SHORT CUT
“ทำงานร่างพัง ไร้ความสุข สิ้นความหวัง” ปัญหาโลกแตกที่แรงงาน บุคลากรทางการแพทย์,ไทยต้องเจอ อย่าปล่อยให้ระบบพังไม่งั้นอาจจะสายเกินแก้ก็ได้
สวัสดีวันแรงงานไทย 1 พ.ค.2567 วันนี้บุคลากรด้านสาธารณสุขไทยเป็นยังไงกันบ้าง ยังสบายดีกันอยู่ไหมครับ
ต้องบอกว่าอาชีพในวงการสาธารณสุขเป็นอาชีพที่ทำงานหนักไม่แพ้กับอาชีพอื่นๆ แต่การลางานของเขากลายเป็นเรื่องยากสะอย่างนั้น เพราะจะมีปัญหาตลอดเรื่องคนไม่พอทำงานล่วงเวลา ถึงขนาดที่ลาป่วยยังถูกโทรตามกลับมาทำงาน
ปัญหาโลกแตกสุดๆ ที่ใครๆ อาจมองข้ามคือวงการแพทย์ หรือคุณหมอของบ้านเรา ใครๆ ต่างก็คิดว่าคุณหมอนั้นสวัสดิการดี คุณภาพดี ชีวิตดี เงินเดือนสูง
แต่ในทางกลับกันเชื่อไหมครับ ว่าคุณหมอไทยกลับมีด้านมืดมากกว่าที่เราคิด โดยผู้ใช้ X หรือ ทวิตเตอร์ท่าหนึ่งออกมาตั้งคำถามว่า “เห็นมีคนถามว่าทำไมหมอ รพ รัฐไม่ strike หยุดงานกันเหมือนประเทศอื่นบ้าง? 1. คิดว่าเพราะหมอไทยเราถูกสอนให้เสียสละเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ถือประโยชน์ผู้อื่นมาก่อนตนเอง หมอไทยเราจึงถูกฝังรากลึกให้เป็นคนมี empathy ขี้สงสาร ดังนั้นการ strike หยุดงานย่อมส่งผลเสียกับผู้ป่วยแน่นอน ผู้ป่วยที่มา รพ รัฐ จำนวนนึงเป็นผู้มีรายได้น้อย ถ้ามา รพ แล้วไม่มีหมอช่วยก็เข้าเอกชนไม่ไหวอยู่ดี จบที่ไม่มีคนรักษา อาจจะป่วยหนักกว่าเดิม / เสียชีวิต สุดท้ายแล้วหมอเองก็จะโดนเสียงจาก subconscious ด่าลงมาว่า ‘ไม่สงสารคนไข้หรอ?”
เป็นเชิงสัญลักษณ์บ่งบอกถึงวงการแพทย์ไทยที่ถูกสร้างภาพลักษณ์ว่าเป็นผู้ที่สงสารคน แต่ในทางกลับกันชีวิตการทำงานของพวกเขาไม่ได้สวยหรูอย่างที่คิด
เห็นได้จากข้อมูลพบว่า ประเทศไทย มีแพทย์ ทั้งหมด 66,685 คน อยู่ในกรุงเทพฯ จำนวน 32,198 คน และอยู่ในต่างจังหวัด 34,487 คน ในจำนวนนี้ มีแพทย์ที่อยู่ในระบบของกระทรวงสาธารณสุข มีทั้งหมด 24,649 คน คิดเป็น ร้อยละ 48 ของแพทย์ทั้งประเทศ ซึ่งต้องดูแลคนในระบบหลักประกันสุขภาพถึง 45 ล้านคน หรือ ร้อยละ 70 ของประชากร
เท่ากับว่า แพทย์ 1 คน ต้องดูแลคน 2,000 คน ขณะที่สัดส่วนมาตรฐานที่ WHO กำหนด อยู่ที่ 1:1,000 คน เท่านั้น
เรียกได้ว่าประเทศไทยไม่ใช่มีแต่ปัญหาจนกระจุกรวยกระจายอย่างเดียว เพราะแพทย์เองก็กระจุกตัวอยู่ใน กทม. มากกว่าจะออกไปทำงานในพื้นที่ต่างจังหวัดด้วย เราจึงเห็นข่าวบ่อยๆ เรื่องของการขาดแคลนแพทย์ในต่างจังหวัด แถมแพทย์ที่มีอยู่ประเทศไทยก็ขาดแคลนดูแลประชาชนได้ไม่ทั่วถึงตามเป้าของ WHO
หรือในบางครั้งยังพบอีกว่า หมอที่อยู่หน้างานมีการทำหน้าที่ที่หนักมาก เกิน 80 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ บางคนทำถึง 100 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ บางคนทำงานติดต่อกัน 48 ชั่วโมง หรือ 72 ชั่วโมง
ปัญหานี้เป็นปัญหาโลกแตกสุดๆ อาจกล่าวได้ว่าอาชีพหมอบ้านเราเป็นอาชีพที่ ทำงานร่างพัง ไร้ความสุข สิ้นความหวัง ปัญหาโลกแตกที่คุณหมอไทยต้องเจอ
อาชีพพยาบาลงานล้น หมดพลัง แทบจะคลานกลับบ้าน คำนี้เป็นคำพูดที่อาจไม่เกินจริงเกี่ยวกับอาชีพพยาบาล เพราะพวกเขาเป็นแรงงานที่ต้องทุ่มเทสุดๆ ในการทำงานกับคุณหมอและเพื่อคนไข้
แถมกำลังคนไม่เพียงพอพอๆ กับคุณหมอของบ้านเรา แต่ที่หนักกว่าคือกรณีพยาบาลนามสมมุติ พยาบาลบี ที่ให้ข้อมูลผ่านคมชัดลึกว่า “ก่อนหน้านี้มันเกิดจุดแตกหักคือตนตั้งครรภ์แล้วแท้ง ต้องแอดมิตอยู่ที่โรงพยาบาล และวันต่อมาที่ทำงานก็เริ่มกลับมาถามแล้วว่า จะกลับมาทำงานได้วันไหน เพราะว่าคนมันขาด ซึ่งไม่ได้มีเวลาให้เราได้เสียใจเลย ทักมาตามเพื่อที่จะกลับไปทำงาน ทำให้ตนตัดสินใจอยากจะลาออกตั้งแต่ช่วงสิ้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา แต่ผู้ใหญ่ขอให้มา มาช่วยทำงานในช่วงเทศกาลสงกรานต์ก่อน แต่ในปัจจุบัน ตนกำลังจะเขียนใบลาออกแล้ว”
ทำให้เราเห็นจากสถิติว่า คุณหมอและพยาบาลมีอัตราการทำงานที่เกินขีดจำกัดเกินไปประกอบกับมีเวลาพักผ่อนน้อย เนื่องจากสัดส่วนระหว่างบุคลากรทางด้านสาธารณสุขมีอัตราที่ไม่เหมาะสมกับอัตราคนไข้ทั่วประเทศ ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของพวกเขาไดม่ได้ดีมากนัก
พญ.สุธัญญา บรรจงภาค รองประธานคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบงานบริการสาธารณสุขและคุณภาพชีวิตแพทย์ แพทยสภา ได้จัดทำทางออกขึ้น โดยอ้างอิงมาตรฐานสากล สรุปแนวทางได้ 7 ข้อสำคัญ คือ
1.ชั่วโมงการทำงานของแพทย์ภาครัฐไม่ควรเกิน 80 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
2.ควรมีวันหยุดอย่างน้อย 2 วันต่อสัปดาห์
3.ระยะเวลาปฏิบัติการไม่ควรติดต่อกันเกิน 16 ชั่วโมง
4.ถ้าระยะเวลาปฏิบัติงานติดต่อกัน 24 ชั่วโมง ต้องมีเวลาหยุดพัก 8 ชั่วโมง
5.การอยู่เวรปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ไม่ควรเกิน 7 เวรต่อเดือน
6.การตรวจรักษาผู้ป่วยนอกทั่วไป ควรใช้เวลาประมาณ 5 นาทีต่อคน (12 คนต่อชั่วโมง)
7.แพทย์ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีเป็นต้นไป ควรงดอยู่เวรปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ
แต่นอกเหนือจากภาระงานแพทย์ ควรมีกฎหมายรองรับด้วย
พญ.ชุตินาถ ชินอุดมพร ตัวแทนจากสหภาพแพทย์ผู้ปฏิบัติสนอว่า ยังมีสิ่งที่กระทรวงสาธารณสุขควรแก้ไข เพื่อให้แพทย์อยากอยู่ในระบบด้วย เช่น การวางรูปแบบการทำงานใหม่ เช่น Nigh Float คือ การอยู่เวรกลางคืนทั้งอาทิตย์ จะได้ไม่สลับเช้าต่อดึกเหมือนที่เป็นมา ค่าตอบแทนที่ถูก “แช่แข็งมา” มายาวนาน และ ค่าเวรที่ขึ้นน้อย บ้านพักบุคลากรทางการแพทย์ ที่เหมือน “บ้านผีสิง” และไม่ปลอดภัย จนแพทย์ต้องรวมเงินกันเอง เพื่อปรับปรุง ห้องฉุกเฉิน (อีอาร์) สำหรับคนไข้ฉุกเฉินจริง ๆ ถ้าคนไข้ไม่เร่งด่วน แนะนำให้ทำใบนัดมาตรวจวันอื่น ซึ่งจะช่วยลดภาระงานของห้องฉุกเฉินได้ 30-40%
สรุปแล้วปัญหาของสาธารณสุขไทยในความเห็นที่ตรงกันของ 2 ความเห็นคือคำงานที่เกินเวลาควรแก้ไขปัญหาโดยเร่งด่วน เพราะส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตใจของบุคลากรทางด้านสาธารณสุข แต่เรื่องนี้ก็ต้องมองย้อนไปในเรื่องการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องแก้ไขโดยด่วน เพื่อจะได้ปลดล็อคเงื่อนไข บุคลากรทางการแพทย์ไม่เพียงพอที่ส่งผลให้พวกเขาทำงานเกินเวลาจนขาดความสุขในการทำงาน
อ้างอิง
TheCitizen / ประชาไท / 101 World / BBC / คมชัดลึก /
ข่าวที่เกี่ยวข้อง