svasdssvasds

ฟุตบอลจุฬาฯ - ธรรมศาสตร์ 0-0 ครองถ้วยร่วม ย้อนเหตุการณ์สำคัญ หากจุฬาๆ คว้าชัย

ฟุตบอลจุฬาฯ - ธรรมศาสตร์ 0-0 ครองถ้วยร่วม ย้อนเหตุการณ์สำคัญ หากจุฬาๆ คว้าชัย

ฟุตบอลจุฬาฯ - ธรรมศาสตร์ จะกลับมาจัดอีกครั้ง ในวันอาทิตย์ที่ 31 มีนาคม 2567 หลังจากที่ไม่ได้จัดมาทั้งสิ้น 4 ปี เปิดสถิติ “ปีไหนจุฬาฯ ชนะงานบอลประเพณี ปีนั้นการเมืองมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่”

ถือเป็นศึกฟาดแข้งระหว่างสถาบันอีกรายการหนึ่ง ที่มีชื่อเสียง จัดต่อเนื่องมายาวนาน และมีผู้ติดตามเฝ้าชมจำนวนมาก สำหรับงานฟุตบอลประเพณี "ธรรมศาสตร์-จุฬาฯ" โดยสีสันของงาน ฟุตบอลประเพณี "ธรรมศาสตร์-จุฬาฯ" นอกจากจะเป็นศึกแห่งศักดิ์ศรี ในการดวลแข้ง ระหว่างทีม ลูกแม่โดม "มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์" กับ ลูกพระเกี้ยว "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยา" แล้ว 

ยังมีสีสันระหว่างการแข่งขัน ที่เป็นที่กล่าวขาน ทั้งขบวนอันเชิญพระเกี้ยว การอวดโฉมดาวและเดือนของแต่ละสถาบัน รวมถึงสีสีนสุดจี๊ด การขึ้นอัฒจันทร์แปรอักษร ล้อเลียนการเมือง - สังคม แบบแสบๆคันๆ จนกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ

ฟุตบอลสานสัมพันธ์จุฬาฯ - ธรรมศาสตร์ จะกลับมาจัดอีกครั้ง ในวันอาทิตย์ที่ 31 มีนาคม 2567 ณ สนามศุภชลาศัย หลังจากที่ไม่ได้จัดมาทั้งสิ้น 4 ปี 

ล่าสุดวันนี้ 31 มีนาคม 2567 ที่สนามศุภชลาศัย สนามกีฬาแห่งชาติ ผลการแข่งขันฟุตบอลสานสัมพันธ์จุฬาฯ - ธรรมศาสตร์ CU - TU Unity Football Match 2024 ระหว่างทีมจุฬาลงกรณ์​มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัย​ธรรมศาสตร์ โดยการแข่งขันตลอด 90 นาที ผลเสมอกัน 0:0 โดยไม่มีการเตะลูกจุดโทษ จึงถือว่าการแข่งขันปีนี้ ทั้ง 2 ทีม ครองถ้วยร่วมกัน

ฟุตบอลสานสัมพันธ์จุฬาฯ - ธรรมศาสตร์ คืออะไร

“ฟุตบอลสานสัมพันธ์จุฬาฯ – ธรรมศาสตร์” เป็นการแข่งขันฟุตบอลระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อสานสัมพันธ์ระหว่างสองสถาบันให้ยิ่งแนบแน่น

โดยมีความแตกต่างจาก “ฟุตบอลประเพณี จุฬาฯ -ธรรมศาสตร์” ตรงที่เป็นกิจกรรมที่องค์การบริหารนิสิตจุฬาฯ และองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นคนจัด ไม่เหมือนงานฟุตบอลประเพณี ซึ่งจะมีทางสมาคมนิสิตเก่าของทั้งสองสถาบันสลับกันเป็นเจ้าภาพผู้จัดงาน

เทศกาลงานกีฬาฟุตบอลสานสัมพันธ์ จุฬาฯ - ธรรมศาสตร์ CU - TU Unity Football Match 2024 ครั้งนี้ ชูมิติใหม่ของงานบอลที่มีความแปลกใหม่ ยิ่งใหญ่กว่าเดิม ทั้งสุดยอดนักกีฬาตัวเต็งจากทั้งสองสถาบัน รวมถึงการแปรอักษรที่ในปีนี้มาในรูปแบบใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน นอกจากนี้ยังมีการแสดงต่างๆ จากองค์กรภายในของทั้งสองสถาบัน และศิลปินรับเชิญที่พร้อมมาสร้างความประทับใจและความตื่นเต้นกันอย่างคับคั่ง พร้อมถ่ายทอดสดให้ทุกคนได้รับชมพร้อมกันผ่านทาง AIS PLAY 

สำหรับงานฟุตบอลจุฬา - ธรรมศาสตร์ ครั้งนี้ เป็นอีกหนึ่งความตั้งใจของนิสิตที่ลุกขึ้นมาจัดการแข่งขันฟุตบอลสานสัมพันธ์จุฬาฯ – ธรรมศาสตร์ แม้ว่าในปีนี้มีหลายกิจกรรมที่สร้างความแปลกใหม่และตื่นเต้น แต่แก่นแท้ของการจัดกิจกรรมก็ยังคงเหมือนเดิมคือ การแสดงพลังความร่วมมือของนิสิต นักศึกษาจากทั้งสองสถาบัน เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกันให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น  โดยแนวคิดหลักของการจัดงานครั้งนี้ คือ “Unity to Sustainability” ทางฝั่งจุฬาฯ จึงได้มีการจัดงาน CHULA BAKA BEGINS เพื่อให้ผู้เข้าร่วมและนิสิตทุกท่านเข้าใจในแนวคิดที่เป็นแก่นหลักของงานบอลและเพื่อแสดงความพร้อมขององค์กรต่างๆ 

สำหรับผลการแข่งขันฟุตบอลประเพณี "จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์" ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ชนะ 24 ครั้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยชนะ 18 ครั้ง และเสมอกัน 32 ครั้ง

ย้อนไปเมื่อปี 2562 เพจเฟซบุ๊ก [TPD] Thailand Political Database เพจที่จัดเก็บและประมวลข้อมูลทางการเมือง โดยยึดหลักความถูกต้องและความเป็นกลางทางการเมือง ซึ่งเพจดังกล่าวได้มีการโพสต์ข้อความว่า 

“เขาว่ากันว่าในงานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬาลงกรณ์ ถ้าจุฬาฯชนะธรรมศาสตร์จะมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งใหญ่ มาดูกันสิที่เขาว่าๆ กัน มันจริงไหม ปล. เราหยิบช่วงเวลาน่าสนใจที่จุฬาฯชนะมาให้ดูนะ เพราะจุฬาเขาชนะ 17 ครั้ง”

ถ้าจุฬาฯชนะธรรมศาสตร์จะมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งใหญ่

ย้อนเหตุการณ์สำคัญทางการเมือง เมื่อจุฬาลงกรณ์ชนะในงานฟุตบอลประเพณี

วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2493 จุฬาฯ ชนะ 5 - 3 เกิดรัฐประหารในปี 2594 ซึ่งไม่มีจัดงานฟุตบอลประเพณี

  • ครั้งที่ 3 วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2493 จุฬาฯ ชนะ 5 - 3 เกิดรัฐประหารในปี 2594 ซึ่งไม่มีจัดงานฟุตบอลประเพณี

วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2497 จุฬาฯ ชนะ 1 - 0 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เข้าสู่อำนาจด้วยการเป็น ผบ.ทบ.

  • ครั้งที่ 4 วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2497 จุฬาฯ ชนะ 1 - 0 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เข้าสู่อำนาจด้วยการเป็น ผบ.ทบ. เริ่มการเมือง 3 ก๊ก

วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2501 จุฬาฯ ชนะ 3 - 2 ต้นปี 2502 ได้จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกฯ จากการรัฐประหาร

  • ครั้งที่ 5 วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2501 จุฬาฯ ชนะ 3 - 2 ต้นปี 2502 ได้จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกฯ จากการรัฐประหาร

วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2511 จุฬาฯ ชนะ 2 - 0 ประเทศไทยได้รัฐธรรมนูญใหม่มีการเลือกตั้งและได้จอมพลถนอม กิตติขจร มาเป็นนายก

  • ครั้งที่ 6 วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2511 จุฬาฯ ชนะ 2 - 0 ประเทศไทยได้รัฐธรรมนูญใหม่มีการเลือกตั้งและได้จอมพลถนอม กิตติขจร มาเป็นนายกฯ

วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2538 จุฬาฯ ชนะ 2 - 1 นายกฯชวน หลีกภัย ประกาศยุบสภา

  • ครั้งที่ 10 วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2538 จุฬาฯ ชนะ 2 - 1 นายกฯชวน หลีกภัย ประกาศยุบสภาและแพ้เลือกตั้งให้นายกฯบรรหาร ศิลปอาชา

ปี 2544 จุฬาฯชนะ 2-0 พรรคประชาธิปัตย์แพ้พรรคไทยรักไทยในการเลือกตั้ง

  • ปี 2544 จุฬาฯชนะ 2-0 พรรคประชาธิปัตย์แพ้พรรคไทยรักไทยในการเลือกตั้ง

วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2549 จุฬาฯ ชนะ 2 - 0 รัฐประหาร

  • ครั้งที่ 13 วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2549 จุฬาฯ ชนะ 2 - 0 รัฐประหาร

ปี 2554 จุฬาฯชนะ 3-1 พรรคเพื่อไทยชนะพรรคประชาธิปัตย์

  • ปี 2554 จุฬาฯชนะ 3-1 พรรคเพื่อไทยชนะพรรคประชาธิปัตย์

นที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 จุฬาฯ ชนะ 1 - 0 สภาผ่านกฎหมายนิรโทษกรรม เกิดม็อบ กปปส.

  • ครั้งที่ 16 วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 จุฬาฯ ชนะ 1 - 0 สภาผ่านกฎหมายนิรโทษกรรม เกิดม็อบ กปปส. และนำไปสู่การรัฐประหารในปีถัดมา

 

  • ครั้งที่ 74 วันที่ 8 ก.พ. 2563 จุฬาฯ ชนะ 2 - 1 เกิดสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
related