SHORT CUT
เปิดเส้นทางกว่าไทยจะเป็นประเทศเจ้าภาพ World Pride 2030 ต้องทำอะไรบ้าง มีอีเว้นท์ไหนที่สำคัญ จำเป็นต้องมีกฎหมายอะไรหรือไม่
SPRING สรุปไทม์ไลน์และวิธีการไปสู่การเป็นเจ้าภาพจัดงาน WorldPride2030 ของประเทศไทย ที่ประกาศเป้าหมายไว้ตั้งแต่ปีที่แล้ว (2023) และองค์กรที่ขับเคลื่อนเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ กลุ่มที่จัดงาน Pride ในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศไทยได้เปิด Town Hall เพื่อวางแผนการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน LGBTQ+ สร้างความเข้าใจ ความร่วมมือ ผลักดันให้ไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียที่ได้จัดงาน WorldPride
โดยตลอดเดือนมิถุนายน 2024 นี้ จะมีการจัดงาน Pride month Celebrate Event ทั่วประเทศ ตลอดทั้งเดือน จะยิ่งใหญ่กว่าช่วงสองปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ภูเก็ต นครราชสีมา และพัทยา โดยใช้กลุ่ม Pride Community ในแต่ละพื้นที่เป็น Key Man ด้วยการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ซึ่งในปีนี้ได้มีการเขียนโครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) และ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) โดยมีอีเว้นท์ใหญ่ที่ กทม. เชียงใหม่ นครราชสีมา ภูเก็ต และพัทยา
จากนั้น ในเดือนตุลาคม 2024 ไทยจะเสนอตัวเพื่อเป็นเจ้าภาพการประชุม InterPride ในปี 2025 ในการประชุมที่ประเทศโคลัมเบีย โดยจะเชื้อเชิญตัวแทนกว่า 40 ประเทศทึ่อยู่ในคณะกรรมการ InterPride มาประชุมในประเทศไทย เพื่อแสดงความพร้อมในการเป็นจุดหมายของ Pride ทั่วโลก
จากนั้น ในช่วงระหว่างปี 2024-2026 ไทยจะต้องทำให้โลกเห็นความพร้อมของ Pride Community ที่มีความเข้มแข็ง เห็นว่าไทยมีรัฐบาลที่มีนโยบายโอบรับความหลากหลาย มีกฎหมายที่ให้สิทธิความเท่าเทียมทางเพศและสิทธิมนุษยชน เช่น สมรสเท่าเทียม รับรองอัตลักษณ์ทางเพศ หรือยกเลิกกฎหมายการค้าประเวณี
ช่วงเวลาสำคัญคือในปี 2026 ไทยต้องมีภาพจำ และทำให้เพื่อนสมาชิกใน InterPride เชื่อมั่นในศักยภาพและเชื่อว่าสังคมไทยเป็นพื้นที่เปิดรับความหลากหลายเท่าเทียม ก่อนจะเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ Wolrd Pride 2030 ในที่ประชุม InterPride 2026
World Pride ล้วนเคยถูกจัดในทวีปอเมริกา ยุโรป ตะวันออกกลาง มาแล้ว ไทยจะได้เป็นประเทศแรกในเอเชียหากเราได้รับเลือกในปี 2026 การเป็นเจ้าภาพ World Pride จะทำให้ไทยเป็นจุดหมายของ LGBTQ+ ทั่วโลก ประเมินว่าจะสร้างเม็ดเงินไม่ต่ำกว่า 8.9 พันล้านบาท และจะเพิ่มมูลค่าในระดับสากลต่อชาวโลกได้อย่างมาก