากวงจรทารุณสัตว์มากขึ้น

ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู นิยมเป็นมังสวิรัติ

ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู นิยมเป็นมังสวิรัติ

ศาสนาฮินดูเป็นศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ซึ่งเป็นจุดรวมของประเพณีและปรัชญาต่างๆ มากมาย กล่าวคือมีความเชื่อจากหลากหลายแห่งรวมกันจนกำเนิดเป็นศาสนาฮินดู จึงมีแนวคิดที่แตกต่างกันมากมาย ซึ่งบางอย่างก็ดูเป็นวิถีชีวิตทั่วไป มากกว่าเป็นพิธีกรรมทางศาสนา

อย่างไรก็ตาม คำสอนของศาสนาฮินดูดั้งเดิม เป็นที่รู้กันว่าเน้นบูชายัญสัตว์ แต่เพราะอิทธิพลของ มหาตมะ คานธี จึงทำให้เกิดความอหิงสาขึ้น ทำให้ปัจจุบัน คำสอนจึงเป็นไปในทาง สิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีวิญญาณ และเป็นส่วนหนึ่งของจิตวิญญาณสูงสุด ดังนั้นทั้งมนุษย์และอมนุษย์ จึงต้องได้รับการเคารพ โดยเฉพาะโดยวัว ที่ต้องเคารพนับถือเป็นพิเศษ เนื่องจากชาวฮินดูเชื่อว่า พวกมันมีความเกี่ยวข้องกับนางอทิติ ซึ่งเป็นมารดาของเทพเจ้าทุกองค์ในพระคัมภีร์ฮินดู

ส่วนการฆ่าสัตว์ถือเป็นการก่อกรรม ซึ่งนับรวมผู้ที่เกี่ยวข้องทุกขั้นตอน ตั้งแต่คนที่ฆ่าสัตว์ในโรงฆ่า จนถึงผู้บริโภคในลำดับสุดท้าย นั่นจึงทำให้ มีชาวฮินดูกว่า 70 % เลือกกินเฉพาะ เป็นมังสวิรัติ และจะกินแค่พืชผัก และนม เพื่อแสดงถึงความสูงส่ง ส่วนคนที่กินเนื้อสัตว์ก็จะเน้นแต่สัตว์ขนาดเล็ก เช่น ปลา และไก่

อิสลามเข้มงวดกับวิธีฆ่าสัตว์ !

อิสลามเข้มงวดกับวิธีฆ่า !

ชาวมุสลิมเชื่อว่าสัตว์มีอยู่เพื่อประโยชน์ของมนุษย์ เพราะคัมภีร์อัลกุรอานระบุไว้ชัดเจนว่า “พระเจ้าคือผู้ทรงจัดเตรียมปศุสัตว์ทุกประเภทแก่ท่าน เพื่อท่านจะได้ขี่สัตว์เหล่านี้บ้าง และได้รับอาหารจากสัตว์บางชนิด และประโยชน์อื่นๆ”

ทั้งนี้แม้ว่าคำสอนของศาสนาอิสลามจะบอกว่าใช้ประโยชน์จากสัตว์ได้ แต่การทารุณกรรมสัตว์ถือเป็นบาป และการฆ่าสัตว์นอกจากจุดประสงค์เรื่องอาหารและพิธีกรรม ถือเป็นสิ่งต้องห้าม มูฮัมหมัดผู้ก่อตั้งศาสนาอิสลามระบุไว้ว่า ความเมตตาต่อสัตว์จะได้รับการตอบแทน และสัตว์ควรได้รับการปฏิบัติอย่างเหมาะสม และคำสอนของศาสนาอิสลามไม่อนุญาตให้ชาวมุสลิมบริโภคเนื้อหมู หรือเนื้อจากสัตว์ที่ถูกฆ่าอย่างทารุณ เช่น ถูกไฟฟ้าช็อต รัดคอ หรือการใช้กำลังทุบตี

เพราะชาวมุสลิมมีแนวทางปฏิบัติที่เข้มงวดเกี่ยวกับวิธีการฆ่าสัตว์เพื่อให้ถือว่าเป็น ‘อาหารฮาลาล (Halal) ’ ซึ่งหมายถึง อาหารที่ไม่ขัดต่อบัญญัติของศาสนาอิสลาม โดยการทำนั้น ผู้เชือดสัตว์ต้องกล่าวพระนามของพระผู้เป็นเจ้า ขณะเริ่มทำการเชือด โดยต้องเชือดในคราวเดียวกันให้แล้วเสร็จ โดยไม่ทรมานสัตว์ ต้องเชือดให้หลอดลม หลอดอาหารและเส้นเลือดข้างลำคอของสัตว์ที่ถูกเชือด ขาดออกจากกันอย่างสิ้นเชิง โดยสัตว์จะต้องตายเพราะการเชือดเท่านั้น สัตว์นั้นต้องตายสนิทเองก่อน จึงจะนำไปดำเนินการอย่างอื่นต่อได้

ที่มา : ABC / พยานพระยะโฮวา / Hindu America

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

 

.

related