SHORT CUT
ทำความรู้จักกันว่า แท้จริงแล้ว ยาเค มีฤทธิ์เป็นอย่างไรกันแน่ ? เพราะในไทย กระทรวงสาธารณสุขของไทย มีการควบคุมดูแล และให้เป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ในประเภท 2 แต่ ลอน มัสก์ ยอมรับว่าใช้ยานี้ต้านซึมเศร้า
อีลอน มัสก์ เจ้าของทวิตเตอร์ หรือ X ในปัจจุบัน ออกมาเปิดเผยว่า เขาได้ใช้ ยาเค (Ketamine) ในชีวิตประจำวันด้วย แต่ในปริมาณที่ไม่มาก ทั้งนี้ ก็เพื่อช่วยรักษาอาการซึมเศร้าเป็นครั้งคราว ซึ่งคราวนี้ ทำให้มีกระแสวิจารณ์ออกมา เพราะอีกมุม ยาเค ก็เป็นยาหลอนประสาท ดังนั้น เราลองมารู้จัก ยาเค กัน ยาตัวนี้ มีประโยชน์หรือผลเสียอย่างไรบ้าง ?
สำหรับ ยาเค หรือใน ภาษาอังกฤษ Ketamine เป็นยาหลอนประสาท และใช้ในการระงับประสาทสัตว์
โดย เคตามีน (ketamine) หรือที่รู้จักกันในหมู่ผู้ใช้ยาเสพติดว่า ยาเค กระทรวงสาธารณสุขของไทย มีการควบคุมดูแล และให้เป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ในประเภท 2 เคตามีนเป็นยาที่ใช้ในทางการแพทย์เพื่อใช้เป็นยาสลบ หรือนำสลบ โดยใช้ในรูปยาฉีดเข้ากล้ามเนื้อ หรือทางหลอดเลือดดำ ซึ่งออกฤทธิ์เร็ว มีสูตรคล้าย Lsd และมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาเหมือนกับ phencyclidine (pcp) คือมีฤทธิ์ระงับปวด
ยาเค จะมีฤทธิ์ ทำให้เกิดภาวะ dissociative anesthesia ซึ่งมีอาการคล้าย cataleptic state กล่าวคือ ทำให้สลบ หลับ ไม่เคลื่อนไหว สูญเสียความทรงจำ ไม่เจ็บปวด เคตามีนมีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของระบบไหลเวียนโลหิต ความดันโลหิตและอัตราการเต้นหัวใจอาจเพิ่มเล็กน้อย
แต่อย่างไรก็ตาม ในช่วงปี 2014 มี นักวิจัยพบว่า Ketamine ช่วยบำบัดอาการโรคเศร้าซึมได้ในระยะสั้นๆ สำหรับผู้ที่ใช้ยาหรือวิธีการอื่นๆ รวมทั้งจิตบำบัดมาแล้วแต่ทุกอย่างไม่ได้ผล ให้ลองใช้ ยาเค ดู
การทดลองใช้ Ketamine หรือยาเค ในช่วงปี 2014 นี้ ในประเทศอังกฤษ และพบว่า การใช้ยานี้ในปริมาณต่ำช่วยลดอาการให้กับส่วนหนึ่งของผู้ร่วมการทดลองรวมทั้งหมด 28 คนที่เป็นโรคเศร้าซึมอย่างหนักได้ คนไข้ทั้งหมดรับประทานยาต้านความเศร้าซึมอยู่แล้ว ก่อนจะเริ่มใช้ Ketamine ซึ่งต้องฉีดเข้าเส้น
ความจริงแล้ว , ยาเค หรือ Ketamine ถูกค้นพบในปี 1962 ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นยาหลักขององค์การอนามัยโลก ปัจจุบันมีสถานะเป็นยาสามัญ ยานี้สามารถใช้เป็นยาเสพติดเพื่อผ่อนคลาย ดังนั้นในประเทศไทยจึงจัดเป็นยาควบคุมพิเศษตามพระราชบัญญัติยา
ในแง่ที่ดี ยาเค เคยใช้เป็นส่วนหนึ่งของการ ขนย้าย นักเตะทีมหมูป่า หรือ ทีมฟุตบอลหมูป่า อะคาเดมี 13 คน ออกจากถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน อ.แม่สาย จ.เชียงราย เมื่อปี 2561 ด้วย , โดยการตัดสินใจใช้ยาสลบในกลุ่มเคตามีนให้แก่สมาชิกทีมฟุตบอลและใส่หน้ากากออกซิเจนเต็มหน้า ก่อนที่จะนำตัวทุกคนออกมาจากถ้ำ โดยคณะแพทย์ต้องให้เคตามินแก่ทีมหมูป่าเป็นระยะ และในปริมาณที่เหมาะสม
นอกจากนี้ยังเปิดเผยว่า สมาชิกทีมหมูป่าคนที่ เกิดภาวะร่างกายสูญเสียความร้อนจนอุณหภูมิภายในร่างกายต่ำกว่า 35 องศาเซลเซียส ทำให้วิสัญญีแพทย์ต้องตรวจอุณหภูมิของสมาชิกทุกคนที่ออกมาจากถ้ำ
อย่างไรก็ตาม ยาเค ก็มีผลข้างเคียง โดยผลข้างเคียงจากการใช้ยาเค คือ ปฏิกิริยาทางจิตเมื่อยาหมดฤทธิ์ ปฏิกิริยาเหล่านี้ได้แก่ ภาวะอยู่ไม่สุข, สับสน หรืออาการประสาทหลอนนอกจากนี้ยังส่งผลให้ความดันโลหิตเปลี่ยนแปลง (โดยมากจะความดันเพิ่มขึ้น) และกล้ามเนื้อสั่น และยังอาจก่อให้เกิดอาการหลอดลมหดตัวเฉียบพลัน ยานี้อาจก่อให้เกิดการเสพติด หากใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้ผู้รับยาเป็นโรคจิตเภท
ส่วน ผลร้ายของยาเค หรือ Ketamine อย่างเคสที่เห็นเป็นตัวอย่างชัดเจนก็ ในกรณีของ แมทธิว เพอร์รี่ นักแสดงชื่อดังจากซีรีส์ เฟรนด์ส ที่เสียชีวิต ในช่วงปลายปี 2023 โดยการเสียชีวิต มาจากผลของการใช้ยาเคตามีน ก่อนที่จะจมน้ำเสียชีวิต นอกจากนี้ยังมีผลมาจากการใช้ยาตัวอื่นๆ ร่วมด้วยเป็นปัจจัยร่วม
ส่วนในรายของ อีลอน มัสก์นั้น , แม้จะมีข้อกังขาตามมาอีกมากมายหลังบทสัมภาษณ์ของเขาออกอากาศ แต่การออกมายอมรับตรงๆ เกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าที่ อีลอน มัสก์ พบเจอและวิธีการรักษาตัวเองก็อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้อีลอน มัสก์กู้ภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นกลับคืนมาได้
ที่มา aljazeera
ข่าวที่เกี่ยวข้อง