พายุ แย้ง 'ดร.เอ้' เทียบภาวะผู้นำ ระหว่าง นายกฯ กับ ซีอีโอสิงคโปร์แอร์ไลน์ ชี้สเกลของความรับผิดชอบที่แตกต่างกัน CEO ของสิงคโปร์แอร์ไลน์นั้น มีหน้าที่รับผิดชอบเพียงสายการบินเดียว แต่นายกฯเศรษฐา มีความรับผิดชอบทั้งประเทศ
จากกรณีที่ ดร.เอ้ สุชัชวีร์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวเรื่อง "ภาวะผู้นำในการบริหารวิกฤติของ ซีอีโอสิงคโปร์แอร์ไลน์ vs. นายกรัฐมนตรีไทย ใครสอบตก ใครสอบผ่าน" โดยระบุว่า
"หนึ่งวัน" ในการจัดการวิกฤติของ ซีอีโอสิงคโปร์แอร์ไลน์ กรณีเครื่องบินตกหลุมอากาศ จนมีผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บจำนวนมาก เปรียบเทียบกับ "หนึ่งเดือน" ของ "ผู้นำไทย" กับวิกฤติโรงงานสารพิษ ที่มีชาวบ้านเดือดร้อนจำนวนมาก เราเรียนรู้อะไรบ้าง
ข้อพิสูจน์ เปรียบเทียบภาวะผู้นำในการบริหารวิกฤติ ยืนยันว่า "นายกรัฐมนตรีไทยสอบตก" ทั้งที่มีเวลาถึงหนึ่งเดือน แต่ไม่แก้ปัญหา ขณะที่ "ซีอีโอสิงค์โปร์แอร์ไลน์สอบผ่าน" แก้ปัญหาได้เพียงหนึ่งวัน ด้วยความจริงใจและทุ่มเท
ท่านคิดว่า หลังวิกฤติ คนยังอยากขึ้นสิงคโปร์แอร์ไลน์หรือไม่ หรืออาจจะมีลูกค้าเยอะกว่าเดิมหรือไม่ เทียบกับประเทศไทย จะมีนักลงทุน และคนมีความรู้ความสามารถจากต่างประเทศ อยากมาลงทุนทำธุรกิจในประเทศไทยหรือไม่ ช่วยกันตอบทีครับ
หลัง ดร.เอ้ ออกมาแสดงความคิดเห็นล่าสุดด้าน พายุ เนื่องจำนงค์ อดีตผู้สมัครรับเลือกตั้ง จ.ชลบุรี พรรคประชาธิปัตย์ ได้ออกมาแย้งถึงความเห็นดังกล่าวผ่าน (X) @payunerng โดยระบุว่า มุมมองส่วนตัว: จากที่ได้อ่านบทความนี้ของทาง ดร.เอ้ สุชัชวีร์ ที่ผมมีโอกาสได้ทำความรู้จัก, เคารพและเห็นด้วยในแนวคิดหลายๆเรื่องของท่าน แต่ในกรณีการเปรียบเทียบสถานการณ์อุบัติเหตุทางอากาศของสายการบินสิงคโปร์ กับการบริหารจัดการเรื่องโรงงานไหม้ที่ระยอง ผมขออนุญาตเห็นต่างและมองว่าเป็นการเปรียบเทียบที่ไม่ถูกต้องและบิดเบือนเกณฑ์การวัดที่ทาง ดร.เอ้ นำมาใช้ในการประเมิณผลการบริหารของสองบุคคลที่ถูกกล่าวถึง
ดังนั้นแม้กระทั้งตัวสถานการณ์วิกฤติของสิงคโปรแอร์ไลน์ที่ ดร.เอ้ เองได้นำมาเปรียบเทียบ “crisis management skills” ของท่านนายกฯเศรษฐา ก็ยังได้อานิสงส์จากการบริหารจัดการทุกเรื่องที่เกิดขึ้นในไทย (ไม่ใช่แค่วิกฤติ) ของท่านนายกฯอยู่ดีครับ.. แล้วไม่สำคัญว่าท่านจะลงไปหน้างานกี่ครั้งในเมื่อท่านได้มีการสั่งการและติดตามเรื่องอยู่ตลอด behind the scene ในฐานะนักบริหาร.. ซึ่งสิ่งที่ ดร.เอ้ พูดถึงและใช้เป็นหนึ่งในปัจจัยของเกณฑ์วัดการเปรียบเทียบในบทความนี้คือ skill การ “ประชาสัมพันธ์” มากกว่า skill การบริหารวิกฤติครับ.. ผมจึงขอฝากไว้ให้ ดร.เอ้ ลองพิจารณาดูอีกครั้ง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง