เทศกาลยื่นภาษีปี’66/67 เวียนมาแล้ว ! ใครที่กำลังวางแผนยื่นภาษีต้องเช็กให้ชัวร์ก่อนยื่น หรือใครที่เป็นมือใหม่จะต้องศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนยื่น เงินเดือนเท่าไหร่ เสียภาษีเท่าไหร่?
ใกล้สิ้นปีเข้ามาทุกที เชื่อว่าหลายคนกำลังวางแผนท่องเที่ยวกัน แต่…สิ้นปีทีไรมนุษย์เงินเดือนอย่างเราๆ ก็ต้องวางแผนเรื่องการยื่นภาษีแบบ ภ.ง.ด. 90 หรือ ภ.ง.ด. 91 วันนี้ #สปริงนิวส์ จะพามือใหม่ยื่นภาษีมาดูว่า เงินเดือนเท่าไหร่ เสียภาษีเท่าไหร่? สำหรับการยื่นภาษีปี’66/67 โดย fintips by ttb ที่ชวนมนุษย์เงินเดือนเช็กให้ชัวร์เรื่อง “ภาษี” เงินเดือนเท่านี้ต้องเสียภาษีเท่าไหร่
เพราะในแต่ละปีอาจเปลี่ยนแปลงไป เราจึงต้องหมั่นอัปเดตสิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างสม่ำเสมอ เพื่อจะได้วางแผนประหยัดภาษีอย่างถูกต้องเหมาะสม และก่อนจะสิ้นปีนี้ fintips by ttb อยากชวนมนุษย์เงินเดือนมาเช็กกันอีกทีว่า ปีนี้เรามีรายได้ หรือเงินเดือนเท่านี้ต้องเสียภาษีเท่าไหร่!
เริ่มต้นด้วยมารู้จักวิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กันดังนี้
1.คำนวณหาเงินได้สุทธิอย่างแรกเราต้องคำนวณหาเงินได้สุทธิเพื่อนำมาใช้ในการคำนวณภาษีก่อน โดยการนำเงินได้ทั้งปี 2566 มารวมกัน แล้วหักด้วยค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน ตามสูตร
ซึ่งเราสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 50% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 100,000 บาท ส่วนค่าลดหย่อน จะมีอยู่หลายรายการที่นำมาลดหย่อนได้ แต่ที่นำมาลดหย่อนได้ทันทีเลย ก็คือ ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท และค่าประกันสังคมตามที่จ่ายจริง สูงสุด 9,000 บาท
2.คำนวณภาษีที่ต้องจ่ายแบบขั้นบันได
ต่อมาให้นำเงินได้สุทธิมาเทียบกับอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบขั้นบันได โดยนำเงินได้สุทธิคูณกับอัตราภาษีแต่ละขั้น เพื่อหาว่าเราต้องจ่ายภาษีเท่าไหร่ ตามสูตร
ตัวอย่าง นายทีมีรายได้ทั้งปี 500,000 บาท ไม่มีตัวช่วยลดหย่อนเพิ่มเติมเลย สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 100,000 บาท ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท และค่าลดหย่อนจากประกันสังคม 9,000 บาท จะได้เงินได้สุทธิ 500,000 – 100,000 – 60,000 – 9,000 เท่ากับ 331,000 บาท จากนั้นนำเงินได้สุทธิไปเทียบอัตราภาษีแบบขั้นบันได ซึ่งจะอยู่ระหว่างฐาน 300,001 – 500,000 บาท อัตราภาษี 10% ซึ่งทำให้นายทีต้องเสียภาษี (331,000 - 300,000) x 10% + 7,500 เท่ากับ 10,600 บาท
จะเห็นได้ว่า นายทีมีรายได้ทั้งปีสูงถึง 500,000 บาท แต่ถ้าไม่มีตัวช่วยลดหย่อนอื่น ๆ เพิ่มเติมเลย จะทำให้นายทีต้องชำระภาษีถึง 10,600 บาท
จากตัวอย่างข้างต้น มนุษย์เงินเดือนที่มีเงินเดือน 30,000 บาท 50,000 บาท และ 100,000 บาท หากไม่มีตัวช่วยลดหย่อนเพิ่มเติม จะทำให้เสียภาษี 2,050 บาท 20,600 บาท และ 122,750 บาท ตามลำดับ แต่ถ้าต้องการเซฟเงินในกระเป๋าให้มากขึ้น วันนี้ ttb มีเคล็ดลับดี ๆ ที่เรียกได้ว่า “ยิงปืนนัดเดียว ได้นกสองตัว” มาแนะนำ เพราะนอกจากจะได้สิทธิลดหย่อนภาษีปี 2566 ที่ช่วยให้ประหยัดภาษีขึ้นแล้ว ยังสร้างโอกาสรับผลตอบแทนที่ดี อย่างการลงทุนในกองทุนลดหย่อนภาษีจาก ทีทีบี ซึ่งมีให้เลือกทั้งกองทุนรวม SSF และ RMF อีกด้วย
1. SSF (Super Savings Fund) คือ กองทุนรวมเพื่อการออม สามารถลดหย่อนได้สูงสุด 30% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท โดยมีเงื่อนไขดังนี้
2. RMF (Retirement Mutual Fund) คือ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ สามารถลดหย่อนได้สูงสุด 30% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท โดยมีเงื่อนไขดังนี้
ทั้งนี้เมื่อรวมกับ กบข., กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน, กองทุนการออมแห่งชาติ และประกันชีวิตแบบบำนาญ ต้องไม่เกิน 500,000 บาทโดยทีทีบีมีตัวช่วยลดหย่อนภาษี ที่ลงทุนง่าย สบายใจอย่าง ttb smart port SSF มาแนะนำ ซึ่งมีให้เลือกลงทุนตามเป้าหมายและตามความเสี่ยงที่แต่ละคนรับได้ และหากใครยังเลือกไม่ได้ เราคัดกองทุนลดหย่อนภาษีเด่น สร้างโอกาสรับผลตอบแทนที่ดี พร้อมรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีมาให้แล้ว ทั้ง SSF RMF กับกองเด่นลดหย่อนภาษี ปี 2566
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กรมสรรพากรยุคใหม่ใช้ ChatGPT ของไมโครซอฟท์ ไขทุกข้อสงสัยเรื่องยื่นภาษี
"ยื่นภาษีออนไลน์" ภ.ง.ด.90/91 ผู้มีเงินได้บุคคลธรรมดา วันสุดท้าย 10 เม.ย. 66
เปิด 7 วิธี ป้องกันมิจฉาชีพหลอก "ยื่นภาษีออนไลน์ 2565" ลวงกดลิงก์ผ่าน LINE