ด่วน! บอร์ดค่าจ้าง เคาะแล้วใช้มติค่าแรงขั้นต่ำตามเดิม 2-16 บาท ปลัดแรงงาน เผย ไฟเขียวรื้อสูตรคำนวณใหม่ พร้อมใช้ปีหน้า ขึ้นค่าแรง 2 ครั้ง ลั่นการเมืองอย่าแทรกแซงหรือชี้นำ
นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ให้สัมภาษณ์ระหว่างที่คณะกรรมการค่าจ้าง ชุดที่ 22 กำลังประชุมหารือถึงมติค่าจ้างขั้นต่ำ ว่า ตามที่ตนได้ตั้งข้อสังเกตถึงการคำนวณอัตราการปรับค่าจ้างขั้นต่ำที่มีการเอาค่าการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 2563 – 2564 ที่มีการระบาดของโควิด-19 มารวมอยู่ในการคำนวณค่าเฉลี่ย ซึ่งจะเห็นได้ว่าในช่วงปีดังกล่าวนั้น เศรษฐกิจทั่วโลกตกต่ำมาก ดังนั้น การเอา 2 ปีนั้นมาคำนวณก็ทำให้อัตราค่าเฉลี่ยต่ำลง ซึ่งไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง วันนี้จึงมีการประชุมหารือของไตรภาคีอีกครั้ง ซึ่งจะต้องหารือกันถึงรายละเอียดมากยิ่งขึ้น
“โดยเฉพาะที่ผ่านมามีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำในภาพรวมรายจังหวัด แต่การพิจารณาค่าแรงขั้นต่ำในรายจังหวัดให้ถึงวันละ 400 บาท คงจะมีผลกระทบกับบางภาคธุรกิจ ผมจึงได้ให้นโยบายผ่านปลัดกระทรวงฯ ว่า จะเป็นไปได้หรือไม่ว่า จะมีช่องทางลงไปในรายละเอียดถึงระดับอาชีพ ที่สามารถแยกออกไปและสามารถขึ้นค่าแรงขั้นต่ำได้สูงขึ้น ผมมองว่าส่วนนี้ควรนำมาพิจารณา ไม่ใช่การพิจารณาขึ้นรายจังหวัด แต่ให้พิจารณาเป็นรายอำเภอ หรือรายเทศบาล ซึ่งจะเป็นการลงรายละเอียดมากขึ้น เพราะในบางธุรกิจในบางพื้นที่อาจจะไม่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจดังนั้นการประกาศค่าจ้างภาพรวม อาจไม่เป็นธรรมกับผู้ประกอบการ
ดังนั้น ถ้าจะยุติธรรมที่สุดคือ อาจเลือกประกาศรายอาชีพ ฉะนั้นวันนี้ ผมได้ให้ข้อคิดกับปลัดกระทรวงฯ ในฐานะประธานบอร์ดค่าจ้าง แต่ผมในฐานะการเมืองไม่มีสิทธิแทรกแซงหรือชี้นำไตรภาคี แต่สามารถแนะนำฝ่ายข้าราชการได้ ว่าให้คงหลักการในอดีตไว้ แต่ให้ลงในรายละเอียด แต่ทั้งหมดนั้นก็อยู่ที่ข้อสรุปของไตรภาคี” นายพิพัฒน์กล่าว
เมื่อถามว่าเป็นการรื้อโครงสร้างของคณะกรรมการค่าจ้าง เพื่อให้มีการพิจารณาเป็นรายอาชีพหรือไม่ นายพิพัฒน์กล่าวว่า วันนี้เรามีเวลาน้อย ฉะนั้นอาจจะยกมาเป็นบางจังหวัด เช่น จังหวัดที่มีเศรษฐกิจดี หรือรายอำเภอ ไปจนถึงรายอาชีพ
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 2566 ที่ผ่านมา คณะกรรมการค่าจ้างมีมติสรุปในการปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำขึ้นทั้ง จำนวน 77 จังหวัด ในอัตราเพิ่มขึ้น 2-16 บาท ได้แก่